© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านทรงไทย จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านไม้ใต้ถุนสูงสไตล์ล้านนา สันกำแพงเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลาเดินทางออกมาจากกลางเมืองเพียงครึ่งชั่วโมงก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติและความสงบเงียบแบบชนบท และที่นี่ยังมีโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้น้อยใหญ่ ด้วยถนนขนาดเล็กด้านหน้าเป็นเหมือนปราการช่วยกั้นไม่ให้ความวุ่นวายและเสียงรบกวนจากรถยนต์ขนาดใหญ่เข้ามาถึง ภายในจึงสงบเงียบจนได้ยินเสียงใบไม้ไหวตามแรงลมและเสียงนกน้อยเจื้อยแจ้วอย่างชัดเจน เมื่อแหงนหน้าขึ้นมองฟ้าจึงเห็นเรือนไม้ไทยโบราณอยู่ด้านหลังแนวรั้วต้นไม้สีเขียวครึ้ม ดูจากลักษณะที่ตั้งของเรือนไทยเก่าพอจะบอกได้ว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนขนาดเล็กซึ่งอยู่กันแบบเรียบง่าย จึงไม่มีการกั้นรั้วสูงจนมองไม่เห็นเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่อาศัยต้นไม้เป็นขอบเขตธรรมชาติทางสายตา และที่นี่เองที่เป็นโฮมสเตย์ในชื่อ วิลล่า มัชฌิมา ที่พักสำหรับคนโหยหาธรรมชาติและความสงบในทางสายกลางที่พอดีกับจิตใจ คุณปู- ชยสิริ วิชยารักษ์ ผู้หญิงซึ่งเคยเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าแม่อาคารโบราณ ผู้ปลุกปั้นบ้านเก่าทิ้งร้างกว่า 20 ปีริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น “พระยา พาลาซโซ” โรงแรมบูติกสุดสวย เธอมาเจอเรือนไม้เก่าหลังนี้ที่กำลังบอกขาย ด้วยความเสียดายไม่อยากให้สถาปัตยกรรมไทยโบราณต้องถูกรื้อทิ้งแยกส่วนขายเป็นชิ้นไม้เก่า ก็เลยตัดสินใจขอซื้อและลงมือลงแรงบูรณะทั้งหมดขึ้นใหม่ เพื่อปรับปรุงหลองข้าวเก่าของชาวเหนือให้กลายเป็นเรือนพักที่แสนสบาย “ด้วยความที่เป็นหลองข้าวเก่ามีโครงสร้างเป็นไม้แต่ก็มีสเกลใช้งานเล็กๆ ที่ไม่เหมือนบ้าน เมื่อเรานำมาปรับปรุงให้เป็นบ้าน บางอย่างก็ต้องเติม อย่างการเพิ่มสัดส่วนความสูงของพื้นที่ในห้องน้ำ บางอย่างก็ต้องรื้อออกเช่นรายละเอียดที่มากเกินไป อย่างน้อยก็ถือว่าได้เก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า ‘วิลล่า มัชฌิมา’ เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตด้วยทางสายกลาง คือมีทั้งธรรมชาติและความสะดวกสบายแบบพอดี” ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า […]
เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ 1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านล้านนาอยู่สบาย สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า) ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย อ่านต่อ 2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก […]
ที่พักซึ่งดัดแปลงมาจากเรือนยุ้งข้าว ปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ : ยุ้งข้าวล้านนา ซอยเวียงกุมกาม 7 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 08-9633 – 2573 โฮมสเตย์ไม้ ออกแบบ – ตกแต่ง : Lanna Architect Ltd. โดยอาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ อาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ เจ้าของและผู้ออกแบบ ยุ้งข้าวล้านนา ตั้งชื่อที่พักแห่งนี้ได้อย่างน่ารักและสะท้อนภาพความเป็นท้องถิ่นได้ชัดเจน โดยตัวอาคารที่พักนั้นดัดแปลงมาจากเรือนไม้พื้นถิ่น แน่นอนว่าต้องมีเรือนยุ้งข้าวรวมอยู่ด้วย เรือนเหล่านี้เป็นเรือนของชาวบ้านในอดีต ซึ่งนับวันมีแต่จะหายไปจากวิถีชีวิตคนล้านนา เรือนทุกหลังปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โครงสร้างไม้ทั้งหมด มีการตั้งเสายกพื้นสูงทำให้มีบริเวณใต้ถุนตามแบบอย่างบ้านโบราณ และจัดวางกลุ่มเรือนใหม่ แต่ละเรือนออกแบบเป็นที่พักแบบ 2 ห้องนอนหรือ 3 ห้องนอน มีชานไม้และทางเดินเชื่อมต่อกันทุกเรือน นอกจากนี้ยังมีเรือนที่เปิดโล่งไม่มีห้อง ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเฉพาะการจัดงานแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ สำหรับห้องพักมีทั้งหมด 20 […]
MU50 House โดย Teke Architects Office แบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบโดยใช้ระบบโมดูลาร์ มาให้พร้อมรื้อถอน โยกย้าย แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
บ้านไม้ ภายใต้ในแนวคิด Passive Design ที่สถาปนิกออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ ตั้งอยู่บนที่ดินติดถนนสายหลัก กลางย่านที่มีบ้านพักอาศัยสร้างขึ้นเพื่อปล่อยขายตลอดแนวถนนในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น Mushono House คือผลงานการออกแบบของสถาปนิก Yoshitaka Kuga ด้วยการนำแนวคิด Passive Design มาใช้ออกแบบ บ้านไม้ หลังนี้ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยรวม 119.529 ตารางเมตร ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม โดยวางผังอาคารให้ด้านหน้าของบ้านหันออกสู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านหลังออกแบบให้ตั้งอยู่ติดกับถนนสายหลัก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้หน้าบ้านดูกว้างเเละโปร่งโล่งยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับสร้างแนวป้องกันความร้อนด้วยการปลูกต้นไม้เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้าน ด้วยความตั้งใจที่อยากให้เจ้าของบ้านอยู่สบายด้วยการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก สถาปนิกจึงสร้างห้องนั่งเล่นให้เกิดบรรยากาศโล่งกว้างขนาดใหญ่ เด่นด้วยพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซ และออกแบบช่องเปิดให้เกิดแสงและเงา ช่วยสร้างความละมุนให้กับพื้นที่ทั้งสองชั้น เเถมยังมีมุมมองเปิดออกไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวนอกบ้านผ่านหน้าต่างบานใหญ่ทางทิศใต้ เเละสร้างพื้นที่นั่งเล่นเป็นชานเล็ก ๆ โดยออกแบบให้ชายคามีระยะยื่นคลุมพื้นที่ชานทั้งหมดไว้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันแสงแดดยามออกมานั่งเล่น สถาปนิกยังระบุอีกว่าด้วยวิธีการออกแบบนี้จะช่วยให้ภายในบ้านเย็นในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว ซึ่งผู้อาศัยจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจากฟังก์ชันต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ได้พักผ่อนสายตาไปกับวิวสวน พร้อมร่มเงาและความสดชื่นจากเหล่าไม้ใบสีเขียว เปิดรับอากาศดี ๆ ได้ในทุกวัน ออกแบบ: Yoshitaka Kuga HEARTH ARCHITECTS http://hearth-a.com ภาพ: Yuta […]
บ้านไม้ สไตล์มินิมัลสำหรับสองสามีภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารักทั้งสามคนของพวกเขา ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
บ้านไม้ สำหรับพักตากอากาศในช่วงสุดสัปดาห์ ที่ Estudio Borrachia ออกแบบมาสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน ประกอบด้วยคู่สามีภรรยา พร้อมลูกเล็กสองคน ตั้งอยู่ใน Exaltación de la Cruz ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
บ้านไม้ กึ่งคาเฟ่ ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น หลังนี้เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของบ้านที่วางแผนจะเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ไปพร้อมกับการสร้างบ้านพักอาศัยส่วนตัว หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว Yoshitaka Kuga สถาปนิกซึ่งมีสตูดิโอออกแบบตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ จึงได้ลงมือออกแบบ บ้านไม้ สีดำทะมึนหลังนี้ให้มีพื้นที่รองรับกับความต้องการ ก่อนจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น กลายเป็นอาคารรูปทรงสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดทางแยกบนที่ดินที่ล้อมรอบด้วยถนนทั้งสามด้าน เด่นด้วยผนังโทนขรึมดำจากไม้ซีดาร์เผาผิว มีมุมมองคล้ายกับอาคารสองหลังวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้บ้านดูเหมือนกับร้านกาแฟในกระท่อมบนภูเขา เป็นเหตุผลทำให้บ้านหลังนี้มีหลังคาที่ดูโดดเด่นจนกลายเป็นไอค่อนของย่านไปโดยปริยาย เเละอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวให้แยกส่วนกับพื้นที่สาธารณะ โดยไม่รู้สึกถึงการตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ภายใต้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 104.95 ตารางเมตร สามเหลี่ยมก้อนแรกที่อยู่ด้านหน้าจึงถูกแบ่งเป็นส่วนการใช้งานหลักบนชั้น 1 ของบ้าน ประกอบด้วยมุมรับประทานอาหาร ซึ่งออกแบบพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อกับครัวเปิด เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ เพื่อรองรับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็แยกส่วนพื้นที่พักอาศัยจริงที่มอบความเป็นส่วนตัว ไว้ภายในก้อนสามเหลี่ยมก้อนที่สองซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง โดยพื้นที่ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ห้องนอนใหญ่ของเจ้าของบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ (ใช้ครัวกับมุมรับประทานอาหารร่วมกับส่วนคาเฟ่) ส่วนบนชั้นสอง เป็นห้องของเด็ก ๆ จำนวน 2 ห้อง พร้อมระเบียงเล็ก ๆ ไว้ออกไปยืนสูดอากาศในวันฟ้าแจ่มใส โดยมีสวนเล็ก ๆ […]
ปีนี้เป็นปีที่ 15 แล้วที่นิตยสาร “บ้านและสวน” จัดทำโครงการ “10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย” ประจำปีขึ้นมา โดยคัดเลือกจาก นิตยสารบ้านและสวน room และ สำนักพิมพ์บ้านและสวน มุ่งเน้นถึงความหมายของคำว่า “น่าอยู่” ควบคู่ไปกับ “สวย” ที่คัดสรรผ่านมุมมองของกองบรรณาธิการ ไปชมกันว่า ปีพ.ศ.2563 นี้เราได้ รวมแบบบ้าน น่าอยู่ 10 หลังจะเป็นบ้านหลังไหนกันบ้าง รวมแบบบ้าน น่าอยู่ประจำปีพ.ศ.2563 บ้านดาดฟ้า ชั้นเดียว บนลานดาดฟ้าอพาร์ตเมนต์ชั้น 5 โดดเด่นด้วยดีไซน์ทรงกล่องแบบโมเดิร์น เเละใช้ไม้เต็งสำหรับต่อทำลังซึ่งมีตำหนิตามธรรมชาติมาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบ พร้อมเติมพื้นที่สีเขียวได้อย่างร่มรื่นและอยู่อาศัยได้จริง เจ้าของ : คุณขจี เกศจุมพล ออกแบบ : WARchitect โดย คุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2T8R2me บ้านรีโนเวตใหม่ของคู่หูนักออกแบบเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า With it ให้กลายเป็นบ้านเเบบ มัลติฟังก์ชัน เน้นโทนสีขาวและความอบอุ่นของไม้ ผสมด้วยมุมอเนกประสงค์ใช้เป็นทั้งมุมรับประทานอาหาร ห้องประชุม […]
บ้านไม้ สไตล์ไทยโมเดิร์นของ ป๊อด โมเดิร์นด็อก ศิลปินคนดัง ที่ปลีกตัวมาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในช่วงวันธรรมดากับคุณแม่
เปิดบ้านปาร์คนายเลิศ เรียนรู้การอนุรักษ์ บ้านไม้ โบราณ และชมงานฝีมือจากไม้จากของสะสมต่างๆ ผ่านนิทรรศการ “เรื่องเล่าผ่านไม้” โดยมีคุณวทัญญู เทพหัตถี ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์โบรารณสถานและสถาปัตยกรรม สถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการบูรณะเรือนไม้สักโบราณบ้านปาร์คนายเลิศมาบอกเล่าเรื่องราวในอดีต รวมไปถึงการอนุรักษ์งานไม้ของบ้านปาร์คฯ พร้อมเยี่ยมชมงานศิลปะไม้โบราณล้ำค่าที่หาดูได้ยาก บ้านไม้สัก “บ้านปาร์คนายเลิศ” เรือนไม้ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2488 ด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ปัจจุบันมีอายุมากถึง 105 ปี ออกแบบโดยนายเลิศ เศรษฐบุตร หรือ เลิศ สะมันเตา ผู้ก่อตั้งปาร์คนายเลิศและผู้ริเริ่มธุรกิจหลายอย่างที่กลายเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน บ้านไม้สัก บ้านปาร์คนายเลิศ คุณวทัญญูเล่าว่า แรกเริ่มนายเลิศได้เดินทางมาถึงบริเวณทุ่งบางกะปิ (ชื่อของละแวกที่ตั้งปาร์คนายเลิศในปัจจุบัน) แล้วได้กว้านซื้อพื้นที่แถวนี้ เพื่อทำเป็นบ้านพักตากอากาศ เนื่องด้วยพื้นที่บริเวณนี้เดิมทีเป็นท้องนา ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย จึงมาถมที่แล้วสร้างบ้านพักตากอากาศไว้พักผ่อน รวมถึงสร้างสวน ที่เรียกว่าเป็นสวนสาธารณะเอกชนแห่งแรกให้ชาวบ้านได้เข้ามาใช้งาน ตัวบ้านแบ่งเป็นเรือน 2 หลัง หลังแรกใช้เป็นที่พัก หลังที่สองไว้รับแขก ที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังเพราะเป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน ทนต่อปลวกได้ดี และในสมัยนั้นไม้สักยังเป็นไม้ที่หาได้ทั่วไป ราคาไม่แพงเหมือนปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อสังเกตฝ้าเพดาน บันไดและราวบันไดจะเห็นการใช้ไม้เป็นชิ้นๆ ซึ่งไม้ทั้งหมดนี้ เป็นไม้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมต่อเรือของนายเลิศ ในตอนที่คุณวทัญญูเข้ามาบูรณะซ่อมแซมบ้านก็พบว่าตัวบ้านชำรุดเยอะ ไม่มีเสาเข็ม […]
บ้านไม้ใต้ถุนสูง แบบไทยๆ ได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียง เน้นการทำช่องเปิดไว้ทางฝั่งทิศตะวันออกให้มากกว่าฝั่งทิศตะวันตก