© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
โรงงาน ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สเปซดีต่อใจ ใคร ๆ ก็อยากไปทำงาน พื้นที่ทำงานที่ดีต่อคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการทำงานของคุณให้ดียิ่งขึ้น
ออกแบบออฟฟิศ จากวัสดุที่ผลิตเองทั้งหมด โปรเจ็กต์การออกแบบครั้งนี้ เป็นพื้นที่ของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่มีมายาวนาน หลังจากนั้นบริษัทได้มีความคิดอยากเพิ่มบริษัทในเครือชื่อ Bara & Siam Metal เพื่อมุ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาโลหะโดยเฉพาะ จึงเป็นที่มาของการ ออกแบบออฟฟิศ ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ว่างภายในของสำนักงานเดิมให้กลายเป็นส่วนสำนักงานของบริษัทใหม่ และเป็นส่วนต้อนรับของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด ในเวลาเดียวกัน การปรับปรุงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ออกแบบให้เป็นโถงโล่งเพดานสูงทะลุเชื่อมต่อกัน 2 ชั้น มีโจทย์สำคัญก็คือต้องออกแบบการกั้นพื้นที่ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของบริษัท ได้แก่ ห้องทำงานสำหรับพนักงาน 12 – 20 คน ห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน ห้องผู้จัดการ และพื้นที่หน้าห้องประชุมบนชั้น 2 แนวคิดการออกแบบหลักอยู่ที่การออกแบบและวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ อาทิ ห้องทำงานเพดานสูงสำหรับพนักงานซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดไว้ด้านใน วางตำแหน่งห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน และห้องผู้จัดการที่มีเพดานต่ำกว่าไว้ในปีกขวาและซ้ายตามลำดับ โถงโล่งตรงกลางเป็นส่วนต้อนรับที่โอ่โถง โดยมีผนังของห้องทำงานพนักงานเป็นฉากหลัง พร้อมผนังสูงของห้องพนักงานที่ทำจากพอลิคาร์บอเนตยังเป็นส่วนปิดกั้นที่สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโถงหน้าห้องประชุมชั้นบนด้วย นอกจากนี้ ความสำคัญของที่นี่ยังอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ เน้นการแสดงพื้นผิวที่แท้จริงของวัสดุ นอกจากแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลือกมาใช้คู่กับงานโลหะแล้วแทบทั้งหมดเป็นวัสดุที่บริษัทผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเมทัลชีท อะลูมิเนียม รวมถึงเหล็กฉีก เสมือนเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสถานที่ และนำเสนอศักยภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้แบ่งกั้นพื้นที่ตามการใช้งาน […]
ดูเหมือนว่า Arch กำลังมา! หลายคนอาจสังเกตเห็น “Arch” หรือ “ช่องโค้ง” บ่อยเป็นพิเศษในงานออกแบบร้านอาหาร และคาเฟ่ ช่วงนี้ ไม่ใช่แค่ซุ้มประตูโค้ง แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงหน้าต่างทรงโค้ง และของตกแต่งอย่างกระจกเงา ไปดูกันดีกว่าว่าทำไมฮิต และองค์ประกอบนี้ช่วยเพิ่มความชิกให้สเปซได้อย่างไร
การออกแบบทางสถาปัตยกรรมสัมพันธ์กับอิริยาบถและการใช้ชีวิตของคนเราโดยตรง นอกจากสะท้อนเทรนด์ด้านดีไซน์ในแต่ละช่วงเวลาแล้ว ยังสะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ยิ่งตอนนี้โลกหมุนไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทักษะความรู้ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันจึงต้องปรับให้ทันอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบันการออกแบบไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามอย่างเดียว แต่ได้ก้าวข้ามไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และให้ประสบการณ์กับผู้ใช้งานอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาด้านการออกแบบของไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในแวดวงนักออกแบบมืออาชีพ บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด จึงมีความตั้งใจในการสนับสนุนนักออกแบบที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้นำความรู้ ความสามารถ มุมมองความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นระบบ มาเชื่อมโยงกับงานออกแบบให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและโลกในอนาคตได้อย่างสมดุล ผ่านโครงการประกวดออกแบบ Asia Young Designer Award (AYDA) ก้าวสู่ปีที่ 11 ในการดำเนินงานของโครงการ Asia Young Designer Award (AYDA) ที่ได้มุ่งสร้างพื้นที่สำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน เพื่อผลักดันความสามารถของนักศึกษาไทย ในการแสดงความคิดสร้างสรรค์และความสามารถให้ก้าวไปอีกขั้น ได้รับการบ่มเพาะ และพัฒนาแนวคิดจนเก่งขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อให้น้องๆ เป็นดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่จะไปพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและอนาคตในวงกว้าง โดยโครงการนี้ได้เดินหน้าเพื่อส่งเสริมการสรรค์สร้างผลงานการออกแบบของเยาวชนไทยมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการประกวด Asia Young Designer Award ปี 2561 นี้ ถือได้ว่าไม่ธรรมดากว่าทุกๆ ครั้ง […]
งานดีไซน์ที่ถูกพัฒนาขึ้น พร้อมแนวคิดที่ช่วยให้มนุษย์ต่อสู้กับแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Atelier2+ กับโฮมออฟฟิศพร้อมสตูดิโอดีไซน์ ครอบคลุมทุกงานออกแบบตั้งแต่เริ่มสเก็ตช์ จนถึงขั้นตอนลงมือทำ
จริง ๆ แล้ว เด็กก็เปรียบเหมือนผู้ใหญ่ตัวเล็กที่มีความคิดและความชอบเป็นของตัวเอง ผู้ปกครองอาจสอบถามความชอบของพวกเขา โดยเปิดหาไอเดียจากนิตยสารหรืออินเทอร์เน็ต