เรียนรู้ระบบนิเวศ 4 รูปแบบ ในสวนพฤกษศาสตร์ชานเมือง

ปัจจุบันมีคาเฟ่หลายแห่งที่สร้างสวนสวยเป็นองค์ประกอบ เพื่อเป็นจุดขายที่ช่วยดึงดูดลูกค้าหรือเหล่าคาเฟ่ฮอปปิ้งให้เข้ามาถ่ายรูป แต่สำหรับ Botanist Activity Space& Café แห่งนี้กลับต่างออกไป เพราะเป็นคาเฟ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สะสมและทดลองปลูกของ คุณโป้ง – ทัศไนย สินพาณิชย์ ผู้ที่มีความรักและความหลงใหลในการปลูกต้นไม้มาตลอด 30 ปี “ผมทำงานจัดสวนและอยู่กับต้นไม้มาตลอดชีวิต มาวันนี้ในอายุขนาดนี้ก็เลยตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากการปลูก การสะสม รวมถึงการจัดสวนให้คนที่รักต้นไม้เหมือนกันได้เข้ามาเรียนรู้ เลยเริ่มเปิดพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้พฤกษศาสตร์บนพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไร่ในเขตคลองสามวา มีนบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 โซนตามการเลี้ยงดูต้นไม้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และใช้รูปแบบธุรกิจของคาเฟ่เข้ามาเชื่อมโยงระหว่างคนกับการเรียนรู้ โดยมีครอบครัวเข้ามาช่วยกันสนับสนุนและบริหารงานให้เกิดขึ้น” คุณโป้งเล่าถึงที่มาและแนวคิดในการริเริ่ม Creek/Tropical Garden โซนแรกเริ่มต้นจากบริเวณทางเข้าที่ทำ เป็นซุ้มขนาดใหญ่ให้ดูร่มรื่น มีกลิ่นอายของความเป็นทรอปิคัลเล็กน้อย โดยได้ออกแบบให้ด้านข้างตลอดแนวทางเดินมีเส้นทางของนํ้าตกและลำธาร เลียบลัดเลาะขนานเข้ามาสู่พื้นที่ด้านใน พร้อมทั้งปลูกพรรณไม้ที่หลากหลายและมีสีสันที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้คลุมดิน หรือไม้กระถางแขวน โดยเฉพาะมอสส์และกลุ่มเฟิน เพื่อทำให้ผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนรู้สึกสดชื่นและเย็นสบายไปกับเสียงของนํ้าที่ไหลรินเบาๆ และโลกสีเขียวตรงหน้า Jurassic Garden ต่อมาเป็นโซนของไม้โบราณอายุยืนหลายร้อยปี โดยเฉพาะไม้ในกลุ่มปรง (Cycad) ตั้งแต่สายพันธุ์ทั่วไปที่หาได้ในไทย และไม้นำเข้าสายพันธุ์หายากจากทั่วทุกมุมโลก “ปรงเป็นพรรณไม้ที่อยู่ในประวัติศาสตร์โลกมานานมากกว่า 300 ล้านปี ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ จึงเป็นที่มาของโซนป่าดึกดำบรรพ์ (Jurassic Garden) และนอกจากต้นปรงแล้วยังมีต้นไม้เก่าแก่อีกหลายชนิดที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกันคือ […]

