ต้นไม้ให้ร่มเงา
รวมต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ เป็นที่เคารพและนิยมปลูกมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ธรรมะและธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวที่อยู่คู่กันมาเสมอ หากใครที่ได้ศึกษาพุทธประวัติคงพอทราบว่าในสมัยพุทธกาล สถานที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาส่วนใหญ่เกิดขึ้นใต้ต้นไม้ใหญ่ ในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนานี้เราจึงขอรวบรวม ต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ ที่มีความสิริมงคลและเป็นที่เคารพสักการะ อีกทั้งยังนิยมปลูกในบ้านหรือสถานที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบางต้นอาจมีชื่อพ้องกับต้นไม้ชนิดอื่นจนหลายคนเข้าใจผิด ต้นสาละอินเดีย ต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ ที่พบมากบริเวณประเทศอินเดียและเนปาล เมื่อถึงฤดูแล้งที่อากาศหนาวเย็นจะทิ้งใบและออกดอกหอมทั้งต้นคล้ายต้นพยอม (ขอขอบคุณภาพ จาก Geeta Samant ) 1.ต้นสาละอินเดีย ชื่อวิทยาสตร์ Shorea robusta Roxb. วงศ์ DIPTEROCARPACEAE ตามพุทธประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์การประสูติและดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าไว้ว่าเกิดขึ้น ณ ใต้ต้นสาละ โดยประสูติใต้นต้นสาละต้นเดี่ยวและปรินิพพานใต้ต้นสาละคู่ หากแต่เป็นต้นสาละอินเดีย ซึ่งมีความแตกต่างกับต้นสาละลังกาที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันและนิยมปลูกในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง แม้ว่ารูปทรงของดอกสาละลังกาจะคล้ายคลึงกับดอกบัวที่อาจเกี่ยวข้องกับการดําเนินได้ 7 ก้าวหลังการประสูติก็ตาม เหตุที่แน่ใจได้ว่าสาละลังกาไม่ใช่ต้นไม้ชนิดเดียวกับต้นสาละในพุทธประวัติอย่างแน่นอน ก็เพราะต้นสาละลังกา (Couroupita guianensis Aubl.) มีถิ่นกําเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวโปรตุเกสเป็นผู้นํามาเผยแพร่ในประเทศศรีลังกาในช่วงปี พ.ศ.2424 ก่อนที่จะแพร่มายังประเทศไทยในเวลาต่อมา สาละลังกาจึงไม่ใช่ต้นไม้พื้นถิ่นที่สามารถเจริญเติบโตในสวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล หรือกรุงกุสินารา ประเทศอินเดีย เมื่อสองพันกว่าปีก่อนอย่างแน่นอน ต้นสาละอินเดีย อยู่ในวงศ์เดียวกับต้นพะยอมและต้นรังของบ้านเรา มีจุดเด่นคือดอกที่ออกเป็นพวงสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ปัจจุบันยังสามารถพบเห็นได้ในป่าและสวนรอบสังเวชนียสถาน อย่างไรก็ตาม ทั้งต้นสาละอินเดียและต้นสาละลังกาต่างเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาและมีความสวยงามเฉพาะตัว หากแต่ควรมีการให้ความรู้และประวัติความเป็นมาที่ถูกต้อง […]
จามจุรี
ก้ามปู/ฉำฉา/ตุ๊ดตู่/Rain tree/East Indian walnut/Monkey pod ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia saman (Jacq.) Merr. วงศ์: FABACEAE ประเภท: ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ ความสูง: 15-20 ม. ทรงพุ่ม: เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้าง กิ่งก้านขนาดใหญ่ ทรงพุ่มทึบ ลำต้น: โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกลำต้นสีเทาดำ หนา ขรุขระแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็กใหญ่ไม่เป็นระเบียบ ระหว่างร่องเปลือกที่แตกมีสีขาวขุ่นนุ่มคล้ายไม้ก๊อก ใบ: ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีใบย่อย 4-6 คู่ ออกตรงกันข้าม ใบย่อยรูปไข่ รูปรีหรือขอบขนาน บ้างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบด้านหลัง ใบเรียบสีเขียวเข้ม ด้านท้องใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุม ก้านใบและใบอ่อนมีขนนุ่มปกคลุมทั่วไป ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งขึ้น ก้านช่อดอกยาว 3-7 ซม. มีดอกจำนวนมาก ดอกวงนอกของช่อเล็กกว่าดอกวงใน กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมชมพูติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 6-8 แฉก […]