- Home
- บ้านไม้โบราณ
บ้านไม้โบราณ
เวฬา วาริน สถาปัตยกรรมยุคสงครามโลกที่รีโนเวตเป็นบูติกโฮเทลสไตล์อีสานอินเตอร์
การรีโนเวตบ้านไม้เก่ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลายเป็นบูติกโฮเทล โดยรักษาฟาซาดเดิมไว้ แต่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและฟังก์ชันใหม่ เพื่อต่อลมหายใจให้อาคารยังคงแสดงเอกลักษณ์และบอกเล่าความเป็นมาในอดีตได้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: SuperGreen Studio วารินชำราบ ย่านเจริญในยุคสงคราม ‘วารินชำราบ’ เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานอีกทั้งที่นี่ยังเคยเป็นหนึ่งในพื้นที่ตั้งฐานทัพอากาศอุบล (Ubol Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517 ของหน่วยทหารสหรัฐสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทำให้วารินชำราบในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งเปรียบได้กับย่านเจริญกรุงในปัจจุบัน และด้วยความเจริญดังกล่าวก่อเกิดเป็นชุมชมที่มีสถาปัตยกรรมที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคืออาคารไม้ทรงแปดเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และกลายมาเป็นโรงแรมเวฬา วาริน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็น บ้านไม้โบราณ ที่มีคุณค่า ‘โรงแรมเวฬา วาริน เป็นโครงการที่ตั้งใจออกแบบให้ไปไกลว่าคำว่าร่วมสมัย แต่ต้องการให้ที่นี่นั้น Timeless คือไม่จำเป็นต้องมารีโนเวตบ่อยครั้ง นอกจากนั้นเรายังใช้แสงและเงามาใช้มากกว่าเป็นการให้แสงธรรมชาติกับอาคาร แต่ตั้งใจใช้แสงและเงาสร้างความรู้สึกตามแนวความคิดในการออกแบบอย่าง ‘ทวิภพ’ ครับ’ คุณวรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Before VELA WARIN ก่อนจะกลายมาเป็นโรงแรมเวฬา วาริน […]
4 อาคารโบราณในภาคเหนือที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของหัวเมืองเหนือ ตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งผลให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมอันงดงาม เราขอพาไปสัมผัสเรื่องราวของ 4 อาคารในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมืองไทยมาฝากกัน อาคารหย่งเชียง ที่ตั้ง: เลขที่ 2 – 4 ถนนวิชยานนท์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ สถาปนิก/ผู้ออกแบบ : นายกิมยง (ต้นตระกูลตันกิมยง) บูรณะโดย : คุณธนกฤต เทียนมณี ผู้ครอบครอง : คุณสลิล ทิพย์ตียาภรณ์ ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2447 บ้านโบราณ รถมุ่งหน้าสู่ถนนท่าแพ ผ่านสะพานนวรัฐ ผู้คนมากหน้าหลายตาขับรถสวนไปมาแทรกด้วยกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติขี่จักรยานเป็นระยะ จุดหมายของเราในครั้งนี้คือ อาคารหย่งเชียง ครั้งแรกที่เราได้ยินชื่ออาคารแห่งนี้ก็คาดเดากันไปต่างๆ นานาว่าจะต้องเป็นอาคารค้าขายสไตล์จีนแน่ๆ กระทั่งมายืนอยู่ตรงหัวมุมถนน เราได้พบตึกเก่าทาสีขาวสะอาดสลับกับไม้ระแนงสีน้ำตาลเข้มบนระเบียง เมื่อเข้าไปภายในก็พบกับ คุณธนกฤต เทียนมณี สถาปนิกผู้บูรณะและเป็นผู้ดูแลอาคารแห่งนี้ อาคารหย่งเชียงในภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “เตียหย่งเชียง” ส่วนภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “หลงชาง” หรือ “หลุงชาง” […]
เรือนไม้หลังงามจากยุคล่าอาณานิคมของเมืองไทย
มีคนเคยพูดว่า “ศิลปะเป็นสิ่งสากล ซึ่งอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของศาสนา เชื้อชาติ และกาลเวลาเสมอ” บ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ช่วยยืนยันได้อย่างดี ด้วยรูปแบบการสร้างที่มีกลิ่นอารยธรรมทั้งจากตะวันตกและอิสลามผสมผสานกัน แสดงถึงลักษณะงานศิลปะในรัชสมัยรัชกาลที่ 4-6 อันเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เจ้าของ: คุณชัยรัตน์ – คุณนาตยา สมันตรัฐ บ้านไม้โบราณ หลังนี้เปี่ยมด้วยเรื่องราวความผูกพันอันยาวนานเกือบร้อยปี ซึ่งบอกเล่าโดยลูกหลานผู้สืบเชื้อสายมาจากหลวงโกชาอิศหาก ต้นสกุลของเจ้าของบ้านหลังนี้ “เดิมพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ซึ่งเป็นคุณพ่อรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดสตูล แต่มาซื้อที่และปลูกบ้านหลายหลังเพื่อให้ลูกหลานอยู่รวมกันได้เรียนหนังสือและใช้เป็นที่รับรองแขกในกรุงเทพฯ เลยได้วิ่งเล่นในบ้านหลังนี้มาตั้งแต่ยังเล็ก” ด้วยเชื้อสายที่เป็นชาวมุสลิมจากทางภาคใต้ ประกอบกับบ้านหลังนี้สร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคมของเมืองไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้ลักษณะของศิลปะผสมผสานกันอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการสร้างและตกแต่ง โดยการฉลุเป็นลวดลายแบบแขกมัวร์ (Mauresque Art) และแบบลายขนมปังขิง อันเป็นเอกลักษณ์งานไม้แห่งอิสลาม โดยเน้นลวดลายพรรณพฤกษาในกรอบทรงเรขาคณิตเป็นหลัก ติดตามบริเวณต่างๆรอบบ้าน ทั้งขอบกันสาดของส่วนที่ยื่นออกมาเหนือประตู หน้าต่าง แผ่นไม้ที่ติดระหว่างช่วงเสา ขอบชายคาโดยรอบบ้าน สันหลังคา หน้าจั่ว มุขหน้า ขอบลูกกรงระเบียง และส่วนกันแดดตอนบนของระเบียง ส่วนที่ติดเพดาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการถ่ายเทอากาศภายในบ้าน ด้วยการออกแบบโครงสร้างมีประตูหน้าต่างมากมาย และเจาะช่องลม ทั้งบริเวณใต้หลังคา ส่วนที่เป็นกรอบอยู่เหนือหน้างต่างประตู และตอนบนของผนังที่อยู่ใต้ฝ้าเพดานลงมา เพื่อให้ลมผ่านและช่วยระบายความร้อนใต้ฝ้าออกไป “การฉลุไม้ลวดลายแบบแขกมัวร์ (Mauresque Art) […]