บ้านใต้ถุนสูง
บ้านใต้ถุนสูง ริมคลอง ความสุขตามวิถีชีวิตแบบไทย
เป็นความฝันของครอบครัวเราที่อยากมี บ้านสวนริมคลอง ที่อยู่เย็นเป็นสุขตามวิถีชีวิตคนไทย ทุกวันนี้เราได้ฟังเสียงนกยามเช้า ชมแสงดาวยามค่ำคืน
เฮือนธรรม บ้านใต้ถุนสูง พื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น
จุดเด่นของ บ้านใต้ถุนสูง เฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้
แบบบ้านใต้ถุนสูง ในแบบฉบับกลิ่นอายไทยร่วมสมัย
แบบบ้านใต้ถุนสูง ที่ก่อร่างจากความสุขในการทำสวนหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างดีๆของงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นที่ยังคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติได้อย่างแท้จริง
สงบร่มรื่นใน บ้านใต้ถุนสูง สไตล์ไทยอีสาน
บ้านใต้ถุนสูง บรรยากาศอันร่มรื่นของแมกไม้และสไตล์บ้านที่ดูสงบและสวยงามเป็นอย่างมาก นี่คือบ้านไทยอีสาน ประยุกต์ที่ดูร่วมสมัย ผสมกลิ่นอายเรือนไทยและจังหวะสนุกๆของครอบครัว
ชีวิตริมน้ำใน บ้านใต้ถุนสูง
บ้านใต้ถุนสูง พักอยู่ริมแม่น้ำที่สวยแบบไทยร่วมสมัยนับเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคนที่ต้องการเอาไว้พักผ่อนในวันว่าง เหมือนเช่นบ้านสวยหลังนี้
บ้านน่าอยู่ โอบล้อมด้วยขุนเขา
เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณปวริศร์ – คุณสุรีย์ สุทธิสาร บ้านน่าอยู่ ไม่แปลกที่ธรรมชาติแห่งขุนเขาและกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า รวมถึงสายลมอันบริสุทธิ์สดชื่นรอบๆเขาใหญ่จะกลายเป็นเหตุผลสำคัญของการบอกลาชีวิตในกรุงเทพฯ แต่เหนืออื่นใดก็คงเป็นเพราะ คุณแนน – สุรีย์ สุทธิสาร ภรรยาคนสวยเป็นคนพื้นถิ่นแถวนี้ ทำให้ คุณปั๊บ – ปวริศร์ สุทธิสาร ตัดสินใจมาสร้างครอบครัวและบ้านพักอาศัยหลังใหม่อยู่ที่เขาใหญ่เป็นการถาวร ระยะเวลาร่วม 8 ปีของการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติสวยๆ เหล่านี้ ยังทำให้คุณปั๊บเกิดแนวคิดที่จะแบ่งปันความสุขด้วยการสร้างโครงการบ้าน 1.618 ขึ้นบนพื้นที่กว่า 42 ไร่ ที่ระดับความสูงประมาณ 430 เมตร ซึ่งมีขุนเขาสูงโอบล้อมรอบทิศทาง แถมด้วยช่องลมธรรมชาติที่รับลมได้ตลอดทั้งปี สำหรับแนวคิดการออกแบบมีจุดเริ่มต้นจากอัตราส่วน 1.618 ที่เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีคิดค้นขึ้นจากสัดส่วนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และกลายเป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์ให้วงการศิลปะและสถาปัตยกรรมนำไปประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดโมนาลิซา วิหารพาร์เธนอน หรือโลโก้ของแบรนด์ Apple กระทั่งมาเป็นอัตราส่วนในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้ให้ลงตัวและงดงาม “ผมอยากสร้างบ้านที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่ให้มากที่สุด ไม่ใช่เอาบ้านจากประเทศไหนๆมาตั้งอยู่ที่เขาใหญ่เฉยๆ เพราะด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกมาก ผมจึงให้ความสำคัญกับหลังคาเป็นอันดับแรก […]
บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ในบรรยากาศแสนสบาย
บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ที่ดัดแปลงจากหลองข้าวเก่า แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ตัวบ้านเปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ
บ้านคือศูนย์รวมใจ
เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]
Tropical House of Phangan มุมสงบแห่งท้องทะเล
เรือเฟอร์รี่เทียบที่ท่าเรือท้องศาลา แดดแรงของพะงันขับทุกองค์ประกอบเมืองให้กลายเป็นเส้นคม ชาวต่างชาติเดินยิ้มแย้มคุยเล่นกันขณะขึ้นจากเรือ หลายคนมาเพื่อร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้อันโด่งดัง สถานที่แห่งนี้ไม่เคยห่างหายจากเสียงอึกทึก แต่…จุดหมายของเรานั้นต่างออกไป เรากำลังจะไปยังอีกฟากหนึ่งของเกาะ ที่ซึ่งมีแต่บ้านเรือนและหาดทรายอันเงียบสงบ เรากำลังจะไปที่อ่าวหินกองกันครับ “จากท้องศาลาให้ขับขึ้นเหนือมาทางซ้ายเลาะริมหาดมาเรื่อยๆพอถึงสามแยกก็เจอเลยจ้ะ” คุณเข็ม – ณฐกร พรหมเจริญ เจ้าของบ้าน บอกทางมาสู่บ้านหลังนี้ทางโทรศัพท์ด้วยสำเนียงแหลงใต้ชัดเจน แต่เราขับเลยไปเล็กน้อยก่อนจะถอยรถกลับมาเพราะความร่มครึ้มของต้นไม้นานาพรรณจนทำให้มองไม่เห็นตัวบ้านนั่นเอง “คุณชาลีชอบสวนรกๆ แน่นๆ คนข้างนอกจะได้ไม่เห็นเรา และยังให้บรรยากาศแบบทรอปิคัลดีนะ นั่นคือสิ่งที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ” “ทรอปิคัล” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย บ้านหลังนี้ต้อนรับธรรมชาติเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดแนวของตัวบ้านนั้นเป็นหน้าต่างและประตูแทบทั้งสิ้น ทุกพื้นที่ในบ้านจึงแนบสนิทกับแมกไม้น้อยใหญ่ได้อย่างลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวรรค์แดนใต้อย่างเกาะตาฮีตีอย่างไรอย่างนั้น สำหรับการออกแบบทางสัญจรในบ้านจะเป็นระเบียงยาวทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้โดยง่าย อันที่จริงบ้านนี้ดูคล้ายรีสอร์ต เพราะคุณเข็มและ คุณชาลี โบเนลโล่ ต้องการให้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของทั้งสองคนและเพื่อนๆ ของคุณชาลีในยามที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน วัสดุในบ้านจะเน้นการใช้ไม้ ทั้งตัวบ้านเองและเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทั้งหลาย ซึ่งก็เข้ากันดีกับการเข้าไม้ในรายละเอียดของส่วนต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่บ้านอยู่ติดทะเล การปล่อยให้งานไม้บางส่วนมีร่องรอยบ้างก็สร้างเรื่องราวและความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง เช่น ร่องรอยบนไม้ระเบียงสระว่ายน้ำที่อยู่ก่อนถึงทางเดินลงหาด “อยู่ที่นี่เหมือนทุกวันเป็นวันพักผ่อน” คุณเข็มกล่าวด้วยรอยยิ้ม “ถ้าเป็นวันปกติเวลาว่างๆ ก็จะชอบนอนดูทะเลอยู่ตรงชานรับแขก […]
บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต
ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]
บ้านไข่แดง เรือนไทยในรูปฟอร์มโมเดิร์น ที่ตั้งใจอยู่กับธรรมชาติอย่างฉันมิตร
บ้านปูน สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ที่นำวิถีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายแบบบ้านเรือนไทยสมัยก่อน ตีความใหม่ในภาษาโมเดิร์นเหมาะกับยุคสมัย กลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ
รวม 7 บ้านโมเดิร์น ใต้ถุนสูง
room รวบรวมไอเดียการสร้าง บ้านโมเดิร์น ใต้ถุนสูง อิงแนวความคิดแบบไทยที่ทำให้บ้านดูทันสมัยขึ้นมาฝากถึง 6 หลัง ตามมาชมเลยครับ
บ้านโมเดิร์นวิถีไทย ออกแบบเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
แม้บ้านจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ทุกชีวิตในบ้านมีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนที่เคลื่อนย้ายอยู่ รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง บ้านหลังนี้จึงออกแบบเพื่อตอบโจทย์นั้น
บ้านโมเดิร์นทรอปิคัล ร่มรื่นในป่าใหญ่
บ้านเล็ก ในป่า หลังนี้ นอกจากธรรมชาติดี ๆ ที่อยู่รายล้อมสมชื่อ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” แล้ว ความสุขที่ได้รับยังห่างไกลจากคำว่า “เล็ก”อีกด้วย
บ้านปูนเปลือย ใต้ถุนสูง ที่รายล้อมด้วยแปลงผัก
บ้านปูนเปลือย ใต้ถุนสูง ที่รายล้อมด้วยแปลงผัก โดยอิงแนวคิดบ้านไทยโบราณซึ่งมีใต้ถุนสูงและพื้นที่นอกชานกว้างขวาง สามารถรับลมได้รอบทิศทาง
“บ้านใต้ถุนสูง” ในสถาปัตยกรรมแบบใหม่
บ้านใหม่เป็นบ้านชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง การออกแบบให้สะท้อนเรื่องราวของตัวอาคารและผู้อยู่อาศัยโดยเจ้าของบ้านก็ยังใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมภายใต้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่