WH CAFE รุ่งอรุณแห่งวังหิ่งห้อย ในบรรยากาศของร้านอาหารกลางสวนทรอปิคัล

WH cafe วังหิ่งห้อย ในพาร์ทบรรยากาศยามเช้า ต้อนรับวันใหม่ด้วยอาหารแบบ All Day Breakfast ทั้งอิ่มท้องและสดชื่นกลางสวนสไตล์ทรอปิคัล หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ วังหิ่งห้อย (Wanghinghoi) บาร์และร้านอาหารสไตล์ไฟน์ไดนิ่งที่สร้างสรรค์ประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และแสง ผ่านแนวคิดธาตุทั้ง 4 ท่ามกลางบรรยากาศสลัวรางดูลึกลับในยามค่ำคืน โดยครั้งนี้วังหิ่งห้อยขอเพิ่มทางเลือกใหม่เพื่อจัดเสิร์ฟอาหารสไตล์ All Day Breakfast เปิดบริการในช่วงเวลากลางวัน ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขตร้อน โดยใช้ชื่อว่า WH Cafe ย่อมาจาก Wang Hinghoi นั่นเอง WH cafe วังหิ่งห้ จากความพลุกพล่านของย่านอาร์ซีเอ พระราม 9 ที่นี่จะพาทุกคนหลบเข้ามาสู่บรรยากาศของสวนป่ากลางเมือง เริ่มต้นตั้งแต่สองข้างทางเดินด้านนอกที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสวนสีเขียว ก่อนบังคับให้เดินผ่านกำแพงดินสูงตระหง่านราว 5 เมตร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของโครงการ เดินตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ แล้วจะพบกับประตูเหล็กสีขาวขนาดใหญ่เพื่อผลักเข้าสู่พื้นที่ของ WH Cafe ซึ่งเคยเป็นอีกส่วนหนึ่งของวังหิ่งห้อย โดยได้รับการออกแบบต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสว่างปลอดโปร่ง สเปซกับบรรยากาศได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนสวนหลังบ้าน ภายใต้แนวคิด Into […]

HS HOUSE รีโนเวตบ้านทาวน์โฮม ด้วยไอเดียกลาสเฮ้าส์และคอร์ตยาร์ดแก้ปัญหาพื้นที่ไม่ให้มืดทึบ

รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง Ahmedabad ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีปัญหาความอุดอู้ไม่น่าอยู่ และช่องแสงที่ไม่เพียงพอ ให้กลายเป็นบ้านที่โดดเด่นด้วยการออกแบบพื้นที่เพดานเหนือช่องบันไดให้มีลักษณะคล้ายกลาสเฮ้าส์ รวมถึงใช้แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุน ลดความเคร่งขรึมด้วยมุมคอร์ตยาร์ดสีเขียวกลางบ้าน ผสมกับดีเทลงานตกแต่งจากไม้ดูอบอุ่น จากข้อจำกัดของสถานที่ที่จะต้องใช้ผนังด้านข้างร่วมกับบ้านหลังอื่น มีเพียงผนังด้านหน้าและหลังเท่านั้นที่สามารถเจาะช่องแสงได้ ซึ่งนั่นอาจยังไม่เพียงพอ สถาปนิกจากบริษัท Studio Saransh จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเปิดพื้นที่ ในการ รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม หลังนี้ เพื่อนำแสงสว่างมาสู่บ้าน ด้วยการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางช่องบันได ส่วนด้านบนได้เจาะพื้นชั้นดาดฟ้าออก แล้วต่อเติมโครงสร้างเหล็กกรุกระจก ครอบเหนือช่องบันไดไว้ ให้เหมือนกับเป็นกลาสเฮ้าส์ แสงจากด้านบนจึงสามารถส่องลงมาถึงชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง มู้ดแอนด์โทนของบรรยากาศภายในบ้าน เน้นความเรียบนิ่งด้วยวัสดุโชว์พื้นผิวอย่าง แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งมีโทนสีเทา-ดำ และใช้หิน Kota หรือหินชนวนในการปูพื้น ผสมผสานกับดีเทลงานตกแต่งไม้ในส่วนต่าง ๆ เช่น กรอบหน้าต่าง บานเปิด-ปิดตู้บิลท์อิน และชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งมีสีน้ำตาลดูตัดกันกับสีเข้มขรึมของคอนกรีต ขณะที่บันไดที่ทำหน้าที่เชื่อมกล่องอาคารด้านหน้าและหลังเข้าด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน ทำจากโครงเหล็กสีดำ ก่อนจะปูทับด้วยไม้บนลูกนอน ช่วยเพิ่มความนุ่มนวลเวลาเดินเท้าเปล่า เมื่อเดินเข้ามาในบ้านจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศปลอดโปร่งและมุมพักผ่อนรับแขกที่เปิดประตูบานเลื่อนออกสู่สวนหลังบ้านได้ ชั้นต่อมาออกแบบเป็นส่วนครัว และมุมรับประทานอาหาร พร้อมระเบียงกลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เปิดออกสู่ระเบียงหน้าบ้าน ถัดมาเป็นชั้นของห้องนอนส่วนตัว ซึ่งคุมโทนและบรรยากาศเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน แต่มีลูกเล่นด้วยลวดลายเส้นทองเหลืองบนแผ่นคอนกรีต ให้กลิ่นอายหรูหรานิด ๆ […]

RYUSENJI HOUSE บ้านคอนกรีตหล่อในที่ที่มีเเสงสปอร์ตไลท์ฉายลงมาจากดวงอาทิตย์

บ้านทรงกล่อง คอนกรีตหล่อในที่ ไร้หน้าต่าง มาพร้อมเเนวคิดการสร้างเเสงเงาให้เกิดขึ้น ดูราวกับถูกส่องด้วยไฟสปอร์ตไลท์จากพระอาทิตย์ ผ่านช่องเเสงสกายไลท์ด้านบน อาคาร คอนกรีตหล่อในที่ หน้าตาธรรมดา ๆ นี้ ตั้งอยู่ในจังหวัดนะโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น เเต่เเทนที่จะดึงเเสงธรรมชาติให้เข้ามายังพื้นที่ภายในผ่านหน้าต่างอย่างบ้านหลังอื่น ๆ ทีมออกแบบจาก Tomoaki Uno Architects กลับเลือกที่จะออกแบบผนัง หรือฟาซาดอาคารทั้งหลัง ด้วยคอนกรีตสีเทาโชว์พื้นผิวดิบกระด้าง คอนกรีตหล่อในที่  หากมองจากภายนอก ที่นี่อาจเป็นเเค่อาคารหน้าตาธรรมดา ทว่าในความเป็นส่วนตัวเเละยากเกินคาดเดานั้น ทันทีที่เปิดประตูอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ล้อไปกับผนังคอนกรีต ภายในกลับเเทรกไอเดียการออกแบบไว้ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการทำให้พื้นที่ใช้งานเเต่ละส่วนให้ดูโดดเด่นราวกับถูกเเสงสปอร์ตไลท์ฉายส่องลงมาจากด้านบนตลอดเวลา! โดยเเสงที่ดูราวกับสปอร์ตไลท์ที่ว่านี้ มาจากหลุมหลังคาสกายไลท์ที่มีทั้งทรงกลมเเละสี่เหลี่ยม สำหรับทำหน้าที่นำพาเเสงธรรมชาติเเละอากาศจากภายนอกให้ไหลเวียนถ่ายเทลงมายังพื้นที่บ้านด้านล่าง ช่วยให้พื้นที่ใช้สอยหลักในอาคารขนาด 2 ชั้น ซึ่งชั้นบนเป็นห้องนอนส่วนตัว เเละชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่น ครัว เเละห้องน้ำ ไม่อุดอู้ หรืออับชื้นจนเกินไป เเถมยังสร้างมิติของเเสงเงาขณะตกกระทบกับโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ให้ทั้งเเสงสว่างเเละบรรยากาศของเงาสลัวดูลึกลับ ซึ่งจะค่อย ๆ ขยับองศาไปเรื่อย ๆ ตามทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะพื้นที่นั่งเล่นชั้นล่าง เนื่องจากเป็นบ้านที่ไม่มีหน้าต่าง จึงจำเป็นต้องเพิ่มระดับความสูงของเพดานให้มากถึงสองเท่าเพื่อให้ดูโปร่งสบายไม่อึดอัด ได้รับเเสงทั้งจากช่องบันไดเเละช่องเเสงทรงสี่เหลี่ยมที่ยาวต่อเนื่องลงมาจากชั้นบน ช่วยเพิ่มความสว่างอีกทาง ส่วนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ก็สำคัญ […]

STUDIO LOCOMOTIVE

ที่อยู่ : 156/77 หมู่ที่ 5 ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ : 0-7660-8878 Facebook : Studio Locomotive Website : www.studio-locomotive.com

นำแสงเข้าบ้านด้วยหลังคารับแสง

การทำ หลังคารับแสง หรือสกายไลท์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนำแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน  ช่วยให้ภายในบ้านสว่างไสว ประหยัดค่าไฟฟ้า ทั้งความร้อนจากแสงแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ไล่ความชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้บ้านสะอาด ปลอดเชื้อโรคไม่อับชื้น แต่เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน การทำหลังคารับแสงจึงต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ  คือ 1.ขนาดของหลังคารับแสง ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง โดยทั่วไปกำหนดขนาดหลังคารับแสงไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง ส่วนห้องที่มีหน้าต่างหรือช่องแสงอยู่บ้าง ก็ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมากเกินไป 2.ทิศทางและปริมาณแสง ที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาที่ต้องใช้งานพื้นที่นั้นๆ ทิศเหนือ เป็นแสงที่ดีที่สุด เพราะแสงแดดไม่ร้อนแรง เนื่องจากไม่ใช่ทางโคจรของดวงอาทิตย์ เหมาะกับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ระเบียง/เฉลียง ทิศใต้ ให้แสงเต็มที่ในฤดูหนาว เนื่องจากโลกจะหันแกนด้านทิศใต้รับแสงอาทิตย์ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ควรเป็นโถงบันได ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องครัวก็ยังพอได้ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น บริเวณที่หันเข้าสู่ทิศนี้จะได้รับแสงในตอนเช้า อาจเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ให้แสงสว่างมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงบ่าย อาจเป็นโถงบันได ห้องน้ำ 3.รูปแบบของหลังคารับแสงหรือสกายไลท์ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูปและสั่งทำ โดยแบบสั่งทำมักใช้วัสดุโปร่งแสงประเภทพอลิคาร์บอเนต มีรูปทรงหลากหลาย เช่น ทรงโดม พีระมิด ครึ่งวงกลม เป็นต้น   วัสดุอะไรบ้างที่ยอมให้แสงผ่านได้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส เป็นวัสดุที่ผลิตจากการผสมใยแก้วชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์กลาส) […]

นำแสงเข้าบ้านด้วยหลังคารับแสง

การทำ หลังคารับแสง หรือสกายไลท์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนำแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน  ช่วยให้ภายในบ้านสว่างไสว ประหยัดค่าไฟฟ้า ทั้งความร้อนจากแสงแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ไล่ความชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้บ้านสะอาด ปลอดเชื้อโรคไม่อับชื้น แต่เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน การทำหลังคารับแสงจึงต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ  คือ 1.ขนาดของหลังคารับแสง ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง โดยทั่วไปกำหนดขนาดหลังคารับแสงไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง ส่วนห้องที่มีหน้าต่างหรือช่องแสงอยู่บ้าง ก็ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมากเกินไป 2.ทิศทางและปริมาณแสง ที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาที่ต้องใช้งานพื้นที่นั้นๆ ทิศเหนือ เป็นแสงที่ดีที่สุด เพราะแสงแดดไม่ร้อนแรง เนื่องจากไม่ใช่ทางโคจรของดวงอาทิตย์ เหมาะกับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ระเบียง/เฉลียง ทิศใต้ ให้แสงเต็มที่ในฤดูหนาว เนื่องจากโลกจะหันแกนด้านทิศใต้รับแสงอาทิตย์ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ควรเป็นโถงบันได ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องครัวก็ยังพอได้ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น บริเวณที่หันเข้าสู่ทิศนี้จะได้รับแสงในตอนเช้า อาจเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ให้แสงสว่างมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงบ่าย อาจเป็นโถงบันได ห้องน้ำ 3.รูปแบบของหลังคารับแสงหรือสกายไลท์ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูปและสั่งทำ โดยแบบสั่งทำมักใช้วัสดุโปร่งแสงประเภทพอลิคาร์บอเนต มีรูปทรงหลากหลาย เช่น ทรงโดม พีระมิด ครึ่งวงกลม เป็นต้น   วัสดุอะไรบ้างที่ยอมให้แสงผ่านได้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส เป็นวัสดุที่ผลิตจากการผสมใยแก้วชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์กลาส) […]