สายพันธุ์สุนัข
อิงลิช บูลล์ด็อก (English Bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นชื่อสามัญของสุนัขสายพันธุ์ที่เรียกว่า อิงลิช บูลล์ด็อก หรือ บริติช บูลล์ด็อก โดยบูลล์ด็อกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ อเมริกัน บูลล์ด็อก และเฟรนช์ บูลล์ด็อก โดยต้นกำเนิดของสายพันธุ์บูลล์ด็อกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่หลายคนเชื่อว่า บูลล์ด็อกมาจากเกาะอังกฤษ โดยคำว่า “บูล (bull)” ในชื่อนั้นมาจากการที่พวกมันตกเป็นเหยื่อของกีฬาที่โหดร้ายอย่างกีฬาการต่อสู้กับวัว ตั้งแต่กีฬาถูกห้ามในปี 1835 บูลล์ด็อกได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่ชื่นชอบ เนื่องจากมีความซื่อสัตย์และมีอารมณ์สงบนิ่ง ภายในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาสายพันธุ์บูลล์ด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากบูลล์ด็อกมีลักษณะเฉพาะตัวโดยเป็นสุนัขที่รูปร่างตันขาสั้นมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีใบหน้าเหี่ยวย่นและมีลักษณะเด่นของจมูกที่หุบเข้าไปในใบหน้า โดยมี The American Kennel Club (AKC), The Kennel Club (UK) และ United Kennel Club (UKC) คอยทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีลักษณะไหล่หนาและหัวที่เข้าคู่กัน โดยทั่วไปจะมีผิวหนังที่หนาบริเวณคิ้ว ตามด้วยตาที่กลมโตสีดำ ปากสั้นและจมูกมีลักษณะคล้ายเชือกพับซ้อนกันเป็นชั้นอยู่เหนือจมูก […]
เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย (West Highland White Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย หรือมีชื่อที่รู้จักกันว่าเวสตี้ (Westie) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสกอตแลนด์ (Scotland) มักนำมาเป็นสุนัขนักล่าสัตว์เล็ก เช่น กบ (Foxes), แบดเจอร์ (Badgers), และศัตรูพืช (Vermin) ในปี ค.ศ. 1600 กษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ได้นำสุนัขพันธุ์นี้เข้ามาในประเทศฝรั่งเศส และได้ขนานนามว่าเป็นสุนัขทำงาน (Earthdog) ในต่อมาได้มีการเลิกนำสุนัขพันธุ์เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย มาเป็นสุนัขนักล่า เพราะสุนัขมีสีขนค่อนข้างคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก จึงทำให้นายพรานยิงพลาดบ่อย ๆ สุนัขพันธุ์นี้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการล่าสัตว์ ดังนั้นลูกสุนัขที่เกิดขึ้นจะถูกเก็บไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการยิงพลาดไปโดนสุนัขโดยไม่ตั้งใจ จึงนิยมนำสุนัขมาใช้เพื่อควบคุมสัตว์ศัตรูพืช หรือสัตว์ตัวเล็กเช่น กระต่ายป่า ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 ประเทศอังกฤษ ได้มีการขึ้นทะเบียนสุนัขสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1908 สหรัฐอเมริกา และสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์เทอร์เรีย […]
มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ (Miniature Schnauzer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก พบครั้งแรกในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ที่ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นสุนัขที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ (Standard Schnauzer) กับสุนัขพันธุ์แอฟเฟนพินเชอร์ (Affenpinscher) ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขล่าหนู (Rat hunter) ในฟาร์มเยอรมัน รวมถึงนำมาใช้คุมฝูงสัตว์ในฟาร์ม มักใช้งานคู่กับสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น สุนัขพันธุ์เยอรมัน เชพเพิร์ด (German shepherd) และสุนัขพันธุ์นี้มีความสามารถในการได้ยินเสียงในระยะไกล สามารถระบุตำแหน่งของเสียงที่ได้ยินได้ ในปี ค.ศ. 1899 สุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ได้ถูกแยกออกจากกลุ่มสุนัขพันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ เนื่องจากสุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ มีหน้าตาที่เคร่งขรึม ดูไม่เป็นมิตรแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 1933 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนทั้ง 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์สุนัขมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอร์เรีย (Terrier group) และสุนัขพันธุ์พันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ […]
เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัลเซเชี่ยน (เยอรมัน : Deutscher Schäferhund) เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี เยอรมันเชพเพิร์ดเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ค่อนข้างใหม่ มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1899 โดยจัดอยู่ในกลุ่มของสุนัขต้อนสัตว์และถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต้อนแกะ เนื่องจากมีความแข็งแรง, ฉลาดและถูกฝึกให้เชื่อฟังตามคำสั่ง จึงมักจะถูกฝึกให้ช่วยงานตำรวจและทหารทั่วโลก เนื่องจากความจงรักภักดีและมีสัญชาตญาณในการปกป้อง จึงทำให้ เยอรมันเชพพิร์ด เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนมากที่สุด ลักษณะทางกายภาพ เยอรมันเชพเพิร์ด เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ซึ่งขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 55 – 65 เซนติเมตร (22 – 26 นิ้ว) วัดจากส่วนที่สูงที่สุดของหลัง และมีน้ำหนักระหว่าง 22 – 40 กิโลกรัม (49 – 88 ปอนด์) ความสูงในอุดมคติคือ 63 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ตามมาตรฐานของ Kennel Club เยอรมันเชพเพิร์ดจะมีหน้าผากที่เป็นรูปโดม, จมูกและปากส่วนบนเป็นทรงสี่เหลี่ยมยาวและมีจมูกสีดำ ขากรรไกรมีความแข็งแรงร่วมกับฟันที่คมเหมือนกรรไกร […]
มอลทีส (Maltese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ มอลทีส จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก อยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์ทอย มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Central Mediterranean Area) โดยชื่อพันธุ์ของสุนัขมีความเชื่อว่าเป็นสุนัขที่มาจากเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศมอลต้า (Malta) นอกจากนั้นบางครั้งก็ถูกกล่าวว่ามาจากเกาะเอเดรียติก (Adriatic island) ของประเทศโครเอเชีย (Mljet) หรือมาจากเขตชุมชนซิซิเลีย (Sicilian) ในเมืองเมลิต้า (Melita) สุนัขพันธุ์ มอลทีส ได้รับการยอมรับจากองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) เฉพาะในประเทศอิตาลี (Italy) ในปี ค.ศ.1954 หลังจากนั้นได้ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองอินเตอร์ลาเคน (Interlaken) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในต่อมาองค์กร FCI จึงได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นพันธุ์สุนัขที่ได้รับการยอมรับทั่วไป วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 และได้ถูกนำข้อมูลสุนัขพันธุ์มอลทีสมาแปลภาษาจากภาษาอิตาลีเป็นภาษาอังกฤษ วันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1998 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขมอลทีส […]
ชิสุ (Shih Tzu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ชิสุ จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดมาจากทิเบต และเป็นพันธุ์ที่นิยมในประเทศจีน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ชิสุ มีความหมายว่าเป็นสิงโตน้อย (Little lion) หรือสุนัขตัวเล็ก (Little dog) ในประเทศจีน สุนัขพันธุ์ชิสุ มีลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง (Pekingese) เนื่องจากได้รับการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ชนชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็นสุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 ในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในแถบทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้ได้ความนิยมมากยิ่งขึ้น โดยสมาคม English kennel clubs ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์ลาซา แอปโซ (Lhasa Apso) และในปี ค.ศ.1935 สุนัขพันธุ์ชิสุได้มีการพัฒนาลักษณะประจำสายพันธุ์มากขึ้น ทำให้ถูกขึ้นทะเบียนอีกครั้งเป็นสุนัขพันธุ์ชิสุ แยกออกจากสุนัขพันธุ์ยุโรปอย่างชัดเจน และถูกนำต่อมายังอเมริกา โดยทหารอเมริกาที่กลับมาจากทวีปยุโรป ทำให้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ปากสั้น ตาลึกดำสนิท จมูกเล็กแบน หลังจากกินอาหาร หรือกินน้ำควรทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้ง […]
ปาปิยอง (Papillon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ปาปิยอง (Papillon) เป็นสุนัขขนยาวในกลุ่มทอย (Toy Group) เนื่องจากขนาดตัวที่เล็ก พวกมันสืบเชื้อสายมาจากสแปเนียลพันธุ์แคระที่ได้รับความนิยมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์ปาปิยองได้รับการตั้งชื่อตามรูปลักษณ์ที่โดดเด่นของพวกมัน โดยหูของปาปิยองมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือตั้งตรง มีขนยาว และแผ่ออกคล้ายกับผีเสื้อจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของสายพันธุ์ โดยคำว่า “Papillon” ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าว่า “ผีเสื้อ” พวกมันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชนชั้นสูงในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และโดยทั่วไปจะถูกนำมาเป็นของขวัญสำหรับการมาเยือนของขุนนางจากประเทศต่าง ๆ ถึงแม้ว่าปาปิยองในยุคแรก ๆ จะมีลักษณะหูที่ตั้งขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกในครอกของพวกมันสามารถพบได้ทั้งแบบหูตั้งและหูตกแตกต่างกันไป โดยปาปิยองหูตกเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟาแลน (Phalene) หรือ “moth” ในภาษาฝรั่งเศส ชื่อเหล่านี้ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจำแนกลักษณะหูของปาปิยอง ปาปิยอง ถูกขยายพันธุ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นสุนัขตัวเล็ก ๆ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกและถูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อน ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีความฉลาดในการทำงานในด้านอื่น ๆ ก็ตาม ปาปิยองเป็นสุนัขตัวเล็กที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 4-9 ปอนด์และมีความสูง 8-11 นิ้วและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของสุนัขกลุ่มทอยที่เก่าแก่ที่สุด ความนิยมอย่างต่อเนื่องของพวกมันได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเหมาะสมในการทำหน้าที่ในฐานะเพื่อนคู่หูของมนุษย์ ถึงแม้ว่าที่มาของสายพันธุ์จะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อกันว่าสายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสุนัขสายพันธุ์คอนทิเนนทัล ทอย สแปเนียล (Continental Toy Spaniel) ในประเทศฝรั่งเศสช่วงกลางศตวรรษที่ 16 […]
อเมริกันพิทบูลเทอเรีย (American Pit bull terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อก กับ สุนัขเทอร์เรีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สุนัขที่มีความแข็งแกร่ง และความปราดเปรียว จนได้รับรางวัลสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีความแข็งแรงและความน่าประทับใจ นอกจากนี้ อเมริกันพิทบูลยังถูกใช้ช่วงสงครามในฐานะผู้พิทักษ์ ด้วยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ที่มีความก้าวร้าว และความน่าเกรงขาม ต่อมา ในปี 1920 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการล่อกระทิง และการต่อสู้อื่น ๆ อย่าง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) การไล่ล่า และการลากน้ำหนัก จนขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัข “Fighting dog” จากนั้นในปี 1980 ในสื่อภาพยนต์ รูปภาพเริ่มมีการใช้ภาพของสุนัขสายพันธุ์นี้มากขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เริ่มมีความคุ้นชินกับมนุษย์มากขึ้น รักความสงบมากขึ้น รักธรรมชาติ มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากขึ้น และเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับสุนัขสายพันธุ์ Staffordshire terriers รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล จาก United Kennel Club (UKC) อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ อเมริกันพิทบูล […]
ปักกิ่ง (Pekingese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ปักกิ่ง จัดเป็นสุนัขพันธุ์ทอย ในชื่อทางภาษาอังกฤษสามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น Pekingese, Pekinese, หรือ Peke ที่มาของชื่อมาจากการที่มีลักษณะคล้ายสุนัขสิงโต (Lion dog) หรือ Pelchie dog มีความเชื่อเสมือนคล้ายสิงโตจีน (Chinese guardian lion) และชื่อพันธุ์มีความสัมพันธ์กับชื่อเมืองปักกิ่ง (Beijing) ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดที่มาจากประเทศจีน โดยสุนัขพันธุ์นี้จะเลี้ยงได้ในเฉพาะราชสำนักต้องห้ามเท่านั้น มีความเป็นมามากกว่า 2,000 ปี เป็นสุนัขพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว พัฒนามาจากการผสมสุนัขข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ชิสุ (Shih Tzu) และลาซา แอพโซ (Lhasa Apso) จากนั้นการเลี้ยงสุนัขพันธุ์ปักกิ่งได้ความนิยมในสหรัฐอเมริกา สมาคม American Kennel Club มีการจดทะเบียนสุนัขพันธุ์ปักกิ่งไว้ใน ปี ค.ศ.1906 ก่อนจะมีการจัดตั้งสมาคม Pakingese Club of America ขึ้น และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกในสมาคม American Kennel Club ในปี […]
ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ (Yorkshire terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็กในตระกูลสายพันธุ์เทอร์เรียร์ พบถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1800 นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ยอร์กกี้ (Yorkie) โดยองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้จดทะเบียนให้อยู่ในสุนัขพันธุ์ทอย รวมถึงสมาคม Kennel Clubs ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มสุนัขคู่หู ซึ่งเป็นที่รู้จักเมื่อมีการชนะการประกวดสุนัข และได้รับความนิยมเป็นสุนัขคู่หูในเวลาต่อมา สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นความคิดที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขอื่น ๆ หลายพันธุ์รวมกัน เช่น สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียน ซิลกี้ เทอร์เรียร์ (Australian Silky Terrier) สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นที่รู้จักครั้งแรก ที่ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1872 หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี […]
บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ได้รับการขนานนามว่าเป็นสุภาพบุรุษแห่งอเมริกา (the American Gentlemen) พบครั้งแรกในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ของรัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) ในสหรัฐอเมริกา มีการกล่าวถึงความเป็นมาของสายพันธุ์มากมาย ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าความเป็นมาที่แท้จริงคือข้อมูลจากแหล่งไหน แต่มีข้อมูลที่ตรงกัน คือเป็นสุนัขพันธุ์ทางที่มาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์บูลด็อก (Bulldog) กับสุนัขพันธุ์ไวท์ อิงลิช เทอร์เรีย (White English Terrier) ชื่อ Burnett’s Gyp ในต่อมาได้มีการนำสุนัขพันธุ์ทางที่ทำการผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ มาผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์อิงลิช เทอร์เรีย (English Terrier) และได้คลอดลูกสุนัขเพศผู้ออกมาชื่อ Well’s Eph เป็นสุนัขทั่วไปที่ไม่ได้รับความสนใจ หลังจากนั้นได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขเพศเมียพันธุ์อิงลิช เทอร์เรียลายทอง (golden brindle English Terrier) ชื่อ Tobin’s Kate และได้คลอดลูกออกมา โดยลูกสุนัขที่คลอดออกมาจะถูกเรียกเป็นสุนัขพันธุ์บอสตัน เทอร์เรีย ทั้งหมดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุนัขสายพันธุ์บอสตัน เทอร์เรีย […]
บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) เดินทางมาถึงประเทศฝรั่งเศสช่วงก่อนศตวรรษที่ 14 ในขณะที่ถิ่นกำเนิดที่แน่นอนของสุนัขพันธุ์นี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ความเชื่อส่วนใหญ่ได้กล่าวไว้ว่าบิชอง ฟริเซ่ ถือกำเนิดขึ้นมาจากสุนัขพันธุ์บาร์เบท (Barbet) ซึ่งเป็นสุนัขขนาดกลาง ส่วนวิธีที่มันเดินทางมาถึงฝรั่งเศสยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ หลายคนกล่าวว่าพ่อค้านำมันมาจากอิตาลีและสเปนตามเส้นทางการค้า ในขณะที่คนอื่นเชื่อว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสนำพวกมันกลับมาหลังจากที่พวกเขาทำการบุกอิตาลีในศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทราบกันดีคือสุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในยุโรปในช่วงระยะเวลานั้น บิชอง ฟริเซ่ได้รับความนิยมจากกลุ่มชนชั้นสูง กษัตริย์ ราชวงศ์ และศิลปินที่มีชื่อเสียง บิชอง ฟริเซ่ได้รับการยกระดับในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียน แต่ความนิยมก็ได้ลดลงภายหลังจากที่ผู้เพาะพันธุ์จำนวนมากได้สร้างความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้บิชอง ฟริเซ่สูญเสียความพิเศษเฉพาะตัวและกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงทั่ว ๆ ไป หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้เพาะพันธุ์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการคงไว้ซึ่งเชื้อสายของบิชอง ฟริเซ่ เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์ลาบราดอร์ (Labradors) อันที่จริงสายพันธุ์นี้เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงของการฟื้นฟูประเทศ อย่างไรก็ตามผู้เพาะพันธุ์สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ของบิชอง ฟริเซ่ สร้างชื่อเสียงให้กับสุนัข และได้ทำการส่งออกไปยังทวีปอื่น ๆ โดยสุนัขสายพันธุ์บิชอง ฟริเซ่ได้เข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และได้รับการยอมรับจาก AKC ในปี 1975 ลักษณะทางกายภาพ บิชอง ฟริเซ่ เป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีน้ำหนักประมาณ 5 […]
