© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
อบอุ่นท่ามกลางบรรยากาศชนบทที่จังหวัดขอนแก่นไปกับ แบบบ้านไม้โมเดิร์นชั้นเดียว ของครอบครัวขยายที่อยู่ร่วมกันกับผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียวจึงตอบโจทย์ที่สุด
บ้านไทยร่วมสมัย บนพื้นที่ 1 ไร่ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ โดยปรับเป็นเกสต์เฮ้าส์ที่ใช้ชื่อว่า “บ้านบูลู เกสต์เฮ้าส์” ด้วยในตัว
รีโนเวตบ้านไม้ให้กลายเป็นคาเฟ่แสนอบอุ่น สำหรับวันสบายๆ และถ้าหากว่างๆ จะชวนเพื่อนหรือคนรู้ใจไปนั่ง คาเฟ่ บ้านไม้ ชิลๆ ก็ไม่ว่ากัน
บ้าน Boon Chan Ngarm ที่พัก ทางเลือกใหม่สำหรับแขกที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสไตล์วิถีไทยดีไซน์วินเทจ ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ บนเกาะรัตนโกสินทร์ ริมถนนพระสุเมรุ
บ้านไม้หลังเก่า ท่ามกลางสวนสีเขียวในซอยลาดพร้าว 25 ถูกแปลงโฉมให้เป็น KINN Kaffe & Craft คาเฟ่สีเขียว วินเทจสุดคลาสสิก ชวนให้นึกถึงบรรยากาศบ้านต่างจังหวัด
บ้านไม้ ธรรมชาติ โทนสีน้ำตาลอบอุ่นก็เป็นความงามสุดคลาสสิก แต่บางครั้งบางครา เราก็อยากจะให้บ้านแสนรักของเรามีสีสันที่สดใสขึ้น เป็นบ้านที่อยู่สบายใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังเก่าหรือบ้านหลังใหม่ก็ตามที ทั้งนี้ บ้านไม้ หลายสีนั้นมาจากตัววัสดุเป็นหลักซึ่งมีทั้ง ไม้จริงทำสีใหม่ และไม้สังเคราะห์ที่ทำสีมาจากโรงงานแหล่งผลิต ซึ่งก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของบ้านได้เลย แต่หากคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรให้บ้านไม้สีๆ ที่เราชอบให้สวยเก๋ไม่เชย my home ไอเดียมานำเสนอค่ะ น้ำตาลอ่อนๆ หอมกลิ่นขนมปัง บ้านไม้ 2 ชั้น โทนสีน้ำตาลอบอุ่นหลังนี้ ชื่อ ammie’s Recipe เป็นสตูดิโอสอนทำขนมในบรรยากาศอบอุ่น เจ้าของคือ คุณแจม สุชาธิษณ์ สุวิตธรรม บ้านไม้ มีธรรมชาติใต้ถุงโล่งเชื้อเชิญให้เข้าไปสัมผัสตั้งแต่แรกเห็น ภายในใต้ถุนถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นสตูดิโอเก๋ วางของสะสมตกแต่งได้อย่างเป็นกันเอง บรรยากาศรอบๆ เป็นท้องทุ่งนาสีเขียวขจีดูสบายน่าอยู่จริงๆ ทั้งยังมีสวนเล็กๆ อยู่รอบข้างด้วย ชมบ้านสีน้ำตาลหอมกลิ่นขนมปังเพิ่มเติม ฟ้าสดใส หัวใจสีเขียว เป็นอีกหนึ่งบ้านเก่าที่ผ่านการรีโนเวตใหม่ ซึ่งสร้างมานานกว่า 20 ปี จึงเห็นหลายๆ มุมที่มีเก่าใหม่คละกันตามสไตล์มีสน่ห์ในอีกรูปแบบ เจ้าของคือคุณน้ำ ชิดชนก […]
