บ้านไทย
บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง
บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้ คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]
บ้านไทยร่วมสมัยใต้ถุนสูง บ้านกึ่งโฮมสเตย์ ชื่อ Baan Lek Villa
บ้านไทยดีไซน์โมเดิร์นร่วมสมัย ใต้ถุนสูง ในจังหวัดจันทบุรี ที่ทำบ้านให้เป็นกึ่งโฮมสเตย์อารมณ์เหมือนบ้านต่างจังหวัด ซึ่งมีทั้งความเรียบง่ายเเละกลมกลืนกับบริบทของที่ตั้งที่คำนึงถึงสภาพอากาศเเสงเเละลม
รู้จักเอกลักษณ์เรือนไทย 4 ภาค เหนือ/กลาง/อีสาน/ใต้
บ้านไทยพื้นถิ่น ในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตามลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันมรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้อาจมีเหลือให้ชมไม่มากนัก มาทำความรู้จักกับเอกลักษณ์ของเรือนไทยแต่ละภาคกัน บ้านไทยพื้นถิ่น คืออะไร ความหมายของ บ้านไทยพื้นถิ่น อาจอ้างอิงได้จากงานเขียนของ Bernard Rudofsky นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ผู้เป็นที่รู้จักผ่านข้อเขียน “Architecture Without Architects: A Short Introduction to Non-Pedigreed Architecture” ซึ่งเป็นตำราเล่มสำคัญของแนวคิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพ.ศ. 2507 ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือ Vernacular Architecture ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ผ่านมือสถาปนิก เช่น หมู่บ้านบ้านดินที่สร้างแฝงไปในภูเขาของชนเผ่าในประเทศแถบแอฟริกา หมู่บ้านใต้ดินของชุมชนในประเทศจีน เต็นท์ของกลุ่มคนพเนจรในทะเลทราย แม้แต่เรือนแพของชุมชนผู้อาศัยบนน้ำในนครเซี่ยงไฮ้ จึงสรุปได้ว่า บ้านไทยพื้นถิ่น คือสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะแปรไปตามสภาพแวดล้อม เกิดจากการหยิบใช้วัสดุใกล้ตัว เเละใช้เทคนิควิธี หรือภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ทั้งยังเป็นตัวแทนบ่งบอกวิถีชีวิตสภาพแวดล้อม การแก้ปัญหา และการปรับตัวของผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นเหตุให้ทุกวันนี้ มีผู้สนใจศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็มีบทบาทในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของคนยุคปัจจุบันมากขึ้นเช่นกัน สำหรับในประเทศไทยนั้น แต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ […]
บ้านสไตล์โมเดิร์น ภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมสระว่ายน้ำและสวนหย่อมมาไว้ใต้ถุน
บ้านโมเดิร์น เหมือนกับที่เจ้าของบ้านบอกสถาปนิกไว้ก่อนสร้าง แบบบ้านไทยโมเดิร์น หลังนี้ว่า “อยากได้บ้านแบบไทยๆ ที่คนไทยอยู่ได้สบาย มีใต้ถุนที่เปิดโล่ง และลมพัดระบายอากาศ..
บ้านไม้ผสมปูน กลางท้องนาที่เงียบสงบ
บ้านไม้ผสมปูน ที่สร้างขึ้นจากไม้เก่าเกือบทั้งหมด เมื่อไม้หมดจึงผสมผนังปูนบางส่วน โดยเน้นออกแบบให้เปิดโปร่งรับลมและชมวิวกลางทุ่งนา
บ้านใต้ถุนสูง ริมคลอง ความสุขตามวิถีชีวิตแบบไทย
เป็นความฝันของครอบครัวเราที่อยากมี บ้านสวนริมคลอง ที่อยู่เย็นเป็นสุขตามวิถีชีวิตคนไทย ทุกวันนี้เราได้ฟังเสียงนกยามเช้า ชมแสงดาวยามค่ำคืน
รวมบ้านที่ได้รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ ประจำปี 2018
กลับมาอีกครั้งกับงานประกาศรางวัล “10 บ้านน่าอยู่” เหมือนเช่นเคย ที่ตลอดปี 2018 ที่ผ่านมานี้ ทั้งนิตยสารบ้านและสวน room และ My Home ได้ไปขอเยี่ยมชม …
รวม 5 บ้านไม้ไทยใต้ถุนสูง เอาใจคนรักบ้านไม้แบบไทยๆ
กลับมาอีกแล้วกับสกู๊ปรวมบ้าน ครั้งนี้เราได้รวบรวมเอาแบบ บ้านไม้ไทยใต้สูง มาฝากกัน 5 หลังด้วยกัน ซึ่งแต่ละหลังนั้นถึงแม้จะเป็นบ้านใต้ถุนสูงเหมือนกันแต่…
บ้านกรอด้าย… บ้านไทย จากความทรงจำในวันวาน
บ้านไทย ในอดีตคนไทยนิยมใช้ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวัน ยุคสมัยหนึ่งโรงงานทอผ้าขาวม้าจึงเฟื่องฟู โดยเฉพาะในพื้นที่แถบภาคกลางอย่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และราชบุรี คือแหล่งผลิตผ้าขาวม้าเนื้อดีส่งขายไปทั่วไประเทศ จนกระทั่งความนิยมใช้ผ้าขาวม้าเริ่มลดลง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Let’s design บ้านกรอด้าย ตั้งอยู่บนถนนอู่ทอง ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา คุณอ้อ-กฤตยา พรรคอนันต์ และ คุณป๊อน-บุณยวัฒน์ สมทัศน์ ตัดสินใจเปลี่ยนที่ดินขนาด 200 ตารางวา ให้กลายเป็นที่พักขนาด 6 ห้อง เล็กกำลังดีที่จะดูแลกันเองไหว ภายในห้องพักแสนเรียบง่ายแต่ก็อยู่สบาย บรรยากาศไม่ต่างกับตากอากาศตามต่างจังหวัดในสมัยก่อน บ้านกรอด้า หลายโรงงานทยอยปิด ดังเช่นที่นี่ที่เปลี่ยนแปลงจากโรงงานทอผ้ากลายมาเป็นที่พักแสนอบอุ่น แต่ยังเปี่ยมด้วยความทรงจำของวันวาน ย้อนไปในอดีต โรงงานทอผ้านี้เป็นกิจการดั้งเดิมของครอบครัวคุณอ้อ ก่อตั้งโดยคุณยายสุมล สุขปรีชา แรกเริ่มตั้งอยู่ที่ตลาดหัวรอจนกระทั่งปี พ.ศ.2497 ทางราชการให้ย้าย จึงมาตั้งโรงงานใหม่บนที่ดินแปลงนี้ในชื่อ “โรงงานทอผ้าไทย” แรกเริ่มมีเครื่องกี่กระตุก(เครื่องทอผ้า)ประมาณ 10 เครื่อง ต่อมาเพิ่มเป็น 40 เครื่อง และเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “สุมลการทอ” หรือ “สุมลการทออยุธยา” เมื่ออุตสาหกรรมทอผ้าพัฒนาเพิ่มขึ้น โรงงานจึงเปลี่ยนจากเครื่องกี่กระตุกมาใช้เครื่องจักรในการทอผ้า ขยายกิจการจนมีเครื่องจักรประมาณ 100 […]
เฮือนธรรม บ้านใต้ถุนสูง พื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น
จุดเด่นของ บ้านใต้ถุนสูง เฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้
สงบร่มรื่นใน บ้านใต้ถุนสูง สไตล์ไทยอีสาน
บ้านใต้ถุนสูง บรรยากาศอันร่มรื่นของแมกไม้และสไตล์บ้านที่ดูสงบและสวยงามเป็นอย่างมาก นี่คือบ้านไทยอีสาน ประยุกต์ที่ดูร่วมสมัย ผสมกลิ่นอายเรือนไทยและจังหวะสนุกๆของครอบครัว
BOON CHAN NGARM HOUSE ที่พักสไตล์ไทยวินเทจในเขตพระนคร
บ้าน Boon Chan Ngarm ที่พัก ทางเลือกใหม่สำหรับแขกที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสไตล์วิถีไทยดีไซน์วินเทจ ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ บนเกาะรัตนโกสินทร์ ริมถนนพระสุเมรุ
บ้านน่าอยู่ โอบล้อมด้วยขุนเขา
เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณปวริศร์ – คุณสุรีย์ สุทธิสาร บ้านน่าอยู่ ไม่แปลกที่ธรรมชาติแห่งขุนเขาและกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า รวมถึงสายลมอันบริสุทธิ์สดชื่นรอบๆเขาใหญ่จะกลายเป็นเหตุผลสำคัญของการบอกลาชีวิตในกรุงเทพฯ แต่เหนืออื่นใดก็คงเป็นเพราะ คุณแนน – สุรีย์ สุทธิสาร ภรรยาคนสวยเป็นคนพื้นถิ่นแถวนี้ ทำให้ คุณปั๊บ – ปวริศร์ สุทธิสาร ตัดสินใจมาสร้างครอบครัวและบ้านพักอาศัยหลังใหม่อยู่ที่เขาใหญ่เป็นการถาวร ระยะเวลาร่วม 8 ปีของการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติสวยๆ เหล่านี้ ยังทำให้คุณปั๊บเกิดแนวคิดที่จะแบ่งปันความสุขด้วยการสร้างโครงการบ้าน 1.618 ขึ้นบนพื้นที่กว่า 42 ไร่ ที่ระดับความสูงประมาณ 430 เมตร ซึ่งมีขุนเขาสูงโอบล้อมรอบทิศทาง แถมด้วยช่องลมธรรมชาติที่รับลมได้ตลอดทั้งปี สำหรับแนวคิดการออกแบบมีจุดเริ่มต้นจากอัตราส่วน 1.618 ที่เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีคิดค้นขึ้นจากสัดส่วนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และกลายเป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์ให้วงการศิลปะและสถาปัตยกรรมนำไปประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดโมนาลิซา วิหารพาร์เธนอน หรือโลโก้ของแบรนด์ Apple กระทั่งมาเป็นอัตราส่วนในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้ให้ลงตัวและงดงาม “ผมอยากสร้างบ้านที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่ให้มากที่สุด ไม่ใช่เอาบ้านจากประเทศไหนๆมาตั้งอยู่ที่เขาใหญ่เฉยๆ เพราะด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกมาก ผมจึงให้ความสำคัญกับหลังคาเป็นอันดับแรก […]
บ้านคือศูนย์รวมใจ
เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]
บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต
ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]
โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล
นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]
รวม “บ้านเย็น อยู่สบาย” รับมือหน้าร้อน
บ้านเย็น อยู่สบาย เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองไทย จับภูมิปัญญาใส่ดีไซน์ กลายเป็นบ้านสวยสุดชิลจนไม่อยากออกไปไหน
ตกแต่งบ้านให้มีบรรยากาศ บ้านเรือนไทย ด้วย 14 วิธีสุดง่าย
แม้ว่าปัจจุบัน บ้านเรือนไทยนับวันจะยิ่งหาชมได้ยาก แต่เรายังสามารถสร้างบรรยากาศภายในบ้านได้แบบบ้านเรือนไทย ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้