ปั๊ก (Pug) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ปั๊ก หรือ หมาปั๊ก เป็นสุนัขพันธุ์ทอย (Toy) คืออยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์เล็กมีลักษณะลำตัวย่น จมูกสั้น และหางขด สุนัขพันธุ์นี้มีความร่าเริง ขนมันเงาและมีหลากหลายสีและมีลำตัวเหลี่ยม ตันที่มีกล้ามเนื้อจำนวนมาก พวกมันถูกนิยามเหมือน multum in parvo หรือ น้อยแต่มาก โดยมีที่มาจากลักษณะนิสัยของสุนัขพันธุ์ปั๊กและขนาดตัวที่เล็กของมัน โดยบรรพบุรุษของมันมาจากประเทศจีนเมือง Lo-sze ซึ่งน่าจะมาจาก 2 สายพันธุ์นี้ คือ ปักกิ่ง (Pekiness) และ คิงส์ ชาวส์ สเปเนียล (King Charles spaniel) ทำให้พวกมันมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ในปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ไอรีแลนด์ และสตอตแลนด์ ปัญหาสุขภาพที่พบได้ในสุนัขพันธุ์ปั๊ก ไม่ว่าจะเป็นทนความร้อนได้ไม่ดี โรคอ้วน ปัญหาบริเวณคอหอยทำให้ปั๊กหายใจเสียงดัง (pharyngeal reflex) และอีก 2 โรคที่ค่อยข้างรุนแรง คือ สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบมีเนื้อตาย (necrotizing meningoencephalitis) และกระดูกสันหลังเจริญไม่สมบูรณ์ (hemivertebrae) […]
ชิวาวา (Chihuahua) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ชิวาวา แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชิวาวา หลายคนเชื่อว่า ประเทศเม็กซิโก ในยุคที่ชนเผ่ามายาและชนเผ่า Toltec ถือครองดินแดน เป็นต้นกำเนิดเริ่มแรกของ สุนัขพันธุ์ ชิวาวา (Chihuahua) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยมีสีและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ชิวาวา ถูกจำแนกออกเป็น 2 สายพันธุ์ตามความแตกต่าง คือ พันธุ์ขนสั้นและขนยาว ดวงตาที่กลมโต ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น และร่างกายขนาดเล็กเป็นคุณสมบัติหลักของชิวาวา ความฉลาดเป็นอย่างมากของพวกมันก็เป็นอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่เป็นที่ชื่นชอบในสายพันธุ์นี้ ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปแล้วความสูงของชิวาวาไม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ มีเพียงน้ำหนักและคำอธิบายสัดส่วนโดยรวมของพวกมันที่ถูกระบุไว้ ส่งผลทำให้พวกมันมีความสูงที่แตกต่างกันมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วชิวาวาจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 6-10 นิ้ว แต่อย่างไรก็ตามชิวาวาบางตัวสามารถสูงได้ถึง 12-15 นิ้ว (30 ถึง 38 ซม.) จากมาตรฐานสายพันธุ์ของทั้งอังกฤษและอเมริกาได้ระบุไว้ว่าชิวาวาต้องหนักไม่เกิน 6 ปอนด์เพื่อความสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานของอังกฤษระบุว่าชิวาวาควรมีน้ำหนัก 2-4 ปอนด์และถ้าหากสุนัขทั้งสองตัวดีพอ ๆ กันควรเลือกตัวที่มีขนาดเล็กกว่า มาตรฐานของ Fédération Cynologique Internationale (FCI) มีความต้องการให้สุนัขในอุดมคติมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง […]
บูล เทอร์เรีย (Bull Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บูล เทอร์เรีย เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีนักสำรวจชื่อ James Hinks ได้ทำการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์บูลด็อก (Bulldog) กับสุนัขพันธุ์โอลด์ อิงลิช เทอร์เรีย (Old English Terrier) ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำสุนัขที่ทำการผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ มาผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ไวท์ บูล เทอร์เรีย (White Bull Terrier) จึงได้สุนัขที่มีขนสีขาวล้วนทั้งตัว ซึ่งสุนัขที่ได้ทำการผสม 3 สายพันธุ์ ได้ถูกตั้งชื่อพันธุ์เป็นพันธุ์ ไวท์ คาวาเลียร์ (White Cavalier) เป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชนชั้นสูง และทำให้สุนัขเป็นที่สนใจจนถึงปัจจุบัน ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 สุนัขพันธุ์บูล เทอร์เรีย ถูกนำมาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และได้รับความนิยมเป็นอย่างกว้างขวางในเวลาไม่นาน หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี ค.ศ. 1885 […]
บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนานเกือบเท่ากับมนุษยชาติ เมื่อหลายศตวรรษก่อน ในภูมิประเทศระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในนาม Anglo-Scottish border มีคนเลี้ยงแกะจำนวนมากใช้ “สุนัขต้อนแกะ” เพื่อเฝ้ายามและคอยฟังเสียงฝูงสัตว์ของพวกเขา โดยพวกมันมีเชื้อสายโดยตรงของคอลลี่ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมักพบในเกาะอังกฤษ อย่างไรก็ตามชื่อคอลลี่ (Collie) ปรากฏครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจากภาษา Celtic (ภาษาที่คนอินโด-ยุโรปใช้) แปลว่า “มีประโยชน์” สายพันธุ์แท้เกือบทั้งหมดของคอลลี่ได้ถูกบันทึกไว้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสุนัขพันธุ์ Old Hemp ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคคอลลี่ โดย Old Hemp เป็นสุนัขสามสีที่เกิดใน Northumberland ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 Old Hemp กลายเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นหนึ่งในสุนัขที่ฉลาดที่สุดและเป็นสุนัขไล่ต้อนที่มีการตอบสนองได้ดีจนเป็นที่ยอมรับมาถึงปัจจุบัน Old Hemp มีความแข็งแรงและมีพละกำลัง สามารถโต้ตอบได้ดีกว่าสุนัขเลี้ยงแกะสายพันธุ์อื่น ๆ ในยุคนั้น ภายหลัง Adam Telfer เจ้าของ Old Hemp ได้นำมันมาเป็นต้นแบบในการขยายพันธุ์ ในปีค.ศ. 1915 มีชายคนหนึ่งชื่อ James […]
เกรทเดน (Great Dane) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ เกรทเดน (Great Dane) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นสุนัขล่าหมูป่า ชาวเยอรมนีได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์จนเกรทเดนมีลักษณเหมือนกับสุนัขสายพันธุ์ไอริช วูล์ฟฮาวน์ด (Irish Wolfhounds) ในด้านของความสูงคล้ายกับมาสทิฟฟ์ (Mastiffs) ในด้านมวลกล้ามเนื้อและคล้ายกับเกรย์ฮาวน์ด Greyhounds ในด้านของความเร็ว สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ชื่อเริ่มแรกของพวกมันคือ English Docke หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น German Boarhound เชื้อพระวงศ์ใช้เกรทเดน เพื่อการล่าหมูป่า กวาง และหมีรวมถึงช่วยในการอารักขาเจ้าหญิงจากการถูกลอบทำร้าย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้เพาะพันธุ์ชาวเยอรมนีพยายามที่จะเปลี่ยนชื่อพวกมันเป็น German Mastiff เพื่อให้ชื่อของสุนัขฟังดูหรูหราแทนที่จะฟังดูเหมือนกับเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่เอาไว้ใช้งาน เกรทเดน เป็นชื่อสุดท้ายที่มีการเรียกขานกันเมื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสเดินทางไปที่ประเทศเดนมาร์กและได้เห็นเกรทเดน ในบันทึกเขาเรียกสุนัขตัวนั้นว่า Grand Danois ซึ่งหมายถึง Great Danish Dog ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแต่สุดท้ายมันก็ถูกเปลี่ยน เมื่อเวลาผ่านไปนิสัยก้าวร้าวที่ใช้ในการล่าหมูป่านั้น ถูกกำจัดออกจากสายพันธุ์ ทำให้เกรทเดนเป็นสุนัขตัวโตที่มีความอ่อนโยนอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ลักษณะทางกายภาพ จากคำอธิบายของ American Kennel Club เกรทเดนมีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรงด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ มีรูปร่างดีและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ใหญ่ที่สุด เกรทเดนเป็นสุนัขสายพันธุ์ขนสั้นที่มีรูปร่างแข็งแรง อัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงของขนาดตัวควรเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส […]
ค็อกเกอร์ สแปเนียล (Cocker Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ค็อกเกอร์ สแปเนียล เป็นสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน (Spain) มีการกล่าวถึงความเป็นมาของสายพันธุ์เป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถระบุจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์ได้ แต่มีข้อมูลที่ตรงกันคือ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์สแปเนียลมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มสุนัขบ้าน (Home dog) และกลุ่มสุนัขนักล่า (Hunting dog) โดยค็อกเกอร์ สแปเนียล ถูกจัดเป็นสุนัขนักล่า เป็นสุนัขที่มีความคล่องแคล่วในการล่านก Woodcock ในปี ค.ศ. 1892 สุนัขพันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียล ได้รับการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์เป็นครั้งแรก จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์อิสระ (Independent breed) และในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้น ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สุนัขพันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (Post World War II) ในปี ค.ศ. 1946 สมาคม The American […]