tropical - Page 9 of 40 - ค้นหาโดย บ้านและสวน
โต๊ะกินข้าว

จัดโต๊ะกินข้าวให้พร้อมต้อนรับมื้อแสนสุขช่วงปีใหม่

ช่วงเวลาแห่งความสุข ที่จะได้มาเจอะเจอกัน ผ่านมื้ออาหาร โต๊ะกินข้าว จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์รวมของทุกคนในบ้าน

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ ที่แสนอึดอัด ให้ดูโปร่งสว่างในสไตล์โมเดิร์นคลาสสิก

รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งเดิมค่อนข้างทึบเเละอึดอัด สู่บ้านหลังใหม่สไตล์โมเดิร์นคลาสสิก โดยเปิดรับแสงธรรมชาติ ทำให้บ้านดูโปร่งโล่งและทันสมัยขึ้น

บ้านสวนทุ่งนา

รวม บ้านสวนทุ่งนา ของคนรักท้องทุ่ง

รวมบ้านสวยหลากดีไซน์ในกลิ่นอาย บ้านสวนทุ่งนา ที่คนรักบ้านทุ่งต้องหลงรัก ใกล้ชิดธรรมชาติแบบอบอุ่น โปร่งสบาย หายใจคล่อง

รู้จัก 12 ผักไทยน่าปลูก เคียงคู่ทุกเมนูในอาหารไทย

12 พันธุ์ผักไทย ในอาหารไทยพื้นบ้าน โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนหรือ TVRC คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บ้านและสวน | วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 | EP.28

ช่วงบ้าน ‘บ้าน เปิด กล่อง’ เจ้าของ : คุณวัชรชัย สินวัฒนาพานิช ออกแบบ : คุณจีรศักดิ์ เกื้อสมบัติ บริษัท message design studio ช่วงสวน ‘Tropical Thai Rainforest’ เจ้าของ : คุณกาญจนา พฤกษาพรพงศ์ ออกแบบ : บริษัท Pergolar จำกัด

บ้านและสวน | วันที่ 23 ตุลาคม 2565 | EP.39

ช่วงบ้าน “บ้านแม่” เจ้าของ : คุณปานเดช บุญเดช – คุณรุ่ง ตั้งตะธารากุล ออกแบบ : ยางนา สตูดิโอ ตกแต่งภายใน : คุณปานเดช บุญเดช ช่วงสวน “Botanist Activity Space & Cafe” เจ้าของ : คุณทัศไนย สินพาณิชย์ ออกแบบ : คุณทัศไนย สินพาณิชย์ บริษัท Tropical Garden จำกัด ช่วงมุมใหม่ “ LITTLE FOREST COFFEE & FLOWERS ” เจ้าของ-ออกแบบ : คุณนันทกา ปุระโสมมนัส คุณสัญนิธิ คุ้มครอง

บ้านและสวน | วันที่ 15 พฤษภาคม 2565 | EP.16

ช่วงบ้าน “บ้านตากอากาศ” ออกแบบ : POAR ช่วงสวน “Modern Japanese with Tropical” เจ้าของ : คุณเบสท์ ออกแบบ : คุณภูริวัจน์ วรากิติยาวิโรจกุล Wabisabi Spririt ช่วงมุมใหม่ “บ้านบำบัดฯ” เจ้าของและออกแบบ : คุณบดินทร์ บำบัดนรภัย

แบบบ้านสวยๆ

รวม แบบบ้านสวยๆ สำหรับคนรักบ้าน

30 แบบบ้านสวยๆ หลากหลายสไตล์ มีทั้งบ้านชั้นเดียว บ้านไม้ ฯลฯ มาให้ชมกันแบบจุใจ รับรองว่าสวยแจ่มทุกหลังแน่นอน

Cafe-Country-Chiang rai

Thingamajiggy Coffee Roaster คาเฟ่แม่ริม ถอดดีไซน์จากยุ้งข้าว

Thingamajiggy Coffee Roaster คาเฟ่พื้นถิ่นขนาดกะทัดรัด ตั้งอยู่บนเนินคันนา รูปทรงอาคารตีความดีไซน์จากยุ้งข้าวพื้นถิ่นทางเหนือ พื้นที่ส่วนกลางใช้วัสดุหาง่ายในพื้นที่อย่างไผ่ ทำเป็นโครงสร้างชั่วคราวคลุมไม้ยืนต้นที่รอวันเติบโต DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: YANGNAR STUDIO Thingamajiggy Coffee Roaster ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอาคารขนาด 3×7 เมตร ได้แรงบันดาลใจจากยุ้งข้าว หรือหลองข้าว จุดเริ่มต้นไอเดียการออกแบบมาจากการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทางตอนเหนือของไทย และไปเยือนเชียงตุงของสถาปนิก จนออกมาเป็นร้านกาแฟภาษาเรียบง่าย มีพาวิเลียนหลังคาไผ่เป็นส่วนเชื่อมระหว่างอาคาร เน้นใช้วัสดุหาง่าย รวมถึงเทคนิควิธีที่ไม่ซับซ้อน กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไอเดียจากยุ้งข้าว รูปแบบอาคารเริ่มจากสถาปนิก คุณเท่ง-เดโชพล รัตนสัจธรรม แห่ง Yangnar Studio ออกเดินทางไปที่เมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ แล้วเกิดความสนใจในอาคารยุ้งข้าวเก่าในแถบนั้น หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าหลองข้าว เมื่อได้รับโจทย์จากเจ้าของโครงการที่ต้องการทำร้านกาแฟบนเนินคันนาของตัวเอง ด้วยความต้องการคุมงบประมาณ จึงนำรูปแบบอาคารมาถอดดีไซน์จนเกิดเป็นอาคารร้านกาแฟขนาดกะทัดรัดในไซซ์ 3×7 เมตร ที่มีฟังก์ชันบาร์กาแฟ ห้องอบเบเกอรี่ ส่วนตัวอาคารมีสองฝั่ง ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน เป็นส่วนบาร์กาแฟ ห้องอบเบเกอรี่ในทิศใต้ และอาคารห้องน้ำในทิศเหนือ […]

