© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนโดยไม่ถูกกาลเวลาทำลาย เช่นเดียวกันกับ ‘บ้าน’ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย จนเกิดการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านแบบเราจึงอยากซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาใหม่และน่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร วันนี้เราจึงมีแนวทางมาฝาก! 1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น […]
ระเบียงมีพื้นที่เหลือไม่ได้ใช้ สามารถต่อเติมเป็นห้องได้หรือไม่และทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย
ตามพิธีกรสุดหล่ออารมณ์ดีทั้ง 2 คน ไปสร้าง โรงเรือนขนาดเล็ก สำหรับปลูกแคคตัสไว้ป้องกันน้ำฝนไม่ให้โดนต้นแคคตัสจนเน่าตาย ในพื้นที่เล็กๆ ข้างบ้าน
The Editors ทำเนียบกองบรรณาธิการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน ที่พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ ให้ไอเดีย เคลียทุกคำถาม ไขปัญหาคาใจในบ้าน และสวนของคุณ ร่วมด้วยการเสนอแนะแง่มุมน่าสนใจ สถานการณ์ที่กำลังได้รับการจับตา
จากคราวก่อนที่เราได้นำ “เฉลียงบ้านในแบบต่างๆ” มาฝากชาวบ้านและสวนกัน วันนี้เราก็มีแบบต่อเติมเฉลียงสวยๆมาฝากชาวบ้านและสวนกันอีกแล้ว...
ฉบับนี้ “เก่าไปใหม่มา” ยังคงอยู่กันที่บ้านของ คุณนพ - นพพันธ์ ตั้งกัลยานนท์ และคุณติ๊ก - พันธิตรา เกียรตินิยมศักดิ์...
สร้างพื้นที่นั่งเล่นที่อยู่ระหว่างมุมฉากของตัวบ้านเป็นเฉลียงสีขาวสไตล์วินเทจ...
ออกแบบแนวรั้วบังสายตาเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้พื้นที่ภายในบ้านแต่ยังสามารถเปิดให้