ออกดอกเดือนมกราคม -มีนาคม
พวงหยก
หวายปม/เอื้องข้อ ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium findlayanum Par. & Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นปม คล้ายรูปหัวใจ แต่แบนเล็กน้อย สีเขียวค่อนข้างใส เป็นมัน เรียงต่อกันเป็นสาย ยาว 20-40 เซนติเมตร ใบ: รูปรี แผ่นใบบาง มักร่วงหมดเมื่อเจริญเต็มที่ ดอก: ออกเป็นช่อสั้นๆ 2-3 ดอก ที่ปลายต้นที่ทิ้งใบ กลีบดอกใหญ่ สีขาว ปลายสีม่วงเล็กน้อย กลีบปากเกือบกลม ขอบม้วนลงเล็กน้อย โคนกระดกม้วนเป็นหลอด สีขาวหรือสีขาวอมม่วงอ่อน มีปื้นสีเหลืองที่กลางกลีบปาก ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: […]
สิงโตใบพาย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bulbophyllum wallichii Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นหัวรูปหยดน้ำหรือรูปไข่ เจริญอยู่บนเหง้า ใบ: รูปแถบ มี 2 ใบ แผ่นใบบาง ทิ้งใบก่อนออกดอก ดอก: ช่อดอกเกิดที่โคนหัว5-140 ดอก ก้านช่อดอกยาว 7-15 เซนติเมตร แก่นช่อดอกโค้งงอลง กลีบเลี้ยงด้านบนมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงด้านข้างทั้งสองกลีบบิดตัวมาเชื่อมติดกันทางครึ่งปลายรูปร่างคล้ายใบพาย ขนาดดอก 1 x 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวน หรือมุมบ้าน
กวาวเครือขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pueraria candollei Grah. Var.mirifica (shaw&Suvat.) Niyomdham วงศ์: Papilionaceae ประเภท: ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ผลัดใบ ลำต้น: เลื้อยได้ไกล 5 เมตร มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่รูปค่อนข้างกลม ใบ: ประกอบขนนก มีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ ดอก: ออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยสีม่วงอมชมพู รูปดอกถั่ว กลีบดอกคู่ล่างสีม่วงเข้ม ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม ผล: เป็นฝักรูปยาวแบน ผิวมีขนสั้น มี 3-4 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือปลูกหัวพันธุ์ การใช้งานและอื่นๆ: หัวกวาวเครือใช้กินเป็นยาบำรุง มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงสกัดมาใช้เป็นยาเกินและยาทาเพื่อเพิ่มขนาดหน้าอก
ขมิ้นเครือ
เครืออวดเชือก/แหนเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์: Combretum latifolium BL. วงศ์: Combretaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ลำต้น: เลื้อยได้ไกล 10 เมตร ใบ: รูปรีแกมขอบขนาน โคนมน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอก: ออกเป็นช่อแน่นรอบแกน ช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตรกลีบรองดอกเป็นหลอด ปลายบานเป็นถ้วย กลีบดอกสีเขียวอ่อน 4 กลีบ ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม ผล: แข็ง รูปรี มี 4 ปีก เมื่อแก่สีน้ำตาลอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมลำธารมี่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลถึง 600 เมตร ทางสมุนไพรใช้เนื้อไม้บดละลายน้ำอุ่นเป็นยาธาตุ บำรุงโลหิต ขับประจำเดือน
ลำดวน
หอมนวล/White Cheesewood ชื่อวิทยาศาสตร์: Melodorum fruticosum Lour. วงศ์: Annonaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: 4 – 8 เมตร ทรงพุ่ม: กลม ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม กิ่งแก่สีดำและเหนียวมาก ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2 – 3 เซนติเมตรยาว 5 – 12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเป็นมันสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีขาวอมเขียวอ่อน ดอก: ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก กลีบดอกหนาแข็ง มี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบชั้นนอกแผ่กาง แต่กลีบชั้นในงุ้มเข้าหากันหมดสีเหลือง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 2.5เซนติเมตร บานวันเดียวแล้วโรยในวันรุ่งขึ้นส่งกลิ่นหอมแรงตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงเช้า และหอมอ่อนๆ […]