ออกแบบพื้นสวนให้น้ำซึมผ่าน ลดปัญหาน้ำท่วมขัง

ทุกครั้งที่คิดจะสร้างสิ่งก่อสร้างอย่างพื้นลานไว้ใช้งานต่างๆในสวน อย่าลืมคิดเผื่อเรื่องการระบายน้ำออกจากพื้นที่ด้วย – ออกแบบพื้นคอนกรีตให้มีช่องว่างเพื่อปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาหรือปลูกหญ้าในรูปแบบต่างๆ เช่น เป็นแถบยาว วงกลม หรือรูปอิสระอื่นๆ หรือตัดพื้นคอนกรีตให้เป็นช่องขาดออกจากกันแล้วใส่กรวดเพื่อช่วยให้น้ำซึมผ่านลงในดินได้ – ทำลานพักโดยใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จขนาดพอเหมาะ, แผ่นทางเดินคอนกรีต หรือวัสดุอื่นๆ อย่าง แผ่นหินต่างๆ มาวางเชื่อมต่อชิดกัน ควรให้น้ำไหลซึมลงตามรอยต่อได้ หรืออาจใช้วิธีปูแผ่นคอนกรีตแล้วเว้นช่องเพื่อปลูกหญ้าหรือไม้คลุมดินเล็กๆ หรือใส่กรวด สลับกันไปจนเต็มพื้นที่ – สำหรับบริเวณที่ต้องการใช้งานหนัก เช่น จอดรถ หรืองานสาธารณะ อาจใช้บล็อกปูหญ้า (turf block) ซึ่งเป็นบล็อกซีเมนต์ที่เว้นช่องไว้ปลูกหญ้าปูต่อเนื่องกัน พื้นแบบนี้มีอัตราการซึมน้ำได้ดี – เลือกใช้วัสดุปูพื้นที่น้ำซึมลงไปได้ เช่น บล็อกคอนกรีตพรุน หรือคอนกรีตพรุนผสมเสร็จ คอนกรีตพรุน (Porous Concrete) ความพรุนของคอนกรีตทำให้น้ำซึมผ่านลงไปได้ น้ำไม่ขังเนืองนองอยู่บนพื้นผิวเหมือนคอนกรีตทั่วไป  มีทั้งเป็นแผ่นสำเร็จที่เป็นก้อนบล็อกปูพื้น และสั่งแบบผสมสำเร็จมาเทในพื้นที่ที่ต้องการได้ ต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่ระบายน้ำได้ดีจะมีระบบรากที่แข็งแรง ที่สำคัญ อย่าลืมเว้นพื้นที่ด้านข้างของพื้นลานแข็งไว้ปูหญ้าหรือปลูกต้นไม้ด้วย นอกจากต้นไม้ให้ร่มเงา ยังช่วยลดแสงสะท้อน รากของต้นไม้ช่วยดูดซับน้ำอีกด้วย อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ  Hardscape สิ่งก่อสร้างและงานระบบ  ผู้เขียน ขวัญชัย จิตสำรวย   […]

เคล็ด(ไม่)ลับเทคนิคดูแลสวนช่วงฤดูฝน

ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้ง หลายๆคนชื่นชอบฤดูนี้เป็นพิเศษ เพราะมีบรรยากาศสดชื่นเย็นสบาย ต้นไม้ในสวนได้รับน้ำอย่างเต็มที่ ทําให้เจ้าของไม่ต้องเสียเวลารดน้ำเองทุกวัน แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือความเฉอะแฉะที่มาพร้อมกับน้ําฝน ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกสบายหลายอย่าง โดยเฉพาะเมื่อฝนตกในปริมาณมากก็อาจทําให้บางพื้นที่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังรอระบายรวมถึงต้นไม้ในสวนสวยที่เฝ้าดูแลประคบประหงมมาอย่างดีอาจเกิดความเสียหาย…เละไม่เป็นท่าดูแลสวนช่วงฤดูฝน ปัญหาของคนรักสวนที่มักประสบกันในช่วงฤดูฝนก็คือต้นไม้มีอาการรากเน่าเฉาตายเนื่องจากน้ําขังแฉะในกระถางหรือแปลงปลูกเป็นเวลานาน หญ้าในสนามโตเร็วเร่งวันเร่งคืน โดยเฉพาะวัชพืชที่ต้องหมั่นตัดหรือถอนออกไม่ให้รกเรื้อ หรือหากมีลมแรงๆพัดเข้ามาร่วมด้วยก็อาจทําให้ต้นไม้หักโค่น กิ่งก้านเสียหายได้เป็นต้น แน่นอนว่าห้ามไม่ให้ฝนตกคงทําไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องเตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งมีเทคนิคง่ายๆในการดูแลสวน ดังนี้ หมั่นกําจัดวัชพืช วัชพืชจะเจริญเติบโตได้อย่างเริงร่าเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝนโดยจะขึ้นปกคลุมต้นไม้ในสวน แย่งทั้งแสงแดดและอาหารทําให้ต้นไม้อ่อนแอ แถมยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อราซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคพืชต่างๆ รวมทั้งเป็นที่อยู่ที่หลบซ่อนของแมลง สัตว์ศัตรูพืชอย่างทาก หอยทาก และสัตว์มีพิษต่างๆได้ นอกจากนี้หากปล่อยให้วัชพืชโตเกินไปจะทําให้ยิ่งกําจัดได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงด้วย ตัดแต่งกิ่งให้เรียบร้อย การตัดแต่งกิ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญในการดูแลต้นไม้ เพราะนอกจากทําให้ได้ทรงพุ่มที่สวยงามแล้ว ยังช่วยกําจัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ โดยการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งตา ตัดกิ่งที่แห้งตายหรือกิ่งที่เป็นโรคทิ้งไป และตัดแต่งให้เข้ารูปทรงตามที่ต้องการ การตัดแต่งควรทําก่อนเข้าฤดูฝน เพราะต้นไม้จะแตกยอดใหม่อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับน้ําฝน โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกในบริเวณบ้านต้องตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อเปิดช่องแสงให้บริเวณโคนต้นไม่ชื้นแฉะหรือเป็นบ่อเกิดของเชื้อราและโรค–แมลง อีกทั้งหากกิ่งทึบมากเกินไป เมื่อฝนตกหนักหรือเกิดพายุลมกระโชกแรงอาจทําให้กิ่งไม้ฉีกขาดและหัก จนเกิดอันตรายต่อตัวบ้านหรือสมาชิกในบ้านได้ สําหรับไม้ประดับรั้วและรั้วต้นไม้ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งที่ยื่นยาวออกให้คงอยู่ในขอบเขตที่กําหนดอย่างสม่ําเสมอ เช่น ในฤดูร้อนและฤดูหนาวเว้นระยะในการตัดแต่งห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนในฤดูฝนที่ต้นไม้โตเร็ว อาจต้องตัดแต่งบ่อยขึ้น ประมาณ 10 วันต่อครั้ง ป้องกันน้ำท่วมขังแฉะโคนต้นไม้ ขั้นแรกต้องเตรียมดินปลูกที่ร่วนซุยระบายน้ําดี หากปลูกต้นไม้ลงดินให้พรวนดินรอบทรงพุ่มเพื่อให้ดินโปร่ง มีช่องว่างให้น้ําซึมลงได้ลึก ป้องกันน้ําขังบริเวณโคนต้นโดยปรับเนินดินหรือทําร่องให้น้ําระบายออกจากโคนต้นได้เร็วที่สุด […]