O House เปิดคอร์ตให้เป็นหัวใจของบ้าน

บ้านที่ทำคอร์ตเพื่อเชื่อมมุมมอง แก้ปัญหาบ้านอับทึบเพราะมีห้องจำนวนมาก โดยนำแสงธรรมชาติและลมให้เข้าถึงได้ทุกห้อง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poetic space studio จากที่เคยใช้ชีวิตในตึกแถวย่านสีลมมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกนั้นหมดสัญญา ของ ครอบครัวตั้งฐานะตระกูล จึงต้องมองหาบ้านหลังใหม่ กอปรกับลูกทั้ง 5 ก็เติบโตเข้าวัยทำงานและต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ซึ่งถ้าซื้อบ้านใหม่ในย่านเดิมก็จะได้เพียงตึกแถว จึงหาที่ดินชานเมืองใกล้รถไฟฟ้า จนได้ที่ดินย่านตลิ่งชันสำหรับบ้านหลังใหม่ของครอบครัว โดยติดต่อให้ Poetic space studio โดย คุณณัฐ-ณัฐศาส จีนพันธ์ และคุณยุพ-ยุพยงค์ ชัยขจรภัทร์ เป็นผู้ออกแบบ จากตึกแถวสู่บ้านแนวราบ คุณอุ๊-สุนิสาและคุณอุ๋ม-ณัฐธิดา ตั้งฐานะตระกูล พี่คนโตและคนรองเล่าย้อนไปยังวันที่วางแผนสำหรับบ้านใหม่ “แต่เดิมอยู่ตึกแถวย่านสีลม ชั้นล่างเปิดเป็นออฟฟิศจิเวลรี ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยที่เราใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกหมดสัญญา คุณแม่ก็ได้ที่ดินย่านตลิ่งชันมา 500 ตารางวา ซึ่งก็ใหญ่เกินไปสำหรับเรา จึงแบ่งกับเพื่อนคนละครึ่งแปลงเพื่อสร้างบ้านคนละหลังจะได้เป็นเพื่อนบ้านกัน โดยปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และทำประตูหลังบ้านเชื่อมถึงกันได้”    การแชร์พื้นที่ร่วมกัน เพราะเคยอยู่ตึกแถวมาตลอด ไม่มีประสบการณ์การอยู่บ้านที่มีบริเวณ สถาปนิกจึงเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุด “เราบอกความต้องการให้สถาปนิกค่อนข้างกว้างคือ เป็นบ้านสำหรับพี่น้อง 5 คน คุณแม่ และในอนาคตจะมีคุณยายมาอยู่ด้วย ใจจริงอยากได้บ้านชั้นเดียว […]

50 แบบบ้านสวน – บ้านฟาร์ม สำหรับคนรักธรรมชาติ

รวม แบบบ้านสวน บ้านฟาร์ม หลายคนมีความฝันอยากมีที่ดินสักผืน สร้างบ้านพร้อมทำแปลงเกษตรไปด้วย และ 50 แบบบ้านสวนบ้านฟาร์ม เหล่านี้ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณได้

รวม 80 แบบบ้านชั้นเดียว ที่ดีที่สุด สวยที่สุด จากบ้านและสวน

รวม แบบบ้านชั้นเดียว 80 หลัง เพื่อเป็นไอเดียสำหรับผู้ชื่นชอบบ้านรูปแบบนี้ ค่อยๆชมกันไปทีละหลังเลย รับรองว่าดีไซน์สวยงามและอยู่สบาย

40 แบบ บ้านใต้ถุนสูง อยู่สบาย

แบบ บ้านใต้ถุนสูง ถือเป็นรูปแบบบ้านที่แฟนๆบ้านและสวนชื่นชอบกันมาก เราจึงได้รวม 40 แบบบ้านใต้ถุนสูง อยู่สบาย มาให้ชมกันแบบจุใจ ดังนี้

50 แบบบ้านสไตล์โมเดิร์น สวยโดนใจ

แบบบ้านสไตล์โมเดิร์น 50 หลัง ดีไซน์สวยเด่นโดนใจ มีให้เลือกชมกันหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่โมเดิร์นทรงกล่อง โมเดิร์นทรอปิคัล … รับชมกันให้จุใจเลย

ประกาศผลรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2565

เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารบ้านและสวนจะมอบรางวัลให้แก่บ้านที่มีการออกแบบได้เป็นที่ประทับใจสำหรับผลรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2565 มีดังนี้

คาร์บอนเครดิต คืออะไร ทำไมซื้อขายได้

“คาร์บอนเครดิต” เป็นอีกคำหนึ่งที่เรามักได้ยินบ่อยๆในหัวข้อที่พูดถึงเรื่อง “ภาวะโลกร้อน” แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจความหมาย เราจะพาไปทำความรู้จักคำๆ นี้แบบเข้าใจง่ายๆ กัน

แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน

ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]

