รีโนเวตบ้านไม้
THE YARD RESTAURANT อิ่ม อร่อย อบอุ่น ในบรรยากาศบ้านไม้เก่า
The Yard Restaurant ร้านอาหารบรรยากาศฟีลกู้ด ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านไม้เก่าอายุร่วม 80 ปี ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง มาพร้อมสวนสีเขียวเติมความสดชื่นให้เเก่ย่านสาทรที่เต็มไปด้วยตึกสูง โดยผู้ออกแบบ The Yard Restaurant ได้พยายามเก็บโครงสร้างและรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผนังไม้เก่า ลายฝ้าเพดาน ลูกฟักหน้าต่าง ไปจนถึงโคมไฟ ด้วยความเก่าแก่ที่ยังคงสมบูรณ์แบบ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนการเก็บประวัติศาสตร์เเละความเป็นอยู่ของคนสาทรในยุคก่อนเอาไว้ หลังจากการสำรวจพื้นที่ผู้ออกแบบพบว่าภายในโครงการประกอบด้วยอาคารไม้เก่า กับที่ว่างรอบบ้านซึ่งปกคุลมไปด้วยไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ จึงเล็งเห็นความสำคัญด้านการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า และการสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งปลูกสร้างกับธรรมชาติรอบ ๆ เพื่อคงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมและเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินไปในตัว “เราเริ่มจากการออกแบบตัวบ้านเดิมกับพื้นที่ว่าง เพราะมองว่าบริเวณสาทรมีแต่ตึกกับคอนกรีต พื้นที่ว่างและสวนเป็นของมีค่ามากในย่านนี้ เราจึงออกแบบโครงการให้เป็นเสมือนปอดไว้หายใจและพักผ่อน สำหรับคนเมืองที่อาศัยอยู่ในสาทร จึงเกิดเป็นคอนเซ็ปต์ Hidden Yard ขึ้นมา”จากแนวคิดดังกล่าวนำมาสู่การผสมผสานงานออกแบบรีโนเวตลงไปในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติเเบบไม่รบกวนกัน สร้างการรับรู้เเละเปลี่ยนผ่านความรู้สึกจากบรรยากาศภายนอกที่เเสนวุ่นวาย ด้วยทางเดินเข้าร้านที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนระเบียงบ้าน นำทางมายังคอร์ตยาร์ดขนาดย่อมที่ทุกคนจะต้องเซอร์ไพร้ส์ไปกับบรรดาต้นไม้เขียวชอุ่ม ก่อนจะเชื้อเชิญทุกคนให้เข้ามายังพื้นที่ภายในบรรยากาศร้านด้านในยังคงความเป็นบ้านไม้โบราณ โชว์โครงสร้างหลังคาให้เห็นจันทันและแปไม้ แล้วเสริมให้ดูร่วมสมัยด้วยการเลือกของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์สไตล์คอมเทมโพรารีสีสด โดยใช้สีไม้เก่าจากพื้นและผนัง รวมถึงผนังปูนขัดสีให้ดูเก่า ผสมผสานกับการเน้นกรอบหน้าต่างและขาเก้าอี้ด้วยอะลูมิเนียมทำสีโรสโกลด์ ข้อมูล เจ้าของ : คุณญาณี องค์วัฒนกุล ออกแบบ : Arch+Brand Design ภาพ : […]
984WOLF เยี่ยมรังหมาป่า ดื่มด่ำกับมื้อดินเนอร์สุดโรแมนติกใต้พระจันทร์ดวงโต
รีโนเวตบ้านไม้เก่าแบบครึ่งปูนครึ่งไม้อายุ 60 ปี ย่านสาทร ให้เป็นร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นยูโรเปียน จัดเสิร์ฟอาหารยุโรปรสชาติที่คนเอเชียชอบรับประทาน ในชื่อ 984wolf ที่ร้าน 984wolf แห่งนี้เน้นกรรมวิธีการปรุงอาหารโดยใช้ไฟ ฟืน และเปลวไฟเป็นหลัก ส่งอิทธิพลไปถึงการตกแต่งซึ่งมีความโดดเด่นเพื่อสื่อถึงกรรมวิธีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วย YAKISUGI หรือไม้เผาผิวจนไหม้เกรียมภูมิปัญญาโบราณของชาวญี่ปุ่นที่ใช้ในการถนอมเนื้อไม้ หรือจะเป็นส่วนของเคาน์เตอร์ต้อนรับกรุทองเหลืองสื่อถึงโลหะที่ผ่านการเผาไหม้ รวมถึงผนังในครัวที่ใช้อิฐแดงซึ่งมีคุณสมบัติทนไฟ พื้นที่ชั้นล่างเปิดเป็นบาร์สำหรับนั่งดื่มระหว่างรออาหาร หรือจะมานั่งชิล ๆ ดื่มไวน์หลังกินอาหารเสร็จก็ได้ เพิ่มความมีชีวิตชีวาดูทันสมัยขึ้นด้วยสีแดงอิฐ ตัดกับชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อนดูสบายตา ส่วนพื้นที่ชั้นสองทำการรื้อผนังและฝ้าเดิมออก แต่ยังเก็บโครงสร้างไม้และช่องเปิดเดิมไว้ แบ่งสัดส่วนพื้นที่ด้วยการจัดโต๊ะแบบโซฟาโค้งดูลื่นไหล แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวอยู่ เเถมมีบานเฟี้ยมสำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มและต้องการความเป็นส่วนตัวพิเศษ สิ่งที่ดึงดูดผู้คนคงหนีไม้พ้น “พระจันทร์” ดวงโตกลางห้องครัวที่สะกดสายตาให้ต้องเหลียวมอง เเม้พื้นที่ส่วนอื่นจะมองไม่เห็นดวงโคมนี้ทั้งหมด ผู้ออกเเบบก็ได้ใช้วิธีติดตั้งโคมไฟวงกลมเป็นจุด ๆ เน้นส่องลงบนโต๊ะเเทน เพื่อให้แขกโฟกัสอยู่กับอาหารและคู่สนทนา พร้อมกับมีแสงสว่างจากพระจันทร์ที่ปรับแสงสีได้ตามเทศกาล ส่องผ่านผิวไฟเบอร์กลาส ให้ความรู้สึกเสมือนเปล่งออกมาจากพระจันทร์ดวงจริง ดังแนวคิดของเจ้าของร้านที่ว่า“แสงไม่มีตัวตน แต่มีความรู้สึก” เจ้าของ : คุณญาดา เรืองสุขอุดม ออกแบบ : SALT&PEPPER STUDIO, FOS Lighting Design Studio ที่ตั้ง […]
G HOUSE แค่ต่อเติมระเบียงบ้าน…บรรยากาศก็เปลี่ยนไป
รีโนเวตบ้านไม้ ใหม่สำหรับสมาชิกทั้งหมด 4 ครอบครัว ซึ่งเดิมทีพื้นที่ชั้น 1 หันหน้าไปทางทิศใต้จึงมักถูกเงาจากบ้านเรือนข้างเคียงบดบัง ทำให้แสงธรรมชาติไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในทิศเดียวกันนี้บนชั้น 2 กลับเปิดมุมมองให้เห็นท้องฟ้าอันแจ่มใสและแสงแดดที่สาดส่องเข้ามา จากศักยภาพดังกล่าวสถาปนิกจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งนี้ให้กลายมาเป็นห้องนั่งเล่นแทน ชั้น 2 ของบ้านประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และระเบียงไม้สนที่ยื่นออกไป กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในบ้าน กลายเป็นลานกิจกรรมผืนใหญ่จุดศูนย์รวมของสมาชิกในครอบครัว พื้นที่ชั้นล่างที่เคยปิดทึบไม่สามารถระบายอากาศได้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องนอนขนาดใหญ่โล่ง 1 ห้อง ซึ่งในอนาคตเมื่อลูก ๆ โตขึ้น สามารถแบ่งห้องออกเป็นห้องย่อย ๆ ได้ถึง 3 ห้อง ส่วนทรงและขนาดของหลังคาที่ดูไม่สมมาตรอย่างที่เห็นนั้น เกิดจากการต่อเติมพื้นที่ระเบียง โดยใช้เพิ่มตำแหน่งและขนาดของโครงสร้างตามวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายคือเวลาและงบประมาณที่มีจำกัด การต่อเติมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปอย่างเรียบง่ายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่สอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งาน อย่าง ระเบียงที่ขยายออกไปบนชั้น 2 ที่สามารถช่วยบังแดดจากทางทิศใต้ ไม่ให้ความร้อนส่องกระทบลงมาถึงห้องนอนชั้นล่างได้นั่นเอง ออกแบบ: masaru takahashi architectural design office ออกแบบโครงสร้าง: Kensuke Noto ก่อสร้าง: บริษัท ฟุกุอิ […]
TOBACCO ONE รีโนเวตบ้านไม้แสนโทรมอายุกว่า 30 ปีให้กลับมาสวยโมเดิร์นถึงใจ
รีโนเวตบ้านไม้ อายุกว่า 30 ปี เพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่อย่าง น้องธีร์ โดยเก็บโครงสร้างเก่าไว้ทั้งหมด แล้วใช้การซ่อมแซม ตกแต่งเพิ่มเติมจนได้บ้านใหม่สุดโมเดิร์น