ว่านคางคก (มะอะอุ)

มะโนรา/ว่านมหาอุด/ว่านมหาอุตมะ/ว่านมะอะอุก้านเขียว/อุตพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium trilobatum (L.) Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายเผือก รูปกึ่งทรงกลม แตกหน่อเป็นปุ่มหัว ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เมื่อต้นขนาดเล็ก ใบรูปหัวใจ เมื่อเจริญเต็มที่หยักเป็นแฉก 3-5 แฉก ปลายใบแหลม เส้นใบเป็นร่องตื้น ก้านใบกลม สีเขียวหรือดำ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลีดอกสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง ต้องการความชื้นในอากาศสูง แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นสมุนไพรแก้โรคเรื้อนกวางและโรคผิวหนังอื่นๆ โดยนำหัวมาทุบผสมกับเหล้า ทาบริเวณที่เกิดอาการ หมายเหตุ: ว่านต้นนี้คืออุตพิดสายพันธุ์หนึ่งนั่นเอง ดอกก็มีกลิ่นเหม็นคล้ายอุตพิด แต่กลิ่นอ่อนกว่ามาก […]

ว่านมหาปราบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma sp. วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: 50-80 เซนติเมตร ลำต้น: ใต้ดินเป็นเหง้าทอดเลื้อย รูปรี ข้อห่าง เนื้อในสีขาว มีกลิ่นหอมฉุน ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับแกมรูปรี โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ลำต้นเทียม ก้านใบ และเส้นกลางใบมีสีแดงเข้ม ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายลำต้นเทียม ใบประดับตอนล่างสีขาวอมเขียวอ่อน ปลายแต้มสีม่วงแดง ตอนบนมีสีชมพู โคนสีอ่อน ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบปากสีเหลืองอ่อนมีแถบกลางสีเหลืองเข้ม ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง เมื่อถึงฤดูหนาวจะพักตัว ควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เหง้าเน่าเสียหาย แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านทางคงกระพันชาตรีที่ขุนศึกโบราณนิยมมาก เพราะเชื่อว่าหัวว่านมีสารพิเศษ เมื่อกินหรือฝนทาตัวจะทำให้ผิวหนังชา ทนต่อคมศาสตราวุธ หอก ดาบ นอกจากนี้ยังช่วยให้มีกำลังมากประดุจพญาช้างสาร ว่านนี้จึงเหมาะสำหรับผู้มีอาชีพปราบปรามเช่น […]

กระชายขาว

ว่านเพชรกลับ ชื่อวิทยาศาสตร์: Boesenbergia thorelii (Gagnep.) Loes. วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้น: ใต้ดินเป็นเหง้าทอดเลื้อยรูปทรงกลม สีน้ำตาล เนื้อในหัวสีขาว ใบ: เดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอก ปลายใบแหลมกาบใบสีแดงอ่อน ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายลำต้นเทียม  สีขาว แต้มสีแดง ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง ในช่วงฤดูหนาวจะพักตัว ควรงดให้น้ำ แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านทางคงกระพันชาตรีที่นักเลงว่านโบราณนับถือมาก ช่วยป้องกันการถูกคุณไสย แก้อาถรรพณ์ต่าง ๆ หากมีไว้ในบ้านหรือพก ติดตัวเวลาไปเที่ยวป่าจะปลอดภัยเสมอ ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย

ว่านเขาควายใหญ่

ช้างผสมโขลง/เพชรฉลูกัณฑ์/ว่านนานเย็น/ว่านบัวแก้ว/ว่านหัวข้าวเย็น/หัวข้าวต้ม ชื่อวิทยาศาสตร์: Eulophia graminea Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ความสูง: 30 เซนติเมตร ลำต้น: มีลำลูกกล้วยรูปรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร มีข้อปล้องชัดเจน ต้นเจริญเป็นพุ่มสูง ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบแคบ ดอก: ช่อดอกออกจากหัว ก่อนผลิใบ มี 6 – 18 ดอกต่อช่อ กลีบดอกสีน้ำตาลอ่อน กลีบปากสีชมพูอ่อน ออกดอกในช่วงฤดูร้อน ดิน: อิฐมอญทุบผสมดินใบก้ามปู น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : วางกระถางในที่มีแสงแดดครึ่งวัน เป็นว่านทางคงกระพันชาตรี ♦ หากกินลำลูกกล้วยเข้าไปจิตใจจะฮึกเหิม ♦ หากพกติดตัวไว้จะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ♦ ในธรรมชาติพบตามป่าผลัดใบทั่วทุกภาค แต่ปัจจุบันหาดูได้ยากเพราะเกือบสูญพันธุ์จากแหล่งที่พบแล้ว