สุนัข
ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า แลป) มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ของประเทศแคนนาดา และมีชื่อดั้งเดิมว่า เซนต์ จอห์น (St. John’s) พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันในภายในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวชาวประมง เพราะลาบราดอร์สามารถช่วยชาวประมงในการจับปลา ฉลาดมากพอที่จะปลดตะขออกจากปลาและแข็งแกร่งมากพอในการว่ายน้ำได้ระยะทางไกล และยังทำหน้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่รักโดยจะเดินกลับบ้านกับเจ้าของหลังจากเลิกงานได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นั้น เกิดจากการผสมระหว่างสุนัขสายพันธุ์ใด นักประวัติศาสตร์คาดว่า พวกมันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสุนัขนิวฟันด์แลนด์และสุนัขในท้องถิ่นอีกหนึ่งสายพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ พวกมันเริ่มได้รับความนิยมเมื่อมีการนำลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์เข้ามาสู่เกาะอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยขุนนางในสมัยนั้นที่เห็นถึงลักษณะพิเศษของพวกมัน เริ่มแรกเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ปีก ซึ่งบางครั้งการล่าสัตว์จำเป็นต้องเข้าไปในป่า มีความลำบากมาก ดังนั้นจึงต้องเลือดสุนัขสายพันธุ์เฉพาะ เพื่อช่วยในการค้นหาเหยื่อที่ถูกยิง แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นลาบราดอร์ยังต้องนำเข้าจากประเทศแคนาดา ด้วยกฎหมายการเก็บภาษีที่แพงมาก ทำให้จำนวนของพวกมันจึงลดน้อยลงจนเกือบจะเลิกเพาะพันธุ์ แต่ในเวลาต่อมายังมีกลุ่มคนที่ยังคงสนใจสายพันธุ์นี้อยู่ จึงได้ริเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ โดยผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธ์ลาบราดอร์ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงสีดำเท่านั้น กับสุนัขในกลุ่มรีทรีฟเวอร์ หลังจากที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ในภายหลัง ทำให้เกิดสีเหลืองหรือสีครีมตามมา ซึ่งได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่มีความสามารถ สามารถเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่าสัตว์ อีกทั้งยังสามารถใช้พวกมันปฏิบัติการพิเศษ ในการตรวจค้นหายาเสพติด หรือทำการค้นหาระเบิด ตลอดจนกระทั่งสามารถช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาได้อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ […]
ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)
ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]
โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)
โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]
โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)
ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]
บ็อกเซอร์ (Boxer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ 1.สุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ (Bullenbeisser) เป็นสุนัขนักล่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 2.สุนัขไม่ทราบสายพันธุ์ 3.อิงลิช บูลด็อก (English bulldog) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มีชาวเยอรมัน Georg Alt ได้นำสุนัขเพศเมียพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ผสมพันธุ์กับสุนัขที่ไม่ทราบสายพันธุ์ และได้ออกลูกสุนัขเพศผู้ออกมาเป็นสุนัขแคระ สีครีมปนขาว (Cream with White) ชื่อ Lechner’s Box ซึ่งสุนัขชื่อ Lechner’s Box ตัวนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์บ็อกเซอร์ที่ได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยสุนัขชื่อ Lechner’s Box ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขเลือดชิด (Inbreed) คือสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันผสมพันธุ์กัน และได้ออกลูกสุนัขเพศเมียออกมา ชื่อ Atl Shecken ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ หรือสุนัขพันธุ์ Bier boxer และสุนัขชื่อ Atl Shecken […]
เกรฮาวด์ (Greyhounds) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เกรฮาวด์ (Greyhounds) ถือเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากนั้นเกรฮาวด์ได้ถูกนำเข้ามายังทวีปยุโรปในช่วงยุคมืด เพื่อชื่นชมความสามารถในการล่าสัตว์ของสายพันธุ์นี้ และจากการที่เกรย์ฮาวด์เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมากกว่าสุนัขล่าสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้สุนัขพันธุ์เกรฮาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเกิดเป็นกีฬาแข่งขันความเร็วของสุนัขเกรฮาวด์ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นนักสำรวจเรือชาวสเปน และอังกฤษได้นำสุนัขพันธุ์เกรฮาวน์เข้ามายังประเทศอเมริกา และได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์แรก ๆ ที่ได้เข้าแข่งขันประกวดสุนัข และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในสมาคม American Kennel Club ในปี 1885 ลักษณะทางกายภาพ โดยปกติสุนัขเพศผู้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 71-76 เซนติเมตร และหนักประมาณ 27-40 กิโลกรัม ส่วนในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 68-71 เซนติเมตร และมีน้ำหนักในช่วง 27-34 กิโลกรัม เกรฮาวด์ เป็นสุนัขที่มีขนค่อนข้างสั้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสุนัขเกรฮาวน์มีสีทั้งหมดประมาณ 30 แบบ ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของสีขาว, สีดำด่าง, สีเหลืองทอง, สีน้ำตาลแดงและเทา โดยแต่ละสีสามารถปรากฏแบบเดี่ยว ๆ หรือผสมรวมกัน อายุขัย เนื่องจากสุนัขเกรฮาวน์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ทำให้มีอายุขัยสั้นกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ซึ่งโดยปกติมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี […]
โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)
โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]
โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)
โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]
เรื่องต้องรู้ก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด
ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทุกภาคส่วนพยายามหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืนร่วมกัน แน่นอนว่าทางแก้ปัญหาที่ง่ายทางหนึ่งคือการลดจำนวนสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ การลดจำนวนประชากรทำได้หลายวิธีและหนึ่งในวิธีที่ดีก็คือการเปลี่ยนจากสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของให้มีเจ้าของ หรือพูดให้ง่ายก็คือการหาบ้านให้สัตว์เหล่านี้นั่นเองค่ะ หลายท่านที่อยากจะเลี้ยงสุนัขหรือแมวสักตัวคงมีตัวเลือกของการรับอุปการะสัตว์เหล่านี้อยู่ในใจ เพราะนอกจากเราจะได้เพื่อนซี้สี่ขาเพิ่ม หมาแมวเหล่านี้ได้บ้านใหม่แล้ว ยังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในสังคมอีกด้วย แต่การจะรับสุนัขหรือแมวสักตัวมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จรจัดมาก่อนหรือไม่สิ่งที่เราควรจะคิดก่อนเป็นอันดับแรกคือ ตัวเรามีความพร้อมจะเลี้ยงพวกเขาเหล่านี้แล้วหรือยัง เพราะถ้าตัวเราไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านสถานที่ เหตุผลของเวลา หรือเหตุผลจากปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินก็ดีแล้วล่ะก็ เราอาจจะกำลังเป็นสาเหตุของปัญหาสุนัขและแมวจรจัดแทนที่จะเป็นคนช่วยแก้ปัญหานี้ก็ได้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งจริงๆ ก็มีพื้นฐานเหมือนการเตรียมตัว เพื่อจะเลี้ยงสุนัขและแมวทั่วไป แต่อาจจะมีรายละเอียด ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขบ้างอย่างที่เราควรต้องรู้ก่อนรับสัตว์เหล่านี้มาเลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบ้านของสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ได้อย่างถาวร การเตรียมตัวรับสมาชิกใหม่ 1.เตรียมความรู้และความเข้าใจ ความรู้และความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากสำหรับการรับสัตว์สักตัวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน ความเข้าใจนี้ครอบคลุมทั้งความเข้าใจ ”เขา” และความเข้าใจ ”เรา” ซึ่ง “เขา” ที่ว่าคือน้องหมาหรือน้องแมวที่เรากำลังจะรับมาเลี้ยง หากเป็นไปได้เราควรจะเล็งไว้บ้างว่าน้องหมาหรือน้องแมวตัวไหนที่เราจะรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ เพื่อจะได้รู้ข้อมูลพื้นฐานของเขา เช่น เป็นสุนัขหรือเป็นแมว สายพันธุ์อะไร ตัวใหญ่แค่ไหน ขนสั้นหรือขนยาว ตัวเมียหรือตัวผู้ อายุเท่าไหร่ มีประวัติมาอย่างไรบ้าง เพราะประวัติสามารถบอกนิสัยคร่าวๆ และเงื่อนไขของสัตว์แต่ละตัวได้ เช่น สุนัขหรือแมวบางตัวมีประวัติเรื่องการทำร้ายร่างกาย อาจทำให้สัตว์เหล่านั้นมีนิสัยหวาดระแวงคนแปลกหน้าหรือสัตว์ตัวอื่นมากกว่าปกติ บางตัวเป็นสัตว์เลี้ยงพิการที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสัตว์เหล่านี้จะทำให้เราสามารถนำมาเตรียมอุปกรณ์สถานที่ต่างๆ […]
โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)
โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease) หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]
ความสำคัญและความจำเป็นของชั้นเรียน Puppy Class
ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เลี้ยงสุนัข มักไม่สนใจในเรื่องของการฝึก หรือศึกษาในแนวทางการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข เพื่อให้โตขึ้นไปเป็นสุนัขโตที่ดี หรือมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ มักมองแค่ว่าสุนัขก็คือสุนัข เลี้ยง ๆ ไว้ในบ้านมีอาหารให้กิน มีที่นอน มีของเล่นให้เล่น ก็เพียงพอแล้ว หรือบางท่านก็เน้นแต่การตามใจโดยไม่ได้คำนึงถึงการฝึกหรือปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข แต่เกือบทุกท่านจะกลับมาคำนึงหรือรู้สึกถึงความสำคัญของการฝึกหรือศึกษาวิธีการเลี้ยงดู เมื่อสุนัขของตัวเองเริ่มมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเช่น ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง เห่าหอน ขี้กลัว ดุ ก้าวร้าว ฯลฯ บางตัวแสดงอาการตั้งแต่ยังเล็ก (ก่อน 4 เดือน) ก็ยังพอจะกลับมาปรับปรุงให้เข้ารูปเข้ารอยได้เร็ว แต่หลายตัวกว่าเจ้าของจะสังเกตเห็นก็คือตอนหลังจากเป็นวัยรุ่นแล้ว (ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) แบบนี้ก็จะลำบากทั้งเจ้าของและคนฝึกครับ ทั้งที่เรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันได้ถ้าเลี้ยงถูกวิธีหรือปูพื้นฐานที่ดีตั้งแต่ตอนเป็นลูกสุนัข ด้วยเหตุนี้ การฝึกและการสอนตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขจึงเป็นวิ่งจำเป็นและสำคัญมากครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า 1. ระบบการเรียนรู้ของสุนัข แม้จะเรียนรู้ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต แต่ช่วงสำคัญของสุนัขที่จะเปิดรับเพื่อดูดซับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อการปรับตัวให้มีพื้นฐานทางนิสัยที่ดี จะอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนครับ ช่วงนี้ลูกสุนัขจะเปิดรับและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งที่เราป้อนให้เขาได้อย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นประตูที่เปิดบานนี้จะค่อย ๆ ปิด ซึ่งพอปิดแล้ว ปัญหาคือการภายหลังจากการปิดแล้ว การจะปูพื้นพฤติกรรมใหม่มันจะเริ่มอยู่ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมใหม่ ซึ่งถ้ามาปรับแก้ไขหลังจากประตูปิดไม่นานเร็วก็จะยังแก้ไขได้เร็ว แต่ถ้าปล่อยไว้นาน […]
7 วิธีเล่นกับสุนัข ทั้งสนุกและสร้างสรรค์
การเล่นกับสุนัขมีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว หากเล่นได้ถูกต้องและสร้างสรรค์ยังช่วยฝึกฝน พัฒนาสมองและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับสุนัขอีกด้วย ที่สำคัญที่สุดเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น วันนี้บ้านและสวน Pets จึงมีเคล็ดลับและ วิธีเล่นกับสุนัข แบบสร้างสรรค์มาฝากค่ะ การเล่นสนุกกับสุนัขมีหลายวิธี ที่ได้ทั้งความสนุกเพลิดเพลิน มีทั้งรูปแบบที่วางขายอยูู่ หรือจะ DIY จากของเหลือใช้หรือของใกล้ตัวก็เล่นได้ง่าย ๆ ลองเลือกดูจาก 7 วิธีเล่นกับสุนัข ที่ บ้านและสวน Pets นำมาฝากได้เลยค่ะ เล่นซ่อนแอบ – การเล่นแบบนี้คือให้สุนัขนั่งรอและคอย คุณไปแอบแล้วส่งเสียงให้สุนัขตามหาคุณให้เจอ หรือ เอาของเล่นหรือขนมไปซ่อน แล้วกระตุ้นให้สุนัขไปหา การเล่นแบบนี้เป็นเกมที่ดีมากในการฝึกประสาทสัมผัสเรื่องการดมกลิ่น เมื่อน้องเจอเราก็ให้ชมหรือให้ขนมเป็นรางวัล อยู่มือไหนนะ? – การเล่นแบบนี้เป็นเกมลับสมองที่ง่ายมาก เพียงแค่คุณหยิบขนมสุนัขซ่อนไว้ในมือ ปล่อยให้สุนัขดมมือของคุณแล้วถามเขาว่าขนมอยู่มือไหนนะ? สุนัขจะใช้จมูกดมกลิ่น ตอนแรกอาจจะเป็นการเดา แต่เมื่อประสาทสัมผัสถึงกลิ่นขนมที่ชัดเจน เขาจะใช้จมูกดันมือที่มีขนมอยู่อย่างเต็มที่ เราก็ค่อยหงายมือออกและยื่นขนมให้เป็นรางวัล ไปเก็บมาซิ! – คุณนำลูกบอลมาแล้วชักชวนให้สุนัขเล่น โดยเริ่มจากให้สุนัขทำตามลำดับคำสั่งคือ นั่ง-คอย-ไปเก็บมาและปล่อย โดยคุณเป็นผู้เก็บบอลไว้ จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป ซึ่งการเล่นแบบนี้สอนให้สุนัขรู้จักกติกาว่าเมื่อไรจะต้องทำอะไร […]
น้ำมันตับปลา vs น้ำมันปลา เหมือนกันหรือไม่ ?
จากประสบการณ์การทำงานหลายปีของผู้เขียน พบว่ามีความสับสนของเจ้าของเกิดขึ้นบ่อยมาก ระหว่างน้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลา บางครั้งบอกให้ไปซื้อน้ำมันปลากิน สุดท้ายได้น้ำมันตับปลามากินเฉยเลย ทั้งนี้อาจเป็นความคุ้นเคยแต่เด็กของเราด้วย เราอาจจะรู้สึกคุ้นเคยกับน้ำมันตับปลามากกว่า ทั้งที่จริง ๆ แล้ว น้ำมันตับปลา และ น้ำมันปลา แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งส่วนประกอบ สรรพคุณ และข้อบ่งใช้ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาทำความรู้จักน้ำมันทั้งสองชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ซื้อให้สัตว์เลี้ยงของเรากินได้อย่างถูกต้องตามประโยชน์ที่เราต้องการค่ะ น้ำมันตับปลา (cod liver oil) มาเริ่มกันที่น้ำมันตับปลาก่อนนะคะ น้ำมันตับปลา คือน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล เช่น ปลาค็อด ภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า cod liver oil น้ำมันตับปลาเต็มไปด้วยวิตามินเอ และดีสูง ซึ่งวิตามินเอจะช่วยสร้างเยื่อบุผิวหนัง และกระดูก สร้างภูมิต้านทานโรค และช่วยบำรุงสายตาให้สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืด หรือในที่ที่มีแสงสลัว ส่วนวิตามินดีจะสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากอาหารค่ะ แต่ถึงแม้ว่าน้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ และดีสูง แต่ตับก็เป็นแหล่งอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการทานน้ำมันตับปลามากเกินความจำเป็น ก็อาจทำให้ร่างกายประสบปัญหาคลอเลสเตอรอลสูงเกินตามไปด้วย นอกจากนี้วิตามินเอ และดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน หากทานน้ำมันตับปลามาก […]
ข้อดีและข้อเสียของการ ทำหมันสุนัข และแมว
การควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยง การทำหมันสุนัขและแมว โดยการผ่าตัด เป็นวิธีที่สัตวแพทย์แนะนำ เนื่องจากเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพถาวร
เมื่อสุนัขหรือแมวจมูกแห้ง แปลว่าป่วยจริงหรือไม่?
ผู้เลี้ยงสุนัขและแมวส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินมาว่า ความชื้นหรือแห้งของจมูกนั้น สามารถบอกถึงการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงได้ และบางครั้งเวลาที่เราเห็น สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง ผิดปกติ ก็อาจจะรู้สึกกังวลว่า ตอนนี้สัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า หมาจมูกแห้ง บ้านและสวน Pets คงต้องขอเล่าว่าตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว จมูกสุนัขและแมวจะประกอบด้วย รูจมูก (Nares) ขีดแบ่งแยกตรงกลาง (Philtrum) และ พื้นผิวด้านบนปลายจมูกซึ่งเป็นตรงส่วนที่ไม่มีขน (Nasal planum) ซึ่งตรงส่วนที่เรียกว่า Nasal planum นี่ละคือส่วนที่เราสังเกตได้ว่า สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง อยู่หรือไม่ ปกติแล้วหน้าที่หลักของจมูก คือ การดมกลิ่น ซึ่งจมูกสุนัขสามารถรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึงพันเท่า ส่วนอีกหน้าที่สำคัญสำหรับจมูกในสุนัขและแมว คือ การระบายความร้อน โดยบริเวณจมูกและฝ่าเท้าของสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อที่มีลักษณะเป็นท่อเปิดออกบนพื้นผิวของผิวหนัง ทำให้สามารถขับน้ำออกมาได้ แต่การระบายความร้อนวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักที่ร่างกายของสุนัขและแมวใช้ เพราะ การระบายความร้อนของสุนัขและแมวจะระบายออกจะใช้วิธีการการหายใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่มีต่อมเหงื่ออยู่ที่บริเวณผิวหนัง มีงานวิจัยที่ทดลองเทียบคุณสมบัติของเหงื่อมนุษย์และสุนัขแล้วพบว่า เหงื่อของมนุษย์และสุนัขมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำที่คล้าย ๆ กัน แต่ด้วยปริมาณต่อมเหงื่อของสัตว์ที่น้อยกว่ามนุษย์ ทำให้เราไม่เห็นเม็ดเหงื่อที่ชัดเจนเหมือนในมนุษย์หรืออาจทำให้ดูว่าแห้งได้ […]
ประเภท และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง
หากสุนัข หรือแมวที่เราเลี้ยงอยู่ในบ้านตลอด ไม่เคยได้ออกไปไหน หรือที่ทุกคนเรียก การดูแลแบบนี้ว่า “ระบบปิด” หรือแบบ Indoor ยังจะจำเป็นต้องให้น้อง ๆ ได้รับการฉีดวัคซีน หรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองของน้อง ๆ หลายท่านคงเคยมีความสงสัยกันว่า การฉีดวัคซีนในลูกขนปุยของเราจำเป็นจะต้องทำไหม ควรจะทำแบบไหน เมื่อไหร่บ้าง ถึงจะดีกับลูก ๆ ของเรามาที่สุด วันนี้ บ้านและสวน Pets มาไขข้อข้องใจกับประเภท วิธีการ และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง กันค่ะ ต้องบอกตามตรงว่า การฉีดวัคซีนใน สุนัข และแมว รวมถึงสัตว์พิเศษบางชนิด (Exotic pet) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคร้ายแรงบางโรคหากติดแล้วอาจจะไม่มีทางรักษาให้หายได้ บางโรคก่อความผิดปกติ อาการรุนแรง รักษาได้ยากถึงแม้จะใช้ยา และนวัตกรรมที่ดีที่สุด ก็ทำได้อย่างยากลำบาก และอาจจะพรากชีวิตสมาชิกที่เรารักไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคร้ายแรงเหล่านั้นล้วนประกอบอยู่ในวัคซีนป้องกันโรคหลัก ที่น้องหมา น้องแมวควรได้รับ นอกจากนี้โรคบางอย่างนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวน้อง ๆ เองแล้ว ยังสามารถส่งผ่าน ติดต่อมายังคน […]