ออกดอกช่วงฤดูหนาว
นิโฟเฟีย
Kniphofia ชื่อวิทยาศาสตร์: Kniphofia spp. วงศ์: Xanthorrhoeaceae ประเภท: ไม้ดอกอายุหลายปี ลำต้น: มีเหง้าทอดเลื้อยใต้ดิน ใบ: ใบรูปแถบแคบเรียวยาวดูคล้ายหญ้า ปลายใบโค้งลง แผ่นใบงุ้มขึ้นทำให้เป็นร่องตามความยาวใบ ดอก: ช่อดอกแบบช่อเชิงลดรูปทรงกระบอกชูพ้นพุ่มใบ ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกรูปกรวย โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 6 แฉก มีหลายสี ทั้งสีขาว เหลือง ส้ม ส้มอมชมพู แดง ออกดอกช่วงฤดูหนาว ผล: ไม่พบติดเมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน ชอบอากาศเย็น น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: แยกหัว การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับแปลง ไม่พบปลูกทางภาคกลาง เพราะเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศเย็น เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ชื่อสกุลตั้งตามชื่อของ Johann Hieronymus Kniphof […]
พู่กันทอง
พู่บราซิล/Golden Plum ชื่อวิทยาศาสตร์: Schaueria flavicoma วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: สูงได้ถึง 1 เมตร หากไม่ตัดแต่งกิ่ง ใบ: ใบรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมันเงา ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ประกอบด้วยใบประดับลักษณะเป็นเส้นสีเหลืองคล้ายพู่ มีดอกเล็กๆ สีขาวแทรกอยู่ระหว่างซอกใบประดับ ออกดอกช่วงฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วน มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดด: แสงแดดรำไรถึงครึ่งวัน น้ำ: มากแต่ไม่แฉะ การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกประดับแปลงหรือปลูกเป็นไม้กระถาง ในสภาพแสงแดดรำไร หากปลูกกลางแดดจัดใบมักจะเหลืองและด้านไม่สวยงาม แต่หากปลูกเลี้ยงในที่ร่มเกินไปกิ่งก้านจะยืดยาวและใบประดับจะมีสีเหลืองซีดไม่สดใส เนื่องจากชอบดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจึงควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล
เลา
แขมดอกขาว/พงอ้อยเลา/Wild Cane ชื่อวิทยาศาสตร์: Saccharum spontaneum L. วงศ์: Poaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี/หญ้า ความสูง: 1-2 เมตร ลำต้น: ขึ้นเป็นกอและมีเหง้าแตกแขนงเป็นวงกว้าง ใบ: แคบเรียว ยาว 1.0-1.50 เมตร ปลายเรียวแหลม ดอก: ช่อดอกใหญ่ แตกแขนงเป็นช่อย่อยจำนวนมาก มีขนยาวสีขาวเงิน เมื่อติดเมล็ดจะหลุดปลิวไปกับลมได้ง่าย ออกดอกช่วงฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: แยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบได้ริมทาง ข้างถนนและริมน้ำทั่วไปในที่ราบต่ำ เป็นสมุนไพร ต้น ต้มน้ำกินแก้ฝีหนอง ราก ต้มกินเป็นยาเย็น ขับปัสสาวะแก้โรคผิวหนัง คำเปรียบเปรย “สีดอกเลา” ก็มาจากหญ้าต้นไม้
ทิลแอนด์เซีย/ Tillandsia
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tillandsia spp. วงศ์: Bromeliaceae ประเภท: ไม้อิงอาศัยอายุหลายปี มีรากอากาศเพื่อยึดเกาะกับกิ่งไม้หรือขอนไม้ ลำต้น: สั้นหรือยาว ทอดเลื้อยและแตกกิ่งห้อยลง สามารถแตกหน่อได้ ใบ: ออกเวียนรอบต้นเป็นรัศมี รูปแถบแบน รูปเส้นเรียวแหลม หรือรูปสามเหลี่ยม บางชนิดแผ่นใบหนาแข็ง บิดม้วนเป็นเกลียวทั่วทั้งต้น ใบมีไทรโคม (trichrome) ปกคลุม ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นและสารอาหารแทนราก เมื่อออกดอกยอดอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้ม หรือม่วง ดอก: ช่อดอกแทงจากกลางพุ่มต้น มี 3 รูปทรง คือ รูปหลอด รูปเข็ม รูปแตร มักออกดอกช่วงฤดูหนาว ผล: ฝัก เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แห้งและแตกออก ภายในมีแพปพัส (pappus) เป็นเส้นใยสามารถปลิวตามลมเพื่อกระจายพันธุ์ ดิน/วัสดุปลูก: นิยมนำมาเกาะขอนไม้ แสงแดด: จัดถึงครึ่งวันเช้า ความชื้น: สูง อากาศถ่ายเทดี น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและแยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: […]