ภูมิปัญญาไทย ในบ้านยุคใหม่

ดีไซน์ดีๆจาก ภูมิปัญญาไทย มาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่ มาดู ๙ ลักษณะของบ้านไทยที่ช่วยให้บ้านอยู่สบาย ๑.ชานเชื่อมพื้นที่ ภูมิปัญญาไทย ของเรือนไทยที่ยกพื้นสูง จึงมีการทำพื้นเป็นทางสัญจรภายในบ้าน และใช้เชื่อมระหว่างเรือนเพื่อขยายจากเรือนเดี่ยวเป็นเรือนหมู่ และการขยายเรือนแบบล้อมชาน ก็จะเกิดพื้นที่เปิดโล่งที่มีการโอบล้อมแบบคอร์ตยาร์ด ชานยังเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งพักผ่อน นั่งเล่น และจัดงานประเพณี เช่น ทำบุญ เลี้ยงพระ เรือนขนาดใหญ่อย่างเรือนคหบดีมักปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้กลางชานที่ช่วยให้บรรยากาศร่มรื่น แล้วยังนิยมปลูกไม้ประดับ เช่น บอน ว่าน ตะโกดัด กระถางบัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกเขา นกดุเหว่า ปลากัด และปลาเข็ม การทำชานบ้านยังนำมาใช้ได้ดีกับบ้านยุคปัจจุบัน โดยออกแบบอาคารให้มีพื้นที่โล่งในลักษณะคอร์ตยาร์ด ที่อาจทำเป็นทางเดิน ชาน และจัดสวน ที่ทั้งสร้างความร่มรื่น และเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างกันได้ ๒.การยกพื้นบ้านสูง บ้านยกพื้นสูงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ยังพบเห็นได้ในบ้านเรือนแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมอยู่เสมอ “ใต้ถุนเรือน” ของบ้านไทย เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่มักทำเกษตรกรรม สภาพภูมิประเทศที่มีน้ำหลาก และภูมิอากาศร้อนชื้นที่มีฝนตกมาก ใต้ถุนจึงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้น มักใช้เป็นพื้นที่เก็บของ อุปกรณ์การเกษตรและประมง เลี้ยงสัตว์ ใช้เป็นพื้นที่ทำงานหัตถกรรม หรือใช้หลบร้อนในช่วงกลางวัน […]

รวม 8 แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น (Japanese Garden)

แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น (Japanese Garden) เกิดจากอิทธิผลของศาสนากับความผูกพันกับธรรมชาติของคนญี่ปุ่น โดยยุคแรกเป็นสวนทิวทัศน์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสวนจีน ต่อมาได้พัฒนาให้เข้ากับประเพณีพื้นถิ่น เช่น การชงชา และที่โดดเด่นที่สุดของ แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น คือ สวนแห้งที่ได้รับอิทธิพลงจากลัทธิเซนที่ใช้รูปทรงของก้อนหิน ต้นไม้ และทรายสื่อความหมายถึงทิวทัศน์ในธรรมชาติรอบตัว 10 ข้อควรรู้…เลือกใช้พรรณไม้ให้ได้บรรยากาศแบบสวนญี่ปุ่น เข้าใจสวนญี่ปุ่นยุคใหม่แบบนอกตำราที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน 1.สวนลูกครึ่งญี่ปุ่น-ยุโรป ที่บ้านพักตากอากาศริมน้ำที่ตั้ง : จังหวัดนครนายกออกแบบจัดสวน : บริษัท สวนลีลา จำกัด โดยคุณศักดิ์ – คุณลีลาวดี เรืองพร้อม บ้านตากอากาศหลังสวยในบรรยากาศชนบทที่สงบเรียบง่ายริมแม่น้ำนครนายก เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 ไร่ โอบล้อมด้วยสวนสวย ๆ ในแบบสวนญี่ปุ่นที่ดูนิ่งสงบ ใช้โทนสีเขียวเป็นหลัก เพื่อช่วยให้เกิดสมาธิ ต่อเนื่องไปยังสวนยุโรปที่มีกลิ่นอายผสมผสานทั้งสไตล์ทัสกานีและโปรวองซ์ รวมไปถึงแปลงผักสวนครัวลาดชันลงไปริมน้ำที่มีดีไซน์ทั้งสวยทั้งมีประโยชน์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/268216/gardens/europe-and-japanese-garden