บ้านไม้-หลังเล็ก-บ้านชนบท

BAAN NOI DOI HANG บ้านต่างจังหวัด ฟังก์ชันพอดีสำหรับใช้ชีวิต และทำงานจากบนดอย

BAAN NOI DOI HANG บ้านหลังเล็กแฝงกลิ่นอายสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ฟังก์ชันพอดีสำหรับใช้ชีวิต และทำงานแบบ Work from Home จากบนดอยที่จังหวัดเชียงราย บ้านน้อยดอยฮาง ขนาดพื้นที่ 35 ตารางเมตร ขนาดของบ้านไม่ต่างจากห้องในคอนโดมิเนียมกลางเมืองห้องหนึ่ง แต่สิ่งที่ต่างคือเป็นบ้านตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติบนภูเขาที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เจ้าของบ้านเป็นคู่รักที่ต้องการสร้างบ้านหลังเล็กเพื่อหลีกเร้นจากความวุ่นวาย และเร่งรีบของเมืองหลวง ออกไปสร้างพื้นที่ขนาดย่อมไว้ใช้ชีวิต และทำงานได้จากที่บ้าน โดยเริ่มจากการเลือกรูปแบบวิถีชีวิตที่ต้องการจริงๆ ก่อนออกแบบเป็นพื้นที่ใช้งานที่เรียบง่าย บ้านไม้ ที่ตัดสิ่งไม่จำเป็นออก จนเหลือเพียงพื้นที่ที่ได้ใช้งานจริงในทุกวัน คัดเฉพาะฟังก์ชันที่จำเป็น พื้นฐานของเจ้าของบ้านเป็นคนกรุงเทพฯ มีบ้านหลังอื่นมาก่อนที่จะทำบ้านหลังนี้ที่อยู่ในเมือง จึงตกผลึกความต้องการในการอยู่อาศัยมาระดับหนึ่งว่าฟังก์ชันบ้านที่ต้องการ และพอดีสำหรับตนเองเป็นแบบไหน จึงแลกเปลี่ยนไอเดียกับสถาปนิก จนออกมาเป็นบ้านหลังเล็ก เป็น Tiny House ที่มีห้องพักสำหรับนอน และทำงาน 1 ห้อง ห้องน้ำ 1 ห้อง เคาน์เตอร์ครัวสำหรับทำอาหารต่อเนื่องกับบาร์ชงกาแฟ ตู้เสื้อผ้า และระเบียงสำหรับทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งข้อดีของบ้านเล็ก นอกจากจะเป็นเรื่องการคุมงบไม่ให้บานปลาย ยังดูแลรักษาง่ายทำให้เจ้าของบ้านมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นในชีวิตอีกด้วย ออกแบบบ้านรับกับบริบท ตัวบ้านตั้งอยู่บนเนินเขา หันมุมมองบ้านเปิดรับวิวไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ใช้ชายคาเป็นตัวช่วยบังแสงแดดในช่วงบ่ายก่อนเข้าสู่พื้นที่ห้องนอน […]

การเลือกใช้ต้นไม้ให้เหมาะกับภูมิอากาศและสวนแต่ละสไตล์

ต้นไม้มีบทบาทสำคัญสำหรับสวนหรืออาจเรียกว่าเป็นพระเอกของสวนเลยก็ว่าได้ ซึ่งสวนในแต่ละประเทศก็มักจะมีการเลียนแบบธรรมชาติและเลือกใช้พรรณไม้ท้องถิ่นมาจัดวาง ทำให้เกิดเป็นสไตล์หรือเอกลักษณ์ของสวนที่ชัดเจน แต่หากว่าจะนำสวนแต่ละสไตล์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับภูมิประเทศและภูมิอากาศแบบบ้านเรา Garden Expert ฉบับนี้ ก็มีแนวทางในการเลือกใช้พรรณไม้ที่มีรูปทรงสวยงามหาได้ในเมืองไทยและตัวอย่างพรรณไม้สำหรับการประยุกต์ใช้ให้ได้บรรยากาศแบบสวนทั้ง 4 สไตล์มาฝากกัน สวนทรอปิคัล (Tropical) การจัดสวนแบบทรอปิคัล (Tropical) จะให้ความรู้สึกแบบธรรมชาติในแถบเขตร้อนชื้น ส่วนใหญ่นิยมใช้สีเอิร์ธโทน และเต็มไปด้วยพืชพรรณสีเขียวนานาชนิด อาจแทรกสีสันด้วยไม้ใบสีอื่นหรือใบด่างบ้าง เพื่อเติมความมีชีวิตชีวาให้สวน นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มกลิ่นหอมเย็นชื่นใจของพรรณไม้บางชนิด โดยการจัดวางไว้บริเวณที่ใกล้กับมุมนั่งเล่นก็จะช่วยให้บรรยากาศโดยรวมดูน่าสนใจและน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้นไม้ทุกชนิดที่เป็นต้นไม้พื้นถิ่นของประเทศไทยสามารถจัดสวนสไตล์นี้ได้อย่างแน่นอน  การดูแลสวนโดยทั่วไปจะปล่อยให้ต้นไม้เติบโตอย่างอิสระ ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่บ้างเล็กน้อย เพื่อเปิดช่องแสงให้ต้นไม้ด้านล่างได้รับแสงอย่างทั่วถึง และควรให้น้ำทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อน เพื่อเพิ่มความชื้นและช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี• ไม้ยืนต้น: กระโดน ลั่นทม พิกุล หมากเขียว จิกน้ำ จิกสวน เสม็ดแดง พะยอม ชงโค อโศกน้ำ ชุมแสง มั่งมี• ไม้พุ่ม: เฟิน โมก บอนกระดาด ขิงแดง เอื้องหมายนา เสน่ห์จันทน์แดง บีโกเนีย ฤๅษีผสม ดาหลา หน้าวัวใบ• ไม้คลุมดิน: สะระแหน่ประดับ โคลงเคลงเลื้อย […]

save-energy-house

ทำแบบนี้แล้ว บ้านประหยัดพลังงาน จริงไหม?

มาดู 8 เรื่องที่เราเข้าใจว่าทำให้ บ้านประหยัดพลังงาน มากขึ้น แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด มาไขข้อสงสัยว่าทำแบบนี้แล้วประหยัดพลังงานขึ้นจริงหรือไม่ 1.ติดฉนวนป้องกันความร้อนเข้าบ้านแล้ว ภายในบ้านจะไม่ร้อน ความเข้าใจ : ถ้าติดฉนวนกันความร้อนและใช้วัสดุกันความร้อนที่หลังคาและผนังทั้งบ้านแล้ว ในบ้านจะต้องเย็นสิ ข้อเท็จจริง : แน่นอนว่าการติดฉนวนกันความร้อนทั้งที่ผนังและหลังคาเป็นการช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างดี เพราะวัสดุฉนวนจะลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน ทั้งยังช่วยกักเก็บความเย็นภายในบ้านได้ดี ซึ่งปกตินิยมมาติดบริเวณผนังและหลังคาบ้าน แต่บ่อยครั้งพบว่าเมื่อกลับเข้าบ้านช่วงเย็น บ้านก็ยังร้อนอยู่ เนื่องจากฉนวนจะป้องกันความร้อนได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อภายในห้องนั้นเป็นพื้นที่ปิดทั้งหมด แต่ในบ้านปกติจะมีหน้าต่าง ช่องแสง และส่วนประกอบอาคารที่มีความเป็นฉนวนน้อย และตัวฉนวนเองก็กันความร้อนไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังเป็นจุดที่นำพาความร้อนของแสงแดดเข้ามาได้ และกลายเป็นความร้อนสะสมอยู่ภายในบ้านตลอดทั้งวัน ทั้งยังระบายความร้อนออกไปได้ยากเนื่องจากมีฉนวนกั้นอยู่ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์กระติกน้ำร้อน (Thermal  Flask Effect) อีกทั้งในช่วงเวลากลางวันเมื่อไม่มีคนอยู่ก็จะปิดหน้าต่างทุกบาน ส่งผลให้ความร้อนอบอ้าวสะสมอยู่ภายใน คล้ายกับการเกิดสภาวะเรือนกระจก บ้านประหยัดพลังงาน วิธีประหยัดพลังงานที่ดี : ควรใช้ฉนวนกันความร้อน ร่วมกับการระบายความร้อนสะสมในบ้านซึ่งทำได้หลายวิธี คือ ระบายความร้อนสะสมออก ด้วยการแง้มหน้าต่างเพื่อให้อากาศร้อนระบายออกได้เอง การติดระบบระบายอากาศเพื่อดูดอากาศร้อนออก ลดความร้อนที่เข้ามาทางช่องเปิด ด้วยการติดฟิล์มกันความร้อน ติดม่านกันความร้อน หรือบังแดดให้ช่องเปิดด้วยการทำกันสาดหรือปลูกต้นไม้ 2.ใช้กระจกกันความร้อนแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำแผงบังแดด ความเข้าใจ : ลงทุนใช้กระจกฉนวน ไม่ต้องทำชายคาบังแดดหรือแผงบังแดด […]