ออกแบบ – บ้านและสวน

รีโนเวตตึกแถวเก่าย่านสาทร สู่คาเฟ่ และห้องแสดงเสื้อผ้าของแบรนด์ Gongdid design

พื้นที่ Showroom แห่งนี้ ประกอบด้วยคาเฟ่ และห้องแสดงเสื้อผ้า รีโนเวตจากห้องแถวเก่าขนาด 4 ชั้น 4 คูหา ที่ปรับให้กลายเป็นโชว์รูมด้วยฝีมือของทีมออกแบบ creative studio unravel เช่นเดียวกับงานออกแบบเสื้อผ้าของ Gongdid design ความเรียบง่ายสบายตา แต่แฝงไว้ด้วยรายละเอียดอันละเมียดละไม ในพื้นที่ของโชว์รูมแห่งนี้ ผู้ออกแบบเลือกใช้เส้นสายที่น้อยอย่างที่เรียกว่ามินิมัล แต่ในแต่ละพื้นที่ของอาคารได้เลือกสรรจัดวางองค์ประกอบ เช่น แสงธรรมชาติ หรือช่องเปิดที่เห็นชัดถึงบริบทภายนอกไว้อย่างพอดิบพอดี ทำให้ผืนผนัง พื้น และเพดานเป็นเสมือนผืนผ้าใบขนาดยักษ์ที่ช่วยขับเน้นเสื้อผ้า และงานออกแบบของแบรนด์ไปด้วยในตัว #ร่วมสมัยบรรยากาศสาทร แม้จะเป็นแบรนด์แฟชั่น แต่การออกแบบในครั้งนี้ก็ยังมีการเชื่อมโยงบริบทภายนอกของพื้นที่ย่านสาทรเอาไว้ในอาคารได้อย่างลงตัว ทั้งในเปิดหน้าอาคารให้เป็นบันไดที่เชื้อเชิญทั้งลูกค้าประจำ หรือแม้แต่ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาให้แวะชมสินค้า รวมทั้งจิบกาแฟใช้เวลาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี การเก็บเอาองค์ประกอบดั้งเดิมอย่างพื้นไม้ปาร์เก้เอาไว้ หรือกรอบบานบ้างชิ้นของอาคาร เช่น ในพื้นที่สวนด้านหลัง ก็ทำให้สามารถสัมผัสถึงกาลเวลาที่อาคารนี้เคยเกิดขึ้น ก่อนจะได้รับการรีโนเวตได้อย่างดี ทำให้พื้นที่มีรายละเอียดเชิงนามธรรมที่น่าสนใจมากขึ้น #คาเฟ่ที่เปรียบได้กับพื้นที่รับแขก อะไรจะดีไปกว่ากาแฟดี ๆ กับบทสนทนาในสิ่งที่สนใจร่วมกัน เพราะโชว์รูมแฟชั่นก็แทบไม่ต่างอะไรกับแกลเลอรี่ดี ๆ สักแห่ง การได้แวะเวียนมาชมคอลเล็กชั่นใหม่ ๆ ของแบรนด์ ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด หรือแม้แต่จะแวะพัก ใช้เวลาเลือกสรรชุดสวยให้ตัวเอง […]

Live Again by The Design & Objects Association นิทรรศการคืนชีวิตให้วัสดุเหลือทิ้ง ในอาคารเก่าสุดคลาสสิก E.M Kratip – Fazal Building

กว่า 27 Brand จัดแสดงผลิตภัณฑ์ ด้วยแนวคิดที่จะนำของที่ไม่ใช้แล้วจากที่ต่าง ๆ หรือของที่เหลือจากขบวนการผลิตในโรงงาน นำกลับมาทำเป็นชิ้นงานที่สามารถใช้ได้อีก โดยใช้การออกแบบและให้สีสันที่สวยงามทำให้ของน่าใช้ดูเหมือนเป็นของใหม่ โดยชิ้นงานที่จะทำได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ของแต่งบ้าน กระเป๋า และ ฯลฯ (รายละเอียดชิ้นงานตามภาพ) Creating extraordinary one off design pieces using discarded or repurposed materials. In the exhibition, the D + O members show how a new life circle for a discarded or upcycled material can be used to create furniture, lighting, […]

Shopfront Design

5 ไอเดีย Shopfront Design ออกแบบ หน้าร้าน เพิ่มมูลค่าธุรกิจ

ด่านแรกของร้านค้า ธุรกิจขนาดเล็ก คาเฟ่ ที่ลูกค้าจะเห็น และเป็นเหตุผลหนึ่งของการตัดสินใจเข้าร้านหรือไม่ก็คือ หน้าร้าน หรือ Shop Front นั่นเอง การออกแบบหน้าร้านให้ดึงดูดลูกค้าจึงสำคัญมาก และเป็นตัวตัดสินในการใช้จ่ายของลูกค้าตั้งแต่แรกเห็นได้เลย ซึ่งการออกแบบมีที่มาหลายอย่าง ทั้งการแก้ปัญหาขนาดพื้นที่เดิมที่จำกัดของอาคาร แก้ปัญหาเรื่องวัสดุเดิมด้านหน้าอาคารที่เก่าดูไม่น่าสนใจ หรือความต้องการใช้พื้นที่ภายในสำหรับทำงาน มีไอเดียที่มาของการออกแบบตกแต่ง หน้าร้าน มากมายให้น่าสนใจ สนุก และดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านของคุณ.Shop Front ที่ดี เปิดมุมมองหน้าร้านให้กว้าง ควรออกแบบแสงสว่างให้เพียงพอ และเราพาไปดูความน่าสนใจที่อาจไม่เข้าเกณฑ์ แต่เข้าที.วันนี้ room พามาชม 5 ไอเดียดีไซน์หน้าร้านที่น่าสนใจ เป็นแนวทางสำหรับใครที่กำลังทำร้านของตัวเอง หรือมีแพลนจะทำร้าน มีอะไรบ้างไปชมกัน ผนังทึบก็ดึงดูดลูกค้าได้เหมือนหมัดฮุก ไม่ใช่แค่วิธีเปิดหน้าร้านให้โล่ง กรุกระจกใส จะเป็นวิธีเดียวที่ดึงดูดให้คนสนใจร้านได้ การทำผนังทึบ ก็ทำให้ร้านน่าสนใจได้เหมือนกัน สำหรับร้านที่ไม่ต้องการเปิดให้หน้าร้านเป็นกระจกโล่งเกินไป ต้องการใช้พื้นที่ด้านในสำหรับทำงานด้วย วิธีการทำผนังทึบแบบนี้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่อาจจะต้องเป็นผนังทึบที่มีรายละเอียด เป็นผนังทึบที่เหมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ต้องดูบริบทรอบข้าง อาคารใกล้เคียงเป็นอย่างไร และอาจเลือกทำให้ฉีก แตกต่างออกจากรอบข้างก็ทำให้ดูน่าสนใจขึ้นมาได้เหมือนกัน เหมาะกับร้านตัดชุดแต่งงาน ร้านคาเฟ่กึ่งแกลอรี่ ร้าน : EUPHORIA BRIDAL […]

หลักการออกแบบ โคก หนอง นา ใจความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ถอดบทเรียนผ่านการลงมือทำ โคก หนอง นา ของอดีตคนเมืองพนักงานออฟฟิศ สู่การเป็นเกษตรกรเข้าปีที่ 5 การออกแบบพื้นที่ชีวิต

ร้านขายยาจีนเก่า ที่ปรับลุคให้ร่วมสมัย Tai Chang Tang Traditional Medicine Clinic

Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน ผ่าน Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป ร้านขายยาจีนเก่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัย กลิ่นเครื่องยาจีนที่อบอวล และตู้ลิ้นชักไม้เก็บสมุนไพรที่รายล้อมดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลักซึ่งเชื่อมโยงบรรยากาศวันวานของ Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน แม้ที่นี่จะไม่ใช่โรงพยาบาล แต่ก็เป็นหนึ่งในแหล่งบ่มเพาะศาสตร์และองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งฝังรากลึกในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันมาอย่างยาวนาน มาวันนี้ เมื่อผู้ก่อตั้ง Tai Chang Tang ตั้งใจจะวางมือ และส่งต่อกิจการให้กับศิษฎ์ก้นกุฏิ ซึ่งเป็นทีมแพทย์แผนจีนรุ่นใหม่สามคน Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันจึงได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป  เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน งานออกแบบปรับปรุงอาคารนี้เกิดขึ้นจากการตีความแนวคิดข้างต้น เพื่อปรับประยุกต์ใช้กับรูปแบบแบบสมัยนิยม พร้อมกับการสอดแทรกสัญลักษณ์ที่มีความหมาย องค์ประกอบต่าง […]