- Home
- บ้านโมเดิร์น
บ้านโมเดิร์น
บ้านชั้นเดียวทรงกล่อง สะท้อนธรรมชาติ
บ้านชั้นเดียวทรงกล่อง สี่เหลี่ยมหลังเล็กๆ 2 หลัง มีผนังเป็นกระจกใสรอบตัวเพื่อให้กระจกเชื่อมโยงธรรมชาติภายนอกเข้ามาสู่ภายในบ้าน
บ้านเดี่ยวท่ามกลางขุนเขาของคู่รักที่ฝันจะมีบ้านวัยเกษียณ
บ้านวัยเกษียณ ของคู่รักที่ฝันอยากมีบ้านกลางป่า โดยเน้นเป็นอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตร หาได้ในพื้นที่ และเข้ากับสภาพแวดล้อม
ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา
บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]
บ้านโมเดิร์นที่หลอมรวมคน 2 รุ่น 2 สไตล์
การอยู่ร่วมกันไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง รุ่นพ่อแม่ชอบคลาสสิก รุ่นลูกชอบมินิมัล ได้หลอมรวมกันเป็น บ้านโมเดิร์นสีขาวทรงกล่อง ที่มีเอกลักษณ์ ผลลัพธ์การออกแบบบ้านของ WARchitect โดย คุณวิน – ธาวิน หาญบุญเศรษฐ ที่ใช้ดีไซน์มาแก้ปัญหาของที่ดินและความแตกต่างได้อย่างน่าสนใจ จากความตั้งใจแรกเริ่มของครอบครัวที่อยากสร้างบ้านสองหลังสำหรับคุณพ่อคุณแม่ใกล้เกษียณที่ชื่นชอบสไตล์คลาสสิก และอีกหลังแนวมินิมัลสำหรับลูกที่เริ่มเขาวัยทำงาน ด้วยขนาดที่ดินกว่า 1 ไร่ ก็น่าจะเป็นไปได้ แต่บริเวณนั้นอยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมีกฎหมายห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้าง และต้องมีเว้นระยะห่างจากแนวสายไฟ จึงทำให้เหลือที่ดินสำหรับสร้างบ้านไม่มากอย่างที่คิด อีกทั้งการสร้างบ้านต่างสไตล์แบบสุดขั้วใกล้กันไม่ใช่ทางเลือกที่ดี สถาปนิกจึงนำเสนอให้รวมบ้านสองหลังให้เป็นหลังเดียว และหลอมรวมสองสไตล์เข้าด้วยกันแบบมีชั้นเชิง เป็นที่มาของ บ้านโมเดิร์นสีขาวทรงกล่อง ที่ใช้รูปแบบการย่อมุมแบบคิ้วบัวของสถาปัตยกรรมคลาสสิกที่ลดทอนรายละเอียดเข้ามาผสมผสาน ผสานวัย ผสานสไตล์ บ้านโมเดิร์นสีขาว สองชั้นบนพื้นที่ 650 ตารางเมตรได้ออกแบบฟังก์ชันภายในบ้านแยกจากกันเสมือนเป็นบ้านสองหลัง แต่ยังเชื่อมโยงกันด้วยการออกแบบทางภาษาสถาปัตยกรรมให้ผสมผสานความชอบของทั้งสองรุ่น ระหว่างสไตล์คลาสสิกกับมินิมัล โดยสถาปนิกแปลความคลาสสิกของคุณพ่อคุณแม่ด้วยการมีแพตเทิร์นคิ้วบัว ความสมดุล และหรูหรา ส่วนความมินิมัลของลูกคือ บ้านสีขาว ทรงเหลี่ยมๆ ใช้ไม้สีอ่อน และตกแต่งด้วยผ้าที่มีเท็กซ์เจอร์อย่างผ้าลินินที่ได้ฟีลคาเฟ่หรือร้านอาหารญี่ปุ่น จึงนำคาแร็กเตอร์เหล่านี้มาออกแบบองค์ประกอบ เกิดเป็นการย่อมุมของเฟรมสีขาวทั้งฝ้าและผนังให้ความรู้สึกสง่างามและเรียบง่ายไปพร้อมๆกัน ในความเรียบนิ่งของสีขาวกลับแสดงมิติของแสงเงาที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างชัดเจน หลังบ้านคือหน้าบ้าน เนื่องจากด้านตามยาวของบ้านหลังนี้วางขนานกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งจะปะทะกับแสงแดดตลอดทั้งวัน โดยฝั่งทิศตะวันออกจะเป็นฝั่งที่ติดถนน สถาปนิกจึงออกแบบให้เป็นผนังทึบทั้งหมดเสมือนว่าเป็นหลังบ้าน ให้ความรู้สึกลึกลับคล้ายกับมิวเซียม ส่วนด้านหลังบ้านที่หันไปทางทิศตะวันตกจะเชื่อมต่อกับสนามหญ้าขนาดใหญ่ […]
CASCADING HOUSE บ้านคอนกรีต หล่อพร้อมสวน 3 ระดับ
บ้านคอนกรีต ดีไซน์โมเดิร์นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบบ้านเพื่อเอาชนะความลาดชันของที่ดิน พร้อมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการอยู่อาศัย ด้วยแทรกพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนและนำพาแสง-ลมเข้าสู่บ้าน บ้านคอนกรีต กับการออกแบบบ้านตามระดับความลาดชันของที่ดิน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนนหน้าบ้านลงไปถึง 5 เมตร ขณะที่ที่ดินของบ้านก็มีความแตกต่างกันถึง 3 เมตร แทนที่จะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากไซต์ บ้านหลังนี้กลับเน้นการออกแบบให้กลมกลืนไปกับภูมิประเทศของไซต์ ด้วยการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานของบ้านให้มีลักษณะแบบลดหลั่นกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบมาให้สำหรับคู่รักหนุ่มสาวที่มีลูกเล็ก ๆ 2 คน พร้อมโจทย์ที่อยากให้บ้านมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์เรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจาก Tamara Wibowo Architects ได้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยพื้นที่ต้อนรับ และโรงรถซึ่งถูกวางไว้ที่ระดับสูงสุดของไซต์ แล้วจึงค่อยเป็นพื้นที่นั่งเล่น และรับประทานอาหารที่วางอยู่ตรงกลาง และระดับต่ำสุดคือ ตำแหน่งห้องนอน 4 ห้อง ที่จัดเป็น 2 ระดับ มวลอาคารทั้ง 3 ระดับจึงดูลดหลั่นกันลงมาตามไซต์ เรียกง่าย ๆ คือความสูงของมวลห้องนอนจึงเท่ากับมวลพื้นที่พักผ่อนของบ้านนั่นเอง แม้จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตหนาหนัก แต่ก็ไม่ลืมออกแบบพื้นที่สีเขียวไว้ด้วย เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้หย่อนใจ และพักสายตาไปกับสวนที่แทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทั้ง 3 ระดับ เช่น […]
นั่งเล่นไม่พึ่งแอร์ใน บ้านมินิมัลชั้นเดียว
ชีวิตมีอะไรให้เซอร์ไพรซ์เสมอ …จากแปลงที่ดินข้างบ้าน ซึ่งออกแบบไว้เป็นบ้านผู้สูงอายุให้คุณพ่อ กลายมาเป็น บ้านมินิมัลชั้นเดียว ของตัวเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects เปลี่ยนแผน จากบ้านพ่อสู่บ้านของตัวเอง เดิมทีบ้านของคุณดอน-ไกรพล ชัยเนตร และภรรยาคุณอุรัสสา ชัยเนตรนั้น มีจุดเริ่มต้นจากต้องการสร้างบ้านสำหรับคุณพ่อของคุณดอนซึ่งไม่ค่อยสบาย โดยใช่ที่แปลงสนามหญ้าด้านข้างของบ้านหลังเดิมเป็นทำเลที่ตั้ง บ้านจึงออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียว มีทางลาด และพื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ตรงกลางเพื่อพักผ่อน แต่เมื่อสร้างเทปูนไปได้สักพัก แผนการทั้งหมดก็เปลี่ยนไป เนื่องจากคุณพ่อคุ้นชินกับห้องเดิมในบ้านเก่าซึ่งใช้เป็นห้องพักแล้ว จึงไม่มีการย้ายมาแต่อย่างใด คุณดอนซึ่งเป็นสถาปนิกโดยอาชีพอยู่แล้ว จึงต้องปรับรูปแบบบ้านเสียใหม่เพื่อให้สอดรับกับการใช้งานของตนตามโครงสร้างเดิม ง่ายเหมือนเด็กวาด แต่มีรายละเอียด แนวคิดที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้วคือ การออกแบบบ้านอย่างไรให้กลมกลืนไปกับบ้านหลังเก่า รูปแบบบ้านจั่ว สีขาว จึงเป็นความตั้งใจแรกในการออกแบบ และเพิ่มแนวคิดที่ต้องการให้อาคารดูง่ายๆ เหมือนภาพที่เด็กๆ วาด ก็เกิดขึ้นตามมา ส่วนหนึ่งเพื่อให้ดูไม่ขัดตากับบ้านหลังโดยรอบที่ยังบ้านของญาติๆ ในบริเวณใกล้ๆ กัน ซึ่งใช้สถาปนิกคนเดียวกันกับบ้านของคุณพ่อเมื่อ 40 ปีที่แล้วด้วย และส่วนหนึ่งเพรืคุณดอนเติบโตมาในบ้านหลังเดิมตั้งแต่เล็ก เป็นเสมือนตัวแทนบ้านในสมัยเด็กๆ ที่วาดเล่น ให้กลายมาเป็นบ้านจริงได้เมื่อโตขึ้น แต่การสร้างบ้านให้มีรูปทรงง่ายๆ เหมือนเด็กวาดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากต้องรับมือกับแดดฝนที่แรงเพราะจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่ดี การป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน การได้รับแสงที่พอเหมาะ วิวสวนที่ได้รับ […]
บ้านโมเดิร์นสีดำ อยู่สบายในอ้อมกอดขุนเขา
บ้านโมเดิร์นสีดำ ที่เชื่อมสเปซบ้านและธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน คำนึงถึงความสบายในการอยู่อาศัย และสะสมผลงานของ มุราคามิ ศิลปินป็อปอาร์ตที่เห็นแล้วต้องว้าว จากเด็กที่คิดว่าตัวเองชอบทะเล แต่พอมีบ้านริมทะเลก็ไม่ค่อยได้ไป ครั้นมีโอกาสมาทำงานที่เขาใหญ่กลับตกหลุมรักกลิ่นดินกลิ่นหญ้าที่เปื้อนน้ำค้างยามเช้า และถูกใจที่ดินท้ายโครงการซึ่งอยู่ห่างจากเขตอุทยานฯ แบบเดินไปยังไม่ทันเหนื่อยก็จะเห็นฝูงสัตว์มากินน้ำในบึงธรรมชาติชายป่า คุณเจ๋อ – ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และ คุณหญิง – มยุรี จิตรกร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัทเซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คู่ชีวิตที่อยู่เคียงกันอย่างไม่ขาดเสียงหัวเราะต่างประทับใจในบรรยากาศแสนสงบ จึงสร้าง บ้านโมเดิร์นสีดำ เป็นบ้านตากอากาศ โดยตั้งชื่อว่า “Black Box in the Jungle” และให้ Anupap Design Practice Co.,Ltd เป็นผู้ออกแบบ โดย คุณก้อง – อานุภาพ อ่อนสะอาด Design […]
DM HOUSE บ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิต คำนึงเรื่องแสงและลม พร้อมดีไซน์จับคู่สีสุดลงตัว
บ้านโมเดิร์น ดีไซน์น่ารัก มาพร้อมโจทย์ของการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เหมาะกับการอยู่อาศัย ทั้งการหลบเลี่ยงแสงแดด แต่พร้อมเปิดพื้นที่เพื่อต้อนรับลมและอากาศธรรมชาติได้เต็มที่ บ้านโมเดิร์น หลังนี้ ตั้งอยู่ที่ประเทศสเปน ออกแบบโดย Horma – estudio de arquitectura เด่นด้วยการนำรูปทรงเรขาคณิตมาใช้เป็นลูกเล่นให้กับบ้าน ทั้งยังใช้แผ่กระจายสเปซใช้งานที่หลากหลาย ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ทั้งตอบโจทย์และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว โปรเจ็กต์นี้ออกแบบตามทิศทางที่เหมาะสม โดยตั้งใจเปิดพื้นที่ของบ้านให้หันไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อปกป้องตัวเองจากดวงอาทิตย์ทางทิศตะวันตก ขณะที่ทิศเหนือเป็นตำแหน่งของห้องนอน ซึ่งเป็นทิศที่ไม่มีแสงแดดมารบกวน การใช้งานพื้นที่ถูกแบ่งให้แต่ละโซนมีความต่อเนื่องเชื่อมกัน ชั้นล่างใช้สำหรับรับแขก พักผ่อน และนันทนาการ ขณะที่อาคารส่วนหลัง คือพื้นที่สำหรับพักผ่อนที่มีความเป็นส่วนตัว ซึ่งถูกแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ดีเทลการออกแบบที่สำคัญอีกอย่าง นั่นคือกับจับคู่สีระหว่างผนังสีขาวกับผนังกรุกระเบื้องเซรามิกสีแดง ที่ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ทั้งภายใน-ภายนอก ผสมกับเฟอร์นิเจอร์ไม้เมเปิ้ลและไม้เชอร์รี่ ที่ปรากฏอยู่ในแต่ละส่วนของสถาปัตยกรรม ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้เกิดบรรยากาศรวมถึงสีสันที่ลงตัว ออกแบบ : Horma – estudio de arquitectura (https://hormaestudio.com/)Nacho Juan, Clara Cantó, Jose Iborra, Ana Riera, Belén Iglesias, Andrés […]
บ้านชั้นเดียวสีขาว ที่อยู่สบายกับธรรมชาติ
บ้านชั้นเดียวสีขาว ที่วางผังเรียบง่ายในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อเปิดมุมมองของทุกห้องให้เชื่อมต่อออกไปสู่วิวธรรมชาติโดยรอบ และยกใต้ถุนเพื่อให้ลมพัดผ่านสบาย
NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน
“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]
3X3 RETREAT บ้านเล็ก เท่าแมวดิ้น! แต่อยู่สบายกลางป่าใหญ่
ใครจะเชื่อว่าพื้นที่ 3×3 เมตร จะสามารถสร้างบ้านหนึ่งหลังได้ Estudio Diagonal สถาปนิกจากประเทศชิลี ได้ออกแบบบ้านน้อยกลางสวนป่าสำหรับอยู่อาศัยในพื้นที่น้อย แต่สัมผัสธรรมชาติได้ชนิดที่เรียกได้ว่า “อย่างเยอะ” 3×3 Retreat เป็นบ้านพักกึ่งตากอากาศที่แบ่งเป็นพื้นที่นอกชาน และพื้นที่ภายในบ้านขนาดสองชั้น ชั้นล่างใช้พื้นที่ชานบ้านแทนพื้นที่รับแขก ทุกคนที่มาที่บ้านจะได้รับบรรยากาศธรรมชาติเต็มตา ณ ห้องรับแขกเอ๊าต์ดอร์แห่งนี้ ถัดเข้ามาภายในเป็นพื้นที่สำหรับครัว และStorage เมื่อปีนบันไดลิงขึ้นสู่ชั้นบน ในส่วนนี้จะเป็นเหมือนกับพื้นที่ส่วนตัวที่มีทั้งห้องนอน และห้องน้ำ เรียกได้ว่าครบทุกองค์ประกอบที่บ้านควรจะต้องมีเลยทีเดียว ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการทำบ้าน “เล็กแบบพอดีอยู่” ที่ใครจะนำไปใช้กับบ้านสวนของตัวเองก็ไม่ขัด แต่พออายุมากแล้ว อาจจะปีนขึ้นไปนอนยากสักหน่อย อันนี้ก็คงต้องปรับไปตามสังขารกันอีกที ออกแบบ : Estudio Diagonalภาพ : Nicolás Saiehเรียบเรียง : Wuthikorn Sut
HOUSE BETWEEN THE WALL บ้านระหว่างกำแพงในสไตล์มินิมอล
บ้านมินิมอล ของคู่รักนักออกแบบที่หลงรักในความเรียบน้อยและเน้นบ้านอยู่อาศัยที่ให้ความเป็นส่วนตัว จึงออกมาเป็นบ้านที่อยู่ระหว่างกำแพงสองผืนที่ช่วยตัดออกจากความวุ่นวายของเมือง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A House Between the Wall นั้นไม่ได้เป็นเพียงชื่อบ้าน แต่ยังเป็นแนวความคิดในการออกแบบบ้านที่เลือกให้ ‘กำแพง’ เป็นมากกว่าผนังขนาดใหญ่ที่ปิดกั้นเส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวออกจากโลกที่วุ่นวายด้วยการสร้างสเปซขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้สเปซดังกล่าวกลายเป็น ‘บ้านระหว่างกำแพง’ ภายใต้รูปทรงทางสถาปัตยกรรมในลุค บ้านมินิมอล และตรงไปตรงมา แต่ทว่าก็ซุกซ่อนรายละเอียดของการออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างใส่ใจ ที่นี่สถาปนิกสร้างความน่าสนใจให้ในแต่พื้นที่ ด้วยการเลือกใช้วัสดุและเฟอร์เจอร์ เช่น พื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารและครัว ผนังเคาน์เตอร์กรุด้วยไม้อัด HMR นำมาเคลือบ PU แล้วนำมากรุเป็นตารางหมากรุก หรือเคาน์เตอร์สเตนเลสสั่งทำพิเศษ นอกจากนั้นยังตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ในสไตล์ยุค Mid Century ที่ทั้งคู่สะสมไว้ บ้านระหว่างกำแพงหลังนี้ออกแบบโดย คุณธนัทเกียรติ จงเกรียงไกร และ คุณกนกกาญจน์ เฮงอุดมทรัพย์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง ANATOMY ARCHITECTURE + ATELIER ซึ่งนอกจากออกแบบแล้ว ทั้งคู่ยังเป็นเจ้าของบ้านอีกด้วย […]