บ้านโมเดิร์น ทรงเหลี่ยมๆ บนหินทรงกลม ๆ

บ้านโมเดิร์น บนที่ดินที่คาดคะเนว่าอาจมีน้อยคนนักที่จะสนใจที่ดินผืนนี้…ทำไมน่ะหรือ Design Directory สถาปนิก : Kusol Im-Erbsin บ้านโมเดิร์น ก็เพราะบริเวณนี้เต็มไปด้วยหิน ไม่ใช่หินธรรมดาเสียด้วย เป็นหินก้อนกลมขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการวางแปลนบ้านก็จะยากกว่าบ้านทั่วไปหรือแม้แต่บ้านบนเนินเขาหลายเท่านัก แต่เจ้าของบ้านหลังนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น ที่ดินขนาดประมาณ 1 ไร่นี้ดูคับแคบกว่าความเป็นจริง เพราะเต็มไปด้วยหินธรรมชาติขนาดยักษ์ ขอบเขตของพื้นที่ต่ำกว่าระดับถนนลงไปเป็นผาหินชัน บังตัวบ้านสองชั้นจนมองเห็นแค่หลังคาบางส่วนเท่านั้น เราจึงไม่อาจคาดเดาหน้าตาของบ้านว่าจะมีลักษณะเป็นเช่นไร ที่ดินที่มีระดับแตกต่างกันมาก ประกอบกับเต็มไปด้วยหิน ทำให้การออกแบบอาคารต้องแยกพื้นที่ใช้สอยให้ห่างกัน เป็น บ้านโมเดิร์น ภายใต้หลังคาแบบเพิงหมาแหงนที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน โดยทุกพื้นที่จะมีการ “เล่นเส้น” อย่างแยบยล สร้างความเชื่อมโยงและปรับความรู้สึกของแปลนรูปทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่น่าเบื่อด้วยการออกแบบโครงสร้างที่ยกระดับพื้นให้ลดหลั่นกัน เปิดฝ้าเพดานขึ้นไปจนติดหลังคา ปล่อยเปลือยโครงสร้างบางส่วนเพื่อรับแสงด้านข้างและลวงตาให้เกิดเป็นเส้นสายในงานออกแบบ ทำให้รูปทรงดูต่างออกไป และสร้างความรู้สึกสบายยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของพื้นที่ การวางตำแหน่งอาคารจึงแยกเป็น 3 หลัง มีเรือนหลังใหญ่สองชั้นที่วางแปลนเป็นรูปตัวที (T) ชั้นบนเป็นส่วนนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง เผยให้เห็นงานโครงสร้าง ผนังด้านในบางส่วนตีไม้ระแนง บางส่วนเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนสลับกับกระจกใส มีระเบียงโล่งแนวขวางตั้งฉากกับห้องจัดเป็นส่วนรับประทานอาหารแบบเอ๊าต์ดอร์ ส่วนชั้นล่างของเรือนใหญ่แม้จะเน้นให้มีความเรียบโล่ง แต่ก็มีผนังกั้นเพื่อความเป็นสัดส่วนมากกว่าชั้นบน หลักๆ ออกแบบเป็นผนังบานเลื่อนกระจกใสขนาดใหญ่เต็มผนัง ประกอบด้วยส่วนนั่งเล่นที่ออกแบบเป็นเตียงขนาดใหญ่ ใกล้กันเป็นห้องรับประทานอาหารกึ่งทางการ และส่วนที่อยู่ในสุดเป็นแพนทรี่แบบทันสมัย เรือนหลังที่สองเป็นเรือนชั้นเดียว […]

ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด

  บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]

Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ

ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง  เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]

Overlays มิติสวนที่ซ้อนทับ

เป็นธรรมเนียมของนิตยสาร “บ้านและสวน” ฉบับเดือนมกราคมของทุกปีที่เราจะมาอัปเดตไอเดียและสิ่งน่าสนใจภายใน งานบ้านและสวนแฟร์ ซึ่งจัดผ่านไปเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับคอลัมน์ “สวนสวย” เราจะพาทุกท่านไปชมความสวยงามของสวนโชว์ ซึ่งเป็นการกลับมาร่วมงานกันอีกครั้งระหว่าง “บ้านและสวน” กับบริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด โดยจัดสวนภายใต้คอนเซ็ปต์ของงานแฟร์ครั้งนี้ นั่นคือ “โลกหลอมรวม” ที่ทำออกมาได้แปลกใหม่และสร้างความประทับใจให้ผู้ชมงานได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่มุมมองจากด้านหน้าทางเข้าสวนโชว์ที่ดูแตกต่างจากสวนทั่วไป เพราะมีกำแพงล้อมรอบ ทำหน้าที่กั้นพื้นที่ส่วนต่างๆ ภายในสวน จึงไม่อาจคาดเดาบรรยากาศด้านในได้ ความน่าสนใจของส่วนนี้คือ           การออกแบบกำแพงสีขาวดูเรียบง่ายตามสไตล์โมเดิร์น แต่ซ่อนรายละเอียดความเป็นไทยเอาไว้ด้วยการตกแต่งไม้เทียมทาสีเทาเป็นลวดลายที่ประยุกต์มาจากลายผ้าขาวม้า ซึ่งดึงดูดสายตาผู้พบเห็นได้ดี เมื่อก้าวผ่านประตูเข้ามาภายในจะพบส่วนนั่งเล่น (Living Zone) ให้ผู้ชมงานนั่งพักผ่อนกันได้ การออกแบบจะดึงเอากรอบผนังมาใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนแบบง่ายๆ ซึ่งเป็นไอเดียให้เจ้าของบ้านที่มีพื้นที่จำกัดสามารถทำตามได้ ถัดไปเป็นมุมที่ปลูกสนฉัตรยักษ์หลายต้นซึ่งมองเห็นได้แต่ไกล บริเวณใต้ต้นยังปลูกบลูฮาวายออกดอกเป็นทุ่งสีน้ำเงินดูเรียบง่าย แต่ให้บรรยากาศของสวนป่าในแถบยุโรปหรืออเมริกาเหนือ และหากสังเกตวัสดุปูพื้นทางเดินจะเห็นว่าใช้กระเบื้องดินเผาและไม้ไผ่ที่ให้อารมณ์ไทยๆ ทอดยาวไปจนถึงมุมปาร์ตี้บนเทอร์เรซดาดฟ้า (Rooftop Party Terrace Garden) ซึ่งจำลองเป็นดาดฟ้าของบ้านตึกแถวในเมือง โดยจัดเป็นมุมรับประทานอาหารยามเย็นสุดชิกตามสไตล์นิวยอร์กเกอร์ ทั้งยังเชื่อมต่อกับสวนสนด้านข้างและส่วนนั่งเล่นที่เพิ่งเดินผ่านมา “ตอนที่เราได้โจทย์มาก็เริ่มออกแบบโดยนำรูปภาพที่เราอยากได้ในสไตล์ต่างๆ มาวางบนโต๊ะ แล้วเริ่มเขียนเส้นทางสัญจรเชื่อมต่อกัน จากนั้นจึงค่อยๆรวมเอาสิ่งต่างๆ มาจับคู่ผสมหลอมรวมกันจนออกมาเป็นสวนอย่างที่เห็น […]

Bossa Blossom House บ้านแสนรักของคุณลุลา

หากเอ่ยถึงชื่อ “ ลุลา ” หลายท่านคงรู้จักเธอเป็นอย่างดี ผ่านผลงานเพลงแนวบอสซ่าฟังสบาย หรือจากบทสัมภาษณ์อื่นๆ ผมไม่แปลกใจที่หลายท่านคงจะมีภาพตัวตนของเธอผู้นี้อยู่ในความคิดตามมุมมองของแต่ละคน หากว่าบ้านเป็นเหมือนตัวตนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งสะท้อนผ่านมุมต่างๆ ภายในบ้าน บ้านหลังนี้คงสะท้อนตัวตนของ คุณลุลา หรือ คุณตุ๊กตา – กันยารัตน์ ติยะพรไชย ออกมาได้อย่างเปิดเผยทุกแง่มุม ทั้งมุมที่เราเคยรู้จักเธอและในมุมที่จะทำให้เรารู้จักตัวตนของเธอมากยิ่งขึ้น ผมออกจะประหม่าเล็กน้อยเมื่อยืนอยู่หน้าประตูห้องของคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในย่านเอกมัย เพราะผู้ที่อยู่ภายในคือศิลปินชื่อดัง เมื่อประตูบานนั้นเปิดออก คุณลุลาก็ปรากฏตรงหน้า พร้อมเอ่ยคำทักทายอย่างเป็นกันเอง ก่อนพาเราเดินชมบรรยากาศภายในห้องซึ่งเดิมตกแต่งในแบบยุค 1970 มีการกั้นพื้นที่เป็นหลายๆ ห้องตามการใช้งาน หลังคุณลุลาได้ห้องนี้มาก็ทุบผนังห้องที่เคยกั้นไว้เหลือเพียง 2 ส่วน ส่วนแรกคือครัว ส่วนรับแขก – นั่งเล่น และสวนเล็กๆ ริมระเบียง ส่วนที่สองคือห้องนอนและมุมทำงาน การตกแต่งโดยรวมใช้โทนสีขาว ดูสว่าง เข้ากับประตูกระจกโปร่งใสที่รับแสงธรรมชาติเข้ามา ทำให้ห้องดูกว้างขึ้นและไม่ทึบ ตัวฝ้าเพดานและงานระบบเดิมถูกรื้อออกหมดเพื่อเดินระบบใหม่ตามบริเวณใต้แนวคาน ก่อนตีโครงไม้หุ้มต่ำลงมา 10 เซนติเมตรรอบคาน แล้วทาสีตกแต่งให้เกิดเท็กซ์เจอร์ดูคล้ายไม้เก่า ที่สะดุดตาคือผนังข้างประตูเล็กๆที่ก่ออิฐเรียงกันสวยงาม ซึ่งใช้เป็นที่แขวนจักรยานและสิ่งของต่างๆ “อยากใช้มุมนี้แขวนจักรยานและพวกรองเท้าปีนเขา เพราะชอบกิจกรรมผจญภัย ช่วงที่ไม่มีงานก็จะออกต่างจังหวัด ส่วนมากจะไปกระบี่เพื่อปีนหน้าผา แล้วก็ไปภูเก็ตเพื่อเล่นเซิร์ฟ ช่วงหลังก็จะเล่นพวกกีฬาที่มันเซฟมากขึ้น […]

เทียบขอบน้ำ เทียมขอบฟ้า

ลักษณะที่โดดเด่นของบ้านหลังนี้คือออกแบบเป็นบ้าน 3 หลังแยกจากกัน โดยมี” ชานไม้ “เชื่อมต่อพื้นที่ให้เป็นผืนเดียวกัน ดูคล้ายแนวคิดการสร้างบ้านไทยในอดีต

A Time to Green สีเขียวเพิ่มความสุข

จากข้าวของที่มีอยู่ทำให้ภาพสวนที่คุณหนูตั้งใจจะจัดเปลี่ยนมาเป็นสวนที่ร่มรื่นเจือกลิ่นอายของ ” สวนอังกฤษ ” แบบที่เห็น

The Writer’s Quarters บ้านเข็มทิศชีวิต

เราเคยมีโอกาสไปบ้านของ คุณอ้อย- ฐิตินาถ ผู้เขียน“เข็มทิศชีวิต”มาแล้ว และนี่ถือเป็นการพบกันอีกครั้งกับการเปิดประตูบ้านให้เราเข้าไปเรียนรู้โลกใบเล็กของเธอ

Hometown Paradise สุขสบายที่บ้านเรา

” บ้านสไตล์โมเดิร์น ” ในจังหวัดชลบุรีหลังนี้มองจากด้านนอกจะแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเว้นช่องว่างเล็กๆ ระหว่างบ้าน