แนบอุรา ต้นไม้เลื้อยแห่งหัวใจที่คล้ายกัน จาก 2 สกุล Scindapsus และ Rhaphidophora

เมื่อพูดถึงไม้ใบที่เรียกกันว่า “แนบอุรา” หรือ “หัวใจแนบ”ภาพในความคิดของหลายคนคงหนีไม่พ้นไม้ใบรูปหัวใจที่มักจำหน่ายเป็นไม้กระถางต้นเจริญเกาะเลื้อยแนบชิดกับแผ่นไม้เรียบหลากหลายขนาดแผ่นใบมีลวดลายหลากหลายแต่ก็ล้วนสะดุดตาแค่เพียงนำไปวางตกแต่งในบ้านหรือประดับสวนก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์ชวนมองได้ไม่แพ้ไม้ใบชนิดอื่นลงสวนฉบับนี้จึงพาไปรู้จักไม้ใบลายสวยสุดเก๋เหล่านี้กัน แนบอุรา หัวใจแนบ Scindapsus pictus Hassk. ‘Argyraeus’ ไม้เลื้อยขนาดเล็ก เลื้อยได้ไกล 1-3 เมตร มีรากออกจากลำต้นเพื่อพยุงต้นให้เติบโต ใบรูปหัวใจออกเรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ แผ่นใบหนาสีเขียวอมเทาเป็นกำมะหยี่ มีแต้มด่างสีบรอนซ์เงินหลากหลายรูปแบบ อาจเป็นแต้มเล็ก ๆ หรือเป็นปื้นทั่วใบ จึงมีชื่อสามัญว่า Satin Pothos, Silk Pothos, Silver Hilodendron เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว นอกจากแนบอุราสกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) ยังมีไม้ใบในสกุลราฟิโดฟอรา (Rhaphidophora) บางชนิดที่เรียกแนบอุราเช่นกัน ลักษณะเป็นไม้เลื้อย มีรากออกตามข้อ เมื่อยังเล็กใบรูปหัวใจหรือใบรี แต่เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นอีกรูปทรงหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน นิยมนำมาเลี้ยงให้เลื้อยขึ้นบนแผ่นไม้ ผนัง หรือใส่ในตู้เทอร์ราเรียม ตัวอย่างเช่น     แนบอุราชอบวัสดุปลูกโปร่งระบายน้ำได้ดีต้องการน้ำปานกลางความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงแสงรำไรสามารถทนร่มได้ดีจึงปลูกเลี้ยงในบ้านได้แทบทุกชนิดเติบโตค่อนข้างช้านิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือเกาะกับหลักนำมาเลี้ยงให้เลื้อยขึ้นบนแผ่นไม้ผนังหรือลำต้นไม้ใหญ่ที่ชุ่มชื้นและเย็นหากได้รับแสงและความชื้นไม่เพียงพอรากและลำต้นจะไม่เกาะแนบกับพื้นผิววัสดุขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง เรื่อง: อังกาบดอย ภาพ: อภิรักษ์ สุขสัย, ธนกิตติ์ คำอ่อน ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับไม้ใบหลากหลายชนิดได้เพิ่มเติมใน หนังสือ […]

10 ต้นไม้เลื้อยยอดฮิตตลอดกาล ขวัญใจชาวบ้านและสวน

ทุกครั้งที่เรานำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับต้นไม้เลื้อยสำหรับเป็นความรู้ให้กับชาวบ้านและสวนในหัวข้อต่างๆก่อนหน้านี้ เรื่องราวเหล่านั้นมักจะได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมสำหรับทุกคนอยู่เสมอ เราจึงลองจัดอันดับ ต้นไม้เลื้อยยอดฮิต ที่มักพบเห็นและนิยมนำมาใช้ตกแต่งสวนหรือมุมต่างๆในบ้านอยู่ตลอด พวงคราม เดป ตีนตุ๊กแก เฟื่องฟ้า พลูฉีก เงินไหลมา ฟิโลเดนดรอน พวงชมพู เหลืองชัชวาล สร้อยอินทนิล ส่วนใหญ่ช่วยสร้างมิติทางตั้งและเพิ่มระนาบเหนือศีรษะให้ความร่มเย็นและร่มเงาแบบไม่ทึบ ที่สำคัญใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก เพราะไม่แผ่กว้างเหมือนต้นไม้ใหญ่ แต่ควรมีพื้นที่ให้กิ่งหรือลำต้นยึดเกาะ เช่น ทำซุ้มระแนง กันสาด หรือผนัง ต้นไม้เลื้อยยอดฮิต บางชนิดโตเร็วมากสามารถเลื้อยได้ไกล ขณะที่บางชนิดก็โตช้า  อาจใช้ปลูกร่วมกันในระยะแรกที่ต้นไม้หลักยังไม่ออกดอกจะได้มีต้นเสริมที่โตเร็วขึ้นเป็นซุ้มและออกดอกให้ชมได้ 1.พวงคราม ชื่อวิทยาศาสตร์: Petrea volubilis L.วงศ์: Verbenaceaeแสง : แดดเต็มวันน้ำ : ปานกลาง ไม่ชอบน้ําขังแฉะดิน : ดินร่วน 2.เดป ชื่อวิทยาศาสตร์: Dischidia sp.วงศ์: Asclepiadaceaeแสง : แดดรําไรน้ำ : ปานกลางดิน : นิยมใช้กาบมะพร้าวสับเป็นวัสดุปลูก 3.ตีนตุ๊กแก ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus pumila […]

8 ไอเดียปลูกไม้เลื้อยในแบบต่างๆ พร้อมบอกชนิดพรรณไม้ที่เหมาะกับการปลูก

ถือว่าเป็นโชคดีของบ้านเราที่สามารถปลูกไม้เลื้อยได้หลากหลายชนิด ความมหัศจรรย์ของไม้เลื้อย คือ ลำต้นที่สามารถทอดยาวเลื้อยพันสิ่งใกล้เคียง โดยมีอวัยวะพิเศษช่วยในการยึด ทำให้ไม้เลื้อยจำเป็นต้องมีที่หรืออุปกรณ์สำหรับช่วยยึดและพยุงต้นให้ลำต้นยืนได้ สามารถรับแสงแดด และแตกกิ่งก้านใบหรือออกดอกสวยงาม ซึ่งต้นไม้เลื้อยแต่ละชนิดก็มีลักษณะการยึดเกาะและความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป รวมถึงนำไปปลูกและสร้างความสวยงามในสวนได้ต่างกัน เราจึงได้รวม ไอเดียปลูกไม้เลื้อย ในแบบต่าง ๆ ให้นำไปปลูกตามกันดังนี้ 1.ผนังระแนง วัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อปกปิดสิ่งก่อสร้างที่ดูไม่สวยงาม ส่วนใหญ่จะใช้ต้นไม้เลื้อยที่มีรากพิเศษออกตามข้อที่สามารถเกาะแนบติดกับผนังได้ดี เช่น ตีนตุ๊กแก ไอวี่ และหัวใจแนบ ซึ่งผนังจำเป็นต้องมีผิวขรุขระและมีความชุ่มชื้นอยู่พอสมควร เช่น อิฐดินเผาหรือไม้เก่า นอกจากนั้นยังสามารถตีผนังด้วยระแนงหรือตาข่ายเพื่อปลูกต้นไม้ที่เถาไม่ใหญ่มากสามารถแตกกิ่งก้านยึดเกี่ยวได้ง่ายและมีมือพันขนาดเล็ก เช่น เหลืองชัชวาล พวงชมพู สร้อยอินทนิล เป็นต้น 2.โครงไม้เลื้อย สำหรับสวนที่มีพื้นที่ไม่มาก มีลักษณะแบบสวนอังกฤษหรือสวนที่ต้องการให้ไม้เลื้อยทำหน้าที่เหมือนต้นไม้พุ่มที่เป็นจุดเด่น  ใช้โครงไม้เลื้อยลวดลายหรือรูปทรงสวยงามน่าสนใจแล้วปล่อยให้ต้นไม้เลื้อยขึ้นพันโครงดังกล่าวแล้วตัดแต่งให้เข้ากับโครงไม้เลื้อยอยู่เสมอ ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่มักเป็นต้นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือกึ่งเลื้อยที่ขนาดต้นเล็กถึงกลาง ใบละเอียด ออกดอกง่าย  สามารถเลื้อยแบบพาดพิงหรือมียอดเลื้อยพันก็ได้แต่ต้องสามารถคงรูปทรงได้บ้าง ไม่โอนเอนติดดินและตัดแต่งเป็นลักษณะคล้ายต้นไม้พุ่มอยู่ได้ เช่น พวงแก้ว กุหลาบเลื้อย คอนสวรรค์  แฮ็ปปี้เนส เป็นต้น 3.ซุ้มไม้เลื้อย มักใช้พื้นที่บริเวณระเบียงหรือลานที่ใช้เป็นที่นั่งเล่นชมสวนหรือรับรองแขกได้ โดยมีเสาสำหรับรับน้ำหนักที่แข็งแรง 2 ต้นขึ้นไป มีคานและระแนงทำจากวัสดุแข็งเช่นเหล็กหรือไม้สำหรับให้ไม้เลื้อยทำหน้าที่เลื้อยพันไปมาและให้ร่มเงา ซึ่งต้นไม้ที่เลือกจำเป็นต้องเหมาะสมกับความแข็งแรงของซุ้ม โดยเฉพาะไม้เลื้อยที่มีลำต้นขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากอย่าง […]

เทคนิคการปลูกไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย

ในการจัดสวนจะกำหนดให้มีไม้ประธานหรือไม้หลักที่ใช้เป็นจุดเด่นในสวน ซึ่งมักเป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ การปลูกจึงต้องใช้วิธีล้อมต้นมาปลูก เพื่อให้ได้ภาพสวนใกล้เคียงกับจินตนาการไว้มากที่สุด การปลูกเพื่อจัดสวนจะคำนึงถึงเรื่องสำคัญคือ ดินปลูก ซึ่งจะต้องเตรียมให้เหมาะกับต้นไม้ที่จะปลูก ส่วนใหญ่ก็มีคุณสมบัติโปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศดี มีธาตุอาหารสมบูรณ์ และวิธีปลูก ซึ่งต้องทำให้ถูกวิธี เรามาดูวิธีปลูกต้นไม้กัน เรื่องสุดท้ายที่คนปลูกต้นไม้ต้องรู้ก็คือ การบำรุงดูแล ทั้งแบบประจำวันคือ การรดน้ำ และตรวจดูต้นไม้สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรคหรือแมลงรบกวน และการดูแลแบบรายเดือน ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สลับกับปุ๋ยเคมีเพื่อให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหาร จะได้เจริญเติบโต ให้ร่มเงาและผลิดอกออกผล ข้อมูลจาก คู่มือคนรักต้นไม้ ชุดที่ 5 “ใบไม้กินได้” โดย วาสนา พลายเล็ก ภาพประกอบโดย สมฤดี ดอยแก้วขาว © สงวนสิทธิ์ โดยบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ใช้เพื่อเผยแพร่และอ้างอิง ห้ามดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต

เทคนิคการปลูกไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย

ในการจัดสวนจะกำหนดให้มีไม้ประธานหรือไม้หลักที่ใช้เป็นจุดเด่นในสวน ซึ่งมักเป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ การปลูกจึงต้องใช้วิธีล้อมต้นมาปลูก เพื่อให้ได้ภาพสวนใกล้เคียงกับจินตนาการไว้มากที่สุด การปลูกเพื่อจัดสวนจะคำนึงถึงเรื่องสำคัญคือ ดินปลูก ซึ่งจะต้องเตรียมให้เหมาะกับต้นไม้ที่จะปลูก ส่วนใหญ่ก็มีคุณสมบัติโปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศดี มีธาตุอาหารสมบูรณ์ และวิธีปลูก ซึ่งต้องทำให้ถูกวิธี เรามาดูวิธีปลูกต้นไม้กัน เรื่องสุดท้ายที่คนปลูกต้นไม้ต้องรู้ก็คือ การบำรุงดูแล ทั้งแบบประจำวันคือ การรดน้ำ และตรวจดูต้นไม้สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรคหรือแมลงรบกวน และการดูแลแบบรายเดือน ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สลับกับปุ๋ยเคมีเพื่อให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหาร จะได้เจริญเติบโต ให้ร่มเงาและผลิดอกออกผล ข้อมูลจาก คู่มือคนรักต้นไม้ ชุดที่ 5 “ใบไม้กินได้” โดย วาสนา พลายเล็ก ภาพประกอบโดย สมฤดี ดอยแก้วขาว © สงวนสิทธิ์ โดยบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ใช้เพื่อเผยแพร่และอ้างอิง ห้ามดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต