ขยะพลาสติก
ทางออกของ ปัญหาขยะพลาสติก จากเวทีเสวนา Redefining Plastic Waste จากงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023
ทุกวันนี้คนทั่วโลกต่างตื่นตัว และเห็นความสำคัญว่าขยะพลาสติกสร้างปัญหาให้โลกมากแค่ไหน แต่หลายคนก็อาจจะยังนึกไม่ออกว่าในฐานะคนตัวเล็กๆ คนนึงในสังคมจะเปลี่ยนแปลงอะไรเรื่องขยะพลาสติกได้บ้าง? และสำหรับผู้ผลิตในระดับมหภาคนั้น เค้ามีมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร . ในเสวนานี้ที่จัดขึ้นที่ Sustainability Expo 2023 ในวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา room โดย คุณ โบซซึ วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการออนไลน์ และเนื้อหาด้านความยั่งยืน จึงขอพาทุกท่านไปร่วมไขความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง และหาคำตอบร่วมกันในประเด็นของปัญหา ขยะพลาสติก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . ซึ่งเรารวบรวมประเด็นมาให้ทุกท่าน เป็นไอเดียให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ว่าเราทำอะไรกับขยะพลาสติกได้บ้าง? ในมุมของคนธรรมดาลงมือทำอะไรได้บ้าง? แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรหากเรามาร่วมกันทำ ไอเดียเหล่านี้อาจทำให้มองเห็นโอกาสต่อยอดขยะพลาสติกให้มีที่ไป เกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยลดการเกิดขยะที่สร้างมลภาวะให้โลก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . . #ภารกิจเรื่องพลาสติกที่ช่วยให้โลกดีขึ้น . แต่ละทีมที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ทุกคนต่างดำเนินงานเกี่ยวข้องกับพลาสติกทั้งสิ้น เริ่มต้นจากห้องวิจัยคิดค้นพลาสติกประเภทใหม่จากวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ วิจัยว่าพลาสติกใช้แล้วนำกลับมาดีไซน์เป็นของชิ้นใหม่ได้อย่างไรอย่างทีม MORE มีทีมที่ทำงานผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกใช้แล้วกลับมาทำใหม่ และทีมที่ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกล่องเครื่องดื่มส่งไปทั่วโลกอย่าง Tetra Pak . ทุกทีมมีภารกิจของตัวเองที่ช่วยให้โลกดีขึ้นผ่านการทำงานกับพลาสติก . […]
INFINITUDE ด้วยวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุด
PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]
โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวยประจำปี 2564
โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปี 2564 ที่ นิตยสารบ้านและสวน ตั้งใจจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยร่วมงานกับสตูดิโอ Bope ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการ Upcycle สร้างคุณค่าใหม่ให้กลายเป็นโล่รางวัลสีสวยภายใต้รูปสัญลักษณ์ของบ้านที่เรียบง่ายและสวยงามอยู่บนฐานไม้ที่ดูอบอุ่น ตลอดปี 2564 แม้จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับคนทำงานในทุกวงการ รวมถึงการออกแบบก่อสร้างบ้านที่อาจต้องล่าช้าหรือหยุดชะงักไปบ้าง แต่เราก็ยังได้เห็นบ้านหลายหลังที่สร้างเสร็จพร้อมให้เจ้าของบ้านได้เข้าอยู่และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยอยู่ในบ้านหลังใหม่ เช่นเดียวกับอีกหลายสวนที่ทั้งรีโนเวตและจัดแต่งใหม่เพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวให้เจ้าของบ้านได้ออกมาคลายความอึดอัดกัน นั่นทำให้เรามีบ้านน่าอยู่และสวนสวยๆ มานำเสนอผ่านหน้านิตยสารบ้านและสวน room และหนังสือจากสำนักพิมพ์บ้านและสวน ตลอดจนเว็บไซต์บ้านและสวนได้อย่างต่อเนื่อง และเช่นเคยเหมือนทุกปีที่เราจะคัดสรรบ้านและสวนที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อมอบรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย โดยปี 2564 นี้ยังแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงเรื่องราวพิเศษของบ้านและสวนนั้นๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น เพื่อมอบความประทับใจให้เจ้าของบ้าน เจ้าของสวน และผู้ออกแบบที่ได้รับรางวัลในปีนี้ เรายังได้จัดทำโล่รางวัลพิเศษขึ้นมาภายใต้แนวคิดของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยร่วมกับคุณโบ-เปมิกา สุคีตาและคุณตื้อ-ศุภฤกษ์ ทาราศรีคู่หูนักออกแบบจาก Bope สตูดิโอในจังหวัดเชียงใหม่ที่มุ่งมั่นผลิตงานแบบ Upcycle โดยเน้นใช้ขยะพลาสติกที่เหลือทิ้งและไม่สามารถกลับคืนสู่อุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดพลาสติกได้ เพื่อสร้างคุณค่าของพลาสติกให้กลับมาหมุนเวียนอยู่ในวิถีชีวิตอีกครั้ง “พลาสติกที่เรานำมารีไซเคิลเป็นพวกพลาสติกแข็ง อย่างฝาขวดน้ำ ถัง กะละมัง ขวดแชมพู และก็ยังมีถุงพลาสติก […]
เจาะลึกปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล กับ ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ
ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีส่วนก่อปัญหานี้แค่ไหน ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่ และมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันบ้างไหม? วันนี้ room หาคำตอบมาให้แล้ว ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เป็นอีกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเพราะภาพข่าวของสัตว์ทะเลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายยากเหล่านี้ ภาพของเกาะขยะกลางทะเลขนาดใหญ่เท่าประเทศย่อม ๆ หรือแม้แต่ไมโครพลาสติกที่กลับมาสู่คนเมืองในรูปการปนเปื้อนทางอาหาร แต่ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากที่ใด เรามีส่วนกับการก่อปัญหานี้มากแค่ไหน และเราจะมีแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขได้ปัญหานี้ได้อย่างไร วันนี้ room จึงได้มาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงอย่าง ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ หัวหน้า หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล (Marine Plastics Abatement หรือ MPA) คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (SERD) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาอธิบายและไขข้อสงสัยให้กับเราอย่างหมดเปลือก ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล ปัญหาที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด room : ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกับใครบ้าง? ศ.ดร.ธรรมรัตน์ : “จริง ๆ ปัญหาขยะทางทะเล ไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมในทะเลอย่างเดียว มีการศึกษาว่า 80% นั้นมาจากขยะบนบกแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัญหาขยะทางบกก่อนแล้วไหลลงสู่ทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศในทวีปเอเชียนั้นเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก” room […]