เรือเฟอร์รี่เทียบที่ท่าเรือท้องศาลา แดดแรงของพะงันขับทุกองค์ประกอบเมืองให้กลายเป็นเส้นคม ชาวต่างชาติเดินยิ้มแย้มคุยเล่นกันขณะขึ้นจากเรือ หลายคนมาเพื่อร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้อันโด่งดัง สถานที่แห่งนี้ไม่เคยห่างหายจากเสียงอึกทึก แต่…จุดหมายของเรานั้นต่างออกไป เรากำลังจะไปยังอีกฟากหนึ่งของเกาะ ที่ซึ่งมีแต่บ้านเรือนและหาดทรายอันเงียบสงบ เรากำลังจะไปที่อ่าวหินกองกันครับ “จากท้องศาลาให้ขับขึ้นเหนือมาทางซ้ายเลาะริมหาดมาเรื่อยๆพอถึงสามแยกก็เจอเลยจ้ะ” คุณเข็ม – ณฐกร พรหมเจริญ เจ้าของบ้าน บอกทางมาสู่บ้านหลังนี้ทางโทรศัพท์ด้วยสำเนียงแหลงใต้ชัดเจน แต่เราขับเลยไปเล็กน้อยก่อนจะถอยรถกลับมาเพราะความร่มครึ้มของต้นไม้นานาพรรณจนทำให้มองไม่เห็นตัวบ้านนั่นเอง “คุณชาลีชอบสวนรกๆ แน่นๆ คนข้างนอกจะได้ไม่เห็นเรา และยังให้บรรยากาศแบบทรอปิคัลดีนะ นั่นคือสิ่งที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ” “ทรอปิคัล” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย บ้านหลังนี้ต้อนรับธรรมชาติเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดแนวของตัวบ้านนั้นเป็นหน้าต่างและประตูแทบทั้งสิ้น ทุกพื้นที่ในบ้านจึงแนบสนิทกับแมกไม้น้อยใหญ่ได้อย่างลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวรรค์แดนใต้อย่างเกาะตาฮีตีอย่างไรอย่างนั้น สำหรับการออกแบบทางสัญจรในบ้านจะเป็นระเบียงยาวทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้โดยง่าย อันที่จริงบ้านนี้ดูคล้ายรีสอร์ต เพราะคุณเข็มและ คุณชาลี โบเนลโล่ ต้องการให้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของทั้งสองคนและเพื่อนๆ ของคุณชาลีในยามที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน วัสดุในบ้านจะเน้นการใช้ไม้ ทั้งตัวบ้านเองและเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทั้งหลาย ซึ่งก็เข้ากันดีกับการเข้าไม้ในรายละเอียดของส่วนต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่บ้านอยู่ติดทะเล การปล่อยให้งานไม้บางส่วนมีร่องรอยบ้างก็สร้างเรื่องราวและความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง เช่น ร่องรอยบนไม้ระเบียงสระว่ายน้ำที่อยู่ก่อนถึงทางเดินลงหาด “อยู่ที่นี่เหมือนทุกวันเป็นวันพักผ่อน” คุณเข็มกล่าวด้วยรอยยิ้ม “ถ้าเป็นวันปกติเวลาว่างๆ ก็จะชอบนอนดูทะเลอยู่ตรงชานรับแขก […]
ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]
ธรรมชาติและการพักผ่อนเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่หา เว็บไซต์บ้านและสวนจึงไม่พลาดที่จะพาแนะนำ ที่พักโฮมสเตย์ น่ารักที่พักจาก บ้านไม้ ใจกลางธรรมชาติ
"บ้านหลังเล็กนี้ตั้งใจให้เป็นโรงจอดรถ และออกแบบห้องนอนสำหรับเพื่อนๆ เวลามาเยี่ยมจะได้ค้างได้ ไม่ต้องขับรถกลับดึกๆดื่นๆ "
บ้านไม้ นับว่าเป็นที่ชื่นชอบของหลายๆคน อีกทั้งยังเหมาะกับสภาพภูมิอากาศร้อนในประเทศไทย แต่ถ้าใครคิดจะมีบ้านไม้ เราอยากให้ลองศึกษาข้อดีและข้อเสียของบ้านไม้
บ้านหลังนี้ออกแบบเป็น บ้านไม้ชั้นเดียว ส่วนโรงจอดรถกับห้องรับแขกตั้งอยู่ด้านหน้าส่วนของตัวบ้าน มีสวนเป็นคอร์ตยาร์ดอยู่กลางบ้าน โดยใช้เป็นพื้นกลางสำหรับทุกคน