BOTANIST ACTIVITY SPACE & CAFE ชื่นชมพรรณไม้หายาก ในคาเฟ่กลางสวนพฤกษศาสตร์

Botanist Activity Space & Cafe คาเฟ่มีนบุรี ในรูปแบบของกล่องกระจกท่ามกลางสวน 4 รูปแบบ ทั้ง Desert Garden, Jurassic Garden, Bromeliads Garden และ Tropical Garden

room Pavilion Midyear 2022

เพราะ room เชื่อว่า ดีไซน์ที่ดี ไม่เพียงดีสำหรับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังต้องดีต่อสังคมรอบข้าง และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์โลกให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน เราจึงคัดสรรงานออกแบบที่ยั่งยืนในหลากมิติมาจัดแสดงในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022 เพื่อช่วยสร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมในวงกว้าง นำไปสู่การต่อยอดและพัฒนางานออกแบบเหล่านั้นให้เกิดขึ้นและสร้างประโยชน์ได้จริงในอนาคต RE-BALANCE การจัดแสดงในปีนี้ room มุ่งให้ความสำคัญกับ “แนวคิดความยั่งยืนที่สมดุลกับวิถีปัจจุบันของโลก” จึงได้เลือกคัดสรรผลงานการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน (Function) ความงาม (Aesthetic) แนวคิดด้านความยั่งยืน (Sustainability) รวมถึงการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม (Social Impact) แต่ขณะเดียวกันก็เป็นงานออกแบบใกล้ตัว ตอบโจทย์วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนได้อย่างแท้จริง room Betterism Design Exhibition แบ่งออกเป็น 3 หมวดการคัดสรรดังนี้1.Architectural งานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืน2.Urban Design and Movement งานออกแบบพื้นที่สาธารณะ และแนวคิดส่งเสริมเมืองสร้างสรรค์3.Product and Innovation ผลิตภัณฑ์ และแนวคิดนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พบกับผลงานการออกแบบในหมวดต่างๆ มากกว่า 30 ผลงาน จากนักออกแบบและนักสร้างสรรค์ไทย ได้ที่งาน room BETTERISM Design Exhibition […]

รวมกิจกรรมสำหรับนักปลูกในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022

รวมกิจกรรมน่าทำในโซน garden of ideas งานบ้านและสวนแฟร์ midyear 2022 ไบเทค บางนา ทั้งเวทีเสวนาภาษานักปลูก และ workshop

รีโนเวตสวนรอบบ้าน ให้เป็นสวนป่าผสานกลิ่นอายสวนญี่ปุ่น

จุดเริ่มต้นของการรีโนเวตสวนเก่าในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของ คุณน้ำหวาน – ปรมาพร สุติเชวงกุล เจ้าของบ้านที่ได้เล็งเห็นถึงความทรุดโทรมและปัญหาจากการใช้งานในพื้นที่สวนเก่าอายุกว่าสิบปี “เดิมสวนนี้เป็นสวนสไตล์ทรอปิคัลทั่วไปที่ค่อนข้างรกครึ้ม ทำให้มีความลำบากในการเดินและการใช้งาน โดยเฉพาะสำหรับพ่อแม่ที่อายุเยอะ และเด็กเล็กที่มักจะวิ่งเล่นไปทั่ว ทำให้เราค่อนข้างกังวลเรื่องของความปลอดภัย เลยอยากรีโนเวทสวนใหม่ เปิดพื้นที่ให้ดูโล่ง เพื่อให้ทุกคนในบ้านสามารถออกมาใช้พื้นที่นอกบ้านได้” เมื่อถามถึงรูปแบบสวนที่อยากได้คุณน้ำหวานอธิบายเพิ่มเติมว่า “ในตอนแรกก็ยังชอบสวนทรอปิคัลนะคะ เพราะว่าร่มรื่นและสามารถเก็บต้นไม้เดิมที่คุณพ่อรักไว้ได้ แต่ก็อย่างที่บอกว่าเรากังวลเรื่องความรกทึบ สัตว์เลื้อยคลาน และความปลอดภัย เลยคิดว่าถ้ามีสวนญี่ปุ่นเข้ามาผสมผสานก็น่าจะทำให้สวนดูโล่งโปร่งขึ้น แต่ก็ยังสามารถเก็บความเขียวและต้นไม้ใหญ่ไว้ได้ จึงได้ติดต่อให้ คุณปณัฐ สุมาลย์โรจน์ จาก บริษัท เพอโกล่าร์ จํากัด ได้เข้ามาทำหน้าที่ช่วยดูแล ออกแบบ และปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนให้สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง” พื้นที่สวนสไตล์ทรอปิคัลประมาณ 900 ตารางเมตรรอบบ้าน ทางนักจัดสวนได้กำหนดมุมมอง พื้นที่ทางเดิน และพื้นที่การใช้งานขึ้นใหม่ โดยยังคงพยายามเก็บรักษาต้นไม้เดิมไว้ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะไม้ใหญ่ อย่าง จิกน้ำ พะยอม และหูกระจง “Contemporary Zen คือแนวความคิดที่เรานำมาใช้กับสวนนี้ ด้วยความที่สวนมีความครึ้มมาก เราจึงต้องผสมผสานให้มีความโมเดิร์นแบบร่วมสมัยมากขึ้น เริ่มจากการปรับระดับพื้นที่ให้เสมอกัน นำหินกรวดจากพื้นเก่าออกบางส่วน เหลือต้นไม้ใหญ่และต้นไม้อื่น ๆ ไว้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้สวนเข้าถึงได้ง่ายและสามารถมองเห็นได้อย่างทั่วถึง” […]

NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน

“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]

10 ไอเดียการจัดสวน ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนสำหรับครอบครัว

ว่ากันว่าธรรมชาติช่วยเยียวยาเราได้เสมอ ตั้งแต่ให้อากาศบริสุทธิ์ในการหายใจ สร้างความสดชื่นทุกครั้งที่ได้มองเห็น แถมยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวได้อีกด้วย ลองมาดูไอเดียการจัดสวน เพื่อเปลี่ยนพื้นที่รอบบ้านให้กลายเป็น พื้นที่พักผ่อนสำหรับครอบครัว ที่อาจจะเชิญชวนญาติสนิทมิตรสหายมาร่วมสนุกกันได้อย่างเต็มที่ ในช่วงเทศกาลและวันหยุดยาวกันค่ะ 1. บ้านเก่าอายุหลายสิบปีกลางสุขุมวิทที่โอบล้อมด้วยตึกสูงรอบด้าน สวนในบ้านบนเนื้อที่เกือบ 400 ตารางเมตร เต็มไปด้วยต้นไม้ที่ร่มรื่น ได้ยินเสียงน้ำไหลจากสวนน้ำตกที่อยู่ด้านใน บ่อปลาขนาดใหญ่ที่มีฝูงปลาคาร์ฟตัวโตแหวกว่ายอย่างมีความสุข ที่นี่เปรียบเหมือนคอร์ตยาร์ดกลางเมืองใหญ่เป็นสวนลับที่ซ่อนไว้ โดยมีเทอร์เรซขนาดใหญ่ยื่นเข้าไปในบ่อ เพื่อให้รู้สึกใกล้ชิดกับสวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งโครงสร้างด้านล่างถูกปูด้วยตะแกรงเหล็กกัลวาไนซ์ ก่อนเทปูนทับเพิ่มความแข็งแรง จากนั้นจึงปิดทับด้วยไม้เทียมโทนสีน้ำตาลดูอบอุ่น เป็นที่ซ่อนบ่อกรองของบ่อปลา เจ้าของ : ครอบครัววิสุทธิผล ออกแบบ : อยู่กับดินทร์ โดยคุณบดินทร์ ปี่เสนาะ โทรศัพท์ 08-4533-0739 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/235976/gardens/center-garden   2. ประโยชน์จากสวนสวย ไม่ได้มีเพียงพื้นที่สีเขียวที่ให้ความรู้สึกสบายตาเวลามองเท่านั้น เพราะ ถ้าเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานในพื้นที่สวนได้อย่างเหมาะสม สวนยังกลายเป็นห้องพักผ่อนกลางธรรมชาติและห้องกิจกรรมที่ดีของครอบครัวได้ในเวลาเดียวกัน อย่าง ศาลาที่เป็น พื้นที่พักผ่อนสำหรับครอบครัว ซึ่งถูกยกลอยให้เด่นขึ้นจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร หรือประมาณหนึ่งขั้นบันได อีกทั้งยังมีบ่อปลาคาร์ฟ และชิงช้าให้เด็ก ๆ นั่งเล่นเพลิดเพลิน […]

บ้านใต้ถุนสูงเปิดรับลมและวิวสีเขียว

บ้านใต้ถุนสูงโปร่งโล่ง ที่ออกแบบภายใต้โครงสร้างเรียบง่าย ตัวบ้านสามารถระบายอากาศได้ดี เปิดรับความร่มรื่นของต้นไม้สีเขียว และสระน้ำข้างบ้าน ช่วยให้บ้านไม่ร้อน และสามารถทำกิจกรรมต่างๆที่ใต้ถุนบ้านได้ เพิ่มลูกเล่นด้วยการโชว์สัจจวัสดุ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจของลูกที่เลือกสิ่งดีๆ ให้เหมาะกับคุณพ่อคุณแม่ หลายคนคงรู้จักและเป็นแฟนหนังสือของ คุณพลอย มัลลิกะมาส นักเขียนแนวท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ และดีไซน์กันเป็นอย่างดี เรามีโอกาสไปเยี่ยมชม บ้านใต้ถุนสูงโปร่งโล่ง บนพื้นที่ 92 ตารางวาของคุณพ่อและคุณแม่ของเธอในย่านลาดพร้าว เมื่อไปถึงคุณพลอยก็ออกมาต้อนรับเราอย่างเป็นกันเอง พร้อมแนะนำมุมต่างๆในบ้าน สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือความสงบร่มรื่นของต้นไม้สีเขียวหลากหลายชนิด และสระน้ำข้างบ้านที่ดูแล้วสบายใจอย่างบอกไม่ถูก คุณพลอยเล่าให้ฟังว่า เดิมที่ดินนี้เป็นของคุณพ่อซึ่งซื้อไว้นานแล้วพร้อมกับพี่น้องในครอบครัว การย้ายจากบ้านเดิมย่านสาทรมาที่นี่ ก็เพื่อให้การดูแลอาการป่วยของคุณแม่เป็นไปอย่างใกล้ชิดและสะดวกขึ้น ทั้งยังเป็นการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เนื่องจากบ้านหลังเดิมอยู่ติดกับทางด่วนและมีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมมากมาย การมาพักอยู่ที่บ้านหลังใหม่ช่วยให้คุณพลอยได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น เพียงใช้เวลาแค่ 20 นาที เธอก็สามารถเดินทางมาหาคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว รวมทั้งมีญาติๆ คอยช่วยดูแลอยู่ใกล้ๆด้วย ก่อนสร้างบ้านคุณพลอยได้ปรึกษากับ คุณพงศกร กิจขจรพงษ์ สถาปนิกผู้เคยออกแบบบ้านให้เธอมาก่อน และเนื่องจากสถาปนิกและครอบครัวของคุณพลอยมีความสนิทสนมกันอยู่แล้ว  การออกแบบบ้านครั้งนี้จึงเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยคุณพลอยได้ให้อิสระในการออกแบบบ้านอย่างเต็มที่ เพียงให้โจทย์ไว้ว่า “อยากสร้างบ้านให้พ่อกับแม่” ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของสถาปนิก  คุณพงศกรเล่ารายละเอียดต่างๆของบ้านให้ฟังว่า “บ้านหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านประมาณ 105 ตารางเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนกึ่งภายนอกอย่างโถงและระเบียงบ้าน รวมแล้วก็ประมาณ 185 […]