หมา
วิธีเพิ่มความมั่นใจให้น้องหมาที่หวาดระแวง : บ้านและสวน Pets Good Dog Training EP.4
วิธีเพิ่มความมั่นใจให้น้องหมาที่หวาดระแวง ไม่มั่นใจเวลาออกไปข้างนอก ทำได้อย่างไร ติดตามได้ในบ้านและสวน Pets Good Dog Training EP.4
แก้ปัญหาน้องหมากินยาก : บ้านและสวน Pets Good Dog Training EP.3
เทปนี้จะมาสอนวิธี แก้ปัญหาน้องหมากินยาก กินน้อย ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และแก้ยังไงได้บ้าง ติดตามได้ใน บ้านและสวน Pets : Good Dog Training EP.3
วิธีควบคุมเสียงเห่าน้องหมา : บ้านและสวน Pets Good Dog Training EP.2
วิธีควบคุมเสียงเห่าน้องหมา ต้องทำอย่างไร เจ้าของสามารถลองไปปรับใช้กับหมาที่บ้านของคุณได้ ออกอากาศทางช่องอมรินทร์ ทีวี เอชดี 34
วิธีฝึกใช้สายจูงน้องหมา : บ้านและสวน Pets Good Dog Training EP.1
น้องหมาบ้านไหนไม่ชอบใส่สายจูง ช่วงวาไรตี้สัปดาห์นี้ บ้านและสวน Pets จะมาสอน วิธีฝึกใช้สายจูงน้องหมา ใน Good Dog Training EP.1
แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน รวมถึงน้องหมาด้วย
โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 4 เดือน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรครุนแรงและโรคที่สามารถติดต่อสู่คน
วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว ความจำเป็นพื้นฐานสำหรับสุขภาพที่ดีของสัตว์เลี้ยง
วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว เป็นหนึ่งในกระบวนการดูแลสัตว์เลี้ยงที่สำคัญและจำเป็น ดังนั้น เมื่อครบกำหนดอายุ คุณพ่อคุณแม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือคลินิกใกล้บ้าน เพื่อให้น้องสุนัขน้องแมวมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรง ความสำคัญของ วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว ในช่วงแรกเกิด สุนัขและแมวต้องอาศัยแหล่งอาหารโดยกินน้ำนมจากแม่เท่านั้น ซึ่งในน้ำนมของแม่มีภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยงตามธรรมชาติ แต่หลังจากนั้น เมื่อลูกสุนัขและแมวเริ่มหย่านม ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 8 – 12 สัปดาห์ ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะพาน้องแมวน้องหมาไปรับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากโรคในสัตว์เลี้ยงหลายโรครักษาได้ยาก หรือเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง เช่น โรคไข้หัด โรคลำไส้อักเสบในสุนัข และโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น ดังนั้นการทำวัคซีนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ควรมองข้าม เพราะการทำวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคชนิดต่างๆ และช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเรากลายเป็นพาหะนำโรคติดต่อบางชนิดที่ติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรงจะทำหน้าที่ช่วยลดการติดเชื้อ ลดโอกาสป่วยเป็นโรคน้อยลง และช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อได้ วัคซีนของสุนัขและแมว สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัคซีนหลัก (Core vaccine) เป็นกลุ่มของวัคซีนที่น้องสุนัขและน้องแมวทุกตัวจำเป็นต้องได้รับ โดยวัคซีนหลักช่วยป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก ประกอบด้วย วัคซีนหลักของสุนัข ประกอบด้วย วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) […]
สุนัขเดินยกขา หรือท่าทางการเดินผิดปกติ อาจกำลังมีปัญหาสะบ้าเคลื่อน
สุนัขเดินยกขา หรือร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม สัญญาณเบื้องต้นของโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข ในระหว่างการเจริญเติบโตทางร่างกายของสุนัข ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่สามารถพบเจอได้คือ การเจริญของกระดูกโครงร่างผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patella luxation) โดยอาการที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น สุนัขเดินยกขา ท่าทางการเดินผิดจากปกติ หรือส่งเสียงร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม “ส่วนใหญ่ โรคสะบ้าเคลื่อนมักเกิดในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ปอมเมอเรเนียน มอลทีส และชิวาวา เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็พบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ได้เช่นกัน” น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ สัตวแพทย์ แผนกระบบกระดูกและข้อต่อ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน กล่าวและเสริมว่า “ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ โรคนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น การเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกไม่สัมพันธ์กัน” ดังนั้น ในการวินิจฉัยจึงเรียกรวมๆ ว่า ความผิดปกติทางโครงสร้างในระหว่างสุนัขกำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ น.สพ.บูรพงษ์ กล่าวว่า สะบ้าเคลื่อนอาจเกิดได้จากการกระทบ กระแทก การถูกรถชน หรือการถูกตี ก็อาจทำให้แนวการเจริญเติบโตที่ขาของสุนัขเสียหายได้ ส่งผลให้ขาของสุนัขคดงอ และบิดเบี้ยว เมื่อสุนัขต้องเผชิญโรคสะบ้าเคลื่อน น.สพ.บูรพงษ์ อธิบายว่า “โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นความผิดปกติของตำแหน่งลูกสะบ้าในท่าที่สุนัขอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้ สะบ้าที่ผิดจากตำแหน่งปกติสามารถหลุดไปอยู่ได้ทั้งด้านนอกและด้านในของข้อเข่า ซึ่งร้อยละ 80 – […]
ข้อเท็จจริงของอาหารสัตว์เลี้ยงแต่ละประเภท
ประเภทของอาหารสัตว์ ในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครวมถึงให้สัตว์เลี้ยงมีมีความต้องการอาหารที่หลากหลาย
เตรียมพื้นที่เลี้ยงหมาแมวในบ้านอย่างปลอดภัย
ป้องกันปัญหา เลี้ยงแมวเลี้ยงหมา ที่เรารักไม่ให้ป่วย บาดเจ็บ และลดอันตรายทั้งคนและสัตว์เลี้ยง มาดู 8 Do & Don’t ในการเตรียมพื้นที่กัน
โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Wobbler Syndrome)
โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Cervical Spondylomyeloathy หรือ Wobbler syndrome) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค (dynamic compression) เช่น เมื่อเงยคอจะทบการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง แต่พอก้มคอจะพบการกดทับนั้นลดลง เป็นต้น โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่มีโอกาสในการเกิดการกดทับของไขสันหลัง (spinal cord) และปมรากประสาท (spinal nerve root) ได้ง่าย ส่งผลให้ระบบการทำงานของกระแสประสาทที่บริเวณดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดในตำแหน่งที่เกิดการกดทับได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 50% ของสุนัขที่ป่วยโรคนี้พบว่ามักเป็นสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนพินเชอร์ (Doberman pinschers) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ไวมาราเนอร์ (Weimaraner) เกรทเดน (Great Dane) ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) และดัลเมเชี่ยน (Dalmation) แม้ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในบางสายพันธุ์ที่กล่าวมา แต่สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดสามารถแบ่งออกได้ 4 สาเหตุ […]
แปรงฟันน้องหมาน้องแมวด้วยตัวเองอย่างไร ให้เพลิดเพลินเหมือนพาน้องๆเข้าสปา
การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้เลี้ยงต้องใส่ใจดูแล เพราะเป็นอวัยวะที่สำคัญและมักถูกมองข้าม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้องๆเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น เกิดคราบหินปูน กลิ่นปาก ฟันผุ โรคปริทันต์ตามมาได้ วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง บ้านและสวน Pets ชวนเพื่อน ๆ มาเรียนรู้ถึงความสำคัญของการดูแลช่องปากและฟันของน้องหมาน้องแมว พร้อมวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องกันค่ะ วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง ทำไมจึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้น้องหมาน้องแมว วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง ช่วยลดคราบพลัค ลดโอกาสการเกิดหินปูน เหงือกอักเสบ ลดโอกาสการสูญเสียฟัน รวมถึงลดการติดเชื้อในช่องปากและกระแสเลือด ซึ่งส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายในระยะยาวอีกด้วย การเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟัน แปรงสีฟัน : เราสามารถเลือกแปรงให้กับสัตว์เลี้ยงได้ด้วยการพิจารณาจากขนาดช่องปาก และรูปแบบใบหน้า รวมถึงความถนัดของเจ้าของในการแปรงฟัน โดยเวอร์แบค มีแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับการแปรงฟันสัตว์เลี้ยงให้เลือกใช้ 2 ชนิดได้แก่ C.E.T.® Dual-Ended Toothbrush คือแปรงสีฟันชนิดหัวแปรงคู่ให้เลือกใช้ตามขนาดน้องๆที่บ้าน หัวแปรงกลมมนขนาดเล็ก และด้ามแปรงเอียง เพื่อการซอกซอนในช่องปาก และเพื่อการจับที่ถนัดมือ C.E.T.® Periaid Toothbrush คือแปรงสีฟันด้ามตรง ขนาดเล็กพร้อมด้วยขนแปรงนุ่มพิเศษ เพื่อการดูแลในช่องปากอย่างอ่อนโยน ยาสีฟัน : สำหรับการเลือกยาสีฟัน ผู้เลี้ยงควรเลือกยาสีฟันที่ผลิตมาเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำยาสีฟันของคนมาใช้กับน้องๆ […]
ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)
ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]
โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)
โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]
โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)
ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]
โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)
โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]
โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)
โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]