การวางแปลน
บ้านสไตล์โมเดิร์น ภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมสระว่ายน้ำและสวนหย่อมมาไว้ใต้ถุน
บ้านโมเดิร์น เหมือนกับที่เจ้าของบ้านบอกสถาปนิกไว้ก่อนสร้าง แบบบ้านไทยโมเดิร์น หลังนี้ว่า “อยากได้บ้านแบบไทยๆ ที่คนไทยอยู่ได้สบาย มีใต้ถุนที่เปิดโล่ง และลมพัดระบายอากาศ..
คู่มือวางแปลนห้อง ฉบับย่อ อ่านหนึ่งรอบจัดบ้านเองได้เลย
การออกแบบบ้านเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องมีสถาปนิกและวิศวกรออกแบบ แปลนห้อง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางโครงสร้างและการใช้งานทั้งภายในบ้านและพื้นที่โดยรอบให้ถูกกฎหมาย แต่เมื่อถึงคราวต้องสร้างบ้าน เรามักไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตัวเองต้องการให้สถาปนิกเข้าใจ หรือเมื่อเห็นผังพื้น (Plan) ก็นึกไม่ออกว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร เราจึงทำคู่มือการออกแบบและวางแปลนบ้านด้วยตัวเองฉบับพื้นฐาน เพื่อทำความรู้จักระบบการออกแบบอย่างง่ายที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านเข้าใจระบบของสถาปนิกมากขึ้น หรือเพื่อวางแปลนบ้านเองแล้วส่งต่อสถาปนิกให้ออกแบบบ้านได้อย่างที่ต้องการ หรือถ้าใครจะปรับเปลี่ยนบ้านโดยไม่กระทบโครงสร้าง ก็สามารถวาด แปลนห้อง แล้วให้ช่างมาทำเองก็ได้เช่นกัน 1 | วิธีกำหนดเฟอร์นิเจอร์ หลายคนถามว่าจะมีวิธีกำหนดจำนวนและขนาดเฟอร์นิเจอร์อย่างไร คำตอบคือให้ดูผู้ใช้งานและพื้นที่เป็นเกณฑ์ ได้แก่ ผู้ใช้งานคือใคร เด็ก ผู้สูงอายุ หรือวัยทำงาน จำนวนเท่าไร ทำกิจกรรมอะไรบ้างและช่วงเวลาในการใช้พื้นที่ ซึ่งเป็นคำถามที่เราต้องตอบเองและวางแผนเผื่ออนาคต ถ้ายิ่งมีความชัดเจนก็จะกำหนดเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่ได้ง่ายและประหยัดงบประมาณเพราะไม่ต้องเผื่อมากเกินจำเป็น 2 | รู้จักขนาดเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Scale) ก่อนวางแปลนควรทราบขนาดเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักที่จะวางในห้อง เพื่อออกแบบการจัดวาง การเว้นช่องทางเดิน ก็จะรู้ขนาดห้อง หรือในทางกลับกัน ถ้ามีขนาดห้องแล้วก็จะได้กำหนดขนาดเฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับห้องได้พอดี ยกตัวอย่างขนาดเฟอร์นิเจอร์เช่น โซฟา 3 ที่นั่ง ขนาด 2.00 x 0.80 m อาร์มแชร์และสตูลวางเท้า ขนาด 0.75 x 1.27 m โต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า […]
A Place Called Forever
จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]
บ้านคือศูนย์รวมใจ
เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]
Ode to Two Little Love เพื่อสองหัวใจดวงน้อย
เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม อ้อมกอด และความห่วงใย สามารถถ่ายทอดเป็นบทกวีที่บอกเล่าถึงความสุขและคำว่า “ครอบครัว” ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์หากมีการบ่มเพาะด้วยความรัก เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ จากที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวที่เจ้าของบ้าน คุณก้อย – อาชวี ณ นคร อยู่มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเวลาผ่าน สถานะเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อเธอและสามี คุณแดง – ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้เหมาะสมกับครอบครัวและการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น บ้านนี้อยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคุณแม่ (คุณรุ่งรังษี ณ นคร) น้องสาว 2 คน (ดร.ปิยพร – คุณณิชา ณ นคร) น้องนอต – กวิณ และ น้องนน – นวิน เหลืองนฤมิตชัย ลูกชายวัยกำลังซนซึ่งทำให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ การออกแบบพื้นที่จึงเน้นให้เชื่อมโยงกับหัวใจสองดวงน้อยๆ นี้มากยิ่งขึ้น คุณก้อยเล่าให้ฟังว่า “คุยกับมัณฑนากรว่าเราอยากมีพื้นที่เผื่อไว้สำหรับให้ลูกๆ ได้ทำกิจกรรมในแบบของพวกเขาเอง เช่น เวลาที่มีเพื่อนๆ […]
Unconditional Love รักไม่รู้จบ
กาลเวลาไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าต้องใช้เวลากี่ปีถึงเรียกสถานที่ที่เราพักพิงว่า “บ้าน” บางที่เราอยู่แค่ไม่กี่เดือนก็กลับรู้สึกอบอุ่นและมีความสุข ที่นั่นก็เป็นบ้านของเราได้ องค์ประกอบหลักที่เป็นหัวใจสำคัญคือครอบครัวและผู้ที่อยู่ในบ้านต่างหากที่ช่วยเติมเต็มให้คำว่าบ้านนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บ้านสวยที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นห้องชุดขนาดใหญ่อายุกว่า 30 ปีของครอบครัว คุณแจง – ชมพูนุท และ คุณนน – ณัฐวรรธน์ เตชะไพบูลย์ คุณแม่คนสวยและลูกชายหนุ่มหล่อคนเดียวของบ้าน ห้องชุดแห่งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ด้วยขนาดของแต่ละห้องและการใช้งานที่ครบครัน ในห้องชุดชั้นแรกใช้เป็นส่วนต้อนรับ มีการใช้งานเหมือนผังบ้านปกติ กล่าวคือจัดเป็นโถงรับแขก ครัวโชว์ ครัวไทย ส่วนรับประทานอาหาร ส่วนนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับห้องเก็บไวน์และมุมจิบไวน์ มีระเบียงยาวที่มองเห็นวิวเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยา ชั้นบนเป็นห้องชุดแบบดูเพล็กซ์ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของบ้าน มีมุมรับประทานอาหารมุมนั่งเล่น และครัวเหมือนในชั้นแรก ส่วนชั้นลอยเป็นห้องนอนใหญ่ ห้องนอนคุณนน และห้องทำงาน โดยมีพื้นที่นั่งเล่นเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมของครอบครัว คุณแจงเล่าถึงที่มาของบ้านนี้ให้ฟังว่า “ตอนแต่งงานใหม่ๆ พี่อยู่บ้านสามี ยุคนั้นคอนโดมิเนียมเริ่มเข้ามาเป็นที่นิยม ทุกคนก็ตื่นเต้นไปจองกัน ตอนนั้นลูกชายสองขวบแล้ว เราก็อยากหาที่อยู่ใหม่ ถ้าปลูกบ้านต้องใช้เวลาปีถึงสองปี และยังมีอีกหลายคำถามตามมา เช่น ใกล้โรงเรียนลูกหรือเปล่า เดินทางสะดวกไหม เป็นความโชคดีของพี่ที่เพื่อนของสามีขายห้องข้างบนให้ เพราะไม่เคยมาอยู่เลย เขาชอบอยู่บ้านมากกว่า พี่ก็ย้ายมาอยู่เลย จากวันนั้นก็อยู่มาจนถึงวันนี้ พอที่นี่อยู่สบายก็ทำให้ลืมไปเลยว่าเราอยากปลูกบ้าน” การจัดสรรพื้นที่ที่ดีเป็นหัวใจหลักของการอยู่คอนโดมิเนียม ข้อดีของคอนโดมิเนียมในยุคก่อนคือมีพื้นที่กว้างขวางไม่ต่างจากบ้าน […]
โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล
นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]
บ้านโมเดิร์น ทรงเหลี่ยมๆ บนหินทรงกลม ๆ
บ้านโมเดิร์น บนที่ดินที่คาดคะเนว่าอาจมีน้อยคนนักที่จะสนใจที่ดินผืนนี้…ทำไมน่ะหรือ Design Directory สถาปนิก : Kusol Im-Erbsin บ้านโมเดิร์น ก็เพราะบริเวณนี้เต็มไปด้วยหิน ไม่ใช่หินธรรมดาเสียด้วย เป็นหินก้อนกลมขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการวางแปลนบ้านก็จะยากกว่าบ้านทั่วไปหรือแม้แต่บ้านบนเนินเขาหลายเท่านัก แต่เจ้าของบ้านหลังนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น ที่ดินขนาดประมาณ 1 ไร่นี้ดูคับแคบกว่าความเป็นจริง เพราะเต็มไปด้วยหินธรรมชาติขนาดยักษ์ ขอบเขตของพื้นที่ต่ำกว่าระดับถนนลงไปเป็นผาหินชัน บังตัวบ้านสองชั้นจนมองเห็นแค่หลังคาบางส่วนเท่านั้น เราจึงไม่อาจคาดเดาหน้าตาของบ้านว่าจะมีลักษณะเป็นเช่นไร ที่ดินที่มีระดับแตกต่างกันมาก ประกอบกับเต็มไปด้วยหิน ทำให้การออกแบบอาคารต้องแยกพื้นที่ใช้สอยให้ห่างกัน เป็น บ้านโมเดิร์น ภายใต้หลังคาแบบเพิงหมาแหงนที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน โดยทุกพื้นที่จะมีการ “เล่นเส้น” อย่างแยบยล สร้างความเชื่อมโยงและปรับความรู้สึกของแปลนรูปทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่น่าเบื่อด้วยการออกแบบโครงสร้างที่ยกระดับพื้นให้ลดหลั่นกัน เปิดฝ้าเพดานขึ้นไปจนติดหลังคา ปล่อยเปลือยโครงสร้างบางส่วนเพื่อรับแสงด้านข้างและลวงตาให้เกิดเป็นเส้นสายในงานออกแบบ ทำให้รูปทรงดูต่างออกไป และสร้างความรู้สึกสบายยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของพื้นที่ การวางตำแหน่งอาคารจึงแยกเป็น 3 หลัง มีเรือนหลังใหญ่สองชั้นที่วางแปลนเป็นรูปตัวที (T) ชั้นบนเป็นส่วนนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง เผยให้เห็นงานโครงสร้าง ผนังด้านในบางส่วนตีไม้ระแนง บางส่วนเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนสลับกับกระจกใส มีระเบียงโล่งแนวขวางตั้งฉากกับห้องจัดเป็นส่วนรับประทานอาหารแบบเอ๊าต์ดอร์ ส่วนชั้นล่างของเรือนใหญ่แม้จะเน้นให้มีความเรียบโล่ง แต่ก็มีผนังกั้นเพื่อความเป็นสัดส่วนมากกว่าชั้นบน หลักๆ ออกแบบเป็นผนังบานเลื่อนกระจกใสขนาดใหญ่เต็มผนัง ประกอบด้วยส่วนนั่งเล่นที่ออกแบบเป็นเตียงขนาดใหญ่ ใกล้กันเป็นห้องรับประทานอาหารกึ่งทางการ และส่วนที่อยู่ในสุดเป็นแพนทรี่แบบทันสมัย เรือนหลังที่สองเป็นเรือนชั้นเดียว […]
ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด
บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]