กระถินเทพา

กระถินเทพา
กระถินเทพา

กระถินเทพา เป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ชอบแสงแดดตลอดวัน และน้ำปานกลาง ถือเป็นไม้เศรษฐกิจทางภาคอีสานที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อม เพราะเติบโตได้ในดินที่มีคุณภาพต่ำ

กระถินเทพา

กระถินเทพา / กระถินซาบาห์ / Black Wattle / Brown Salwood / Hickory Wattle / Mangium
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia mangium Willd.
วงศ์: Fabaceae
ประเภท: ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร เรือนยอดไม่สม่ำเสมอ เจริญเติบโตเคล้ายกับกระถินณรงค์
ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาลมีรอยแตกตามแนวยาว
ใบ: ใบรูปรี ขนาดกลาง เส้นใบขนานกับแผ่นใบ ปลายใบแหลม แผ่นใบใหญ่กว้างถึง 10 เซนติเมตร  
ดอก: ช่อดอกแบบเชิงลด สีขาว ขาว 5-12 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ออกดอกช่วงฤดูฝน  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล: ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน ปิดเป็นเกลียวแน่น เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
อัตราการเจริญเติบโต: เลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนแล้ง
แสงแดด: ตลอดวัน
น้ำ: ปานกลาง
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆลำต้นตรง เนื้อไม้แปรรูปง่าย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ สิ่งก่อสร้างได้ดี หรือทำเป็นไม้อัด และเยื่อกระดาษ

เกร็ดน่ารู้:เป็นไม้ป่าชายเลนที่พบทางตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ทวีปออสเตรเลีย, ปาปัวนิกินี และหมู่เกาะโมลุกกะ  กระถินเทพาจัดจำแนกครั้งแรกโดย Georgius Everhardus Rumphius นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน และใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mangium montanum ต่อมา ปี ค.ศ. 1806 C.L. Willdenow เปลียนชื่อเป็น Acacia mangium โดยชื่อระบุชนิด มาจากชื่อ Mangge เป็นไม้ชายเลนในอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน ต่อมามีผู้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับครั้งแรกที่รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย และแพร่หลายในเมืองไทย ไม้เศรษฐกิจทางภาคอีสาน ที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อม เพราะเติบโตได้ในดินที่มีคุณภาพต่ำ โรคและแมลงศัตรูที่ควรระวัง คือ โรคไส้เน่าที่เกิดจากมอดเจาะกลางลำต้น ปลวก และด้วง

ติดตามหนังสือใหม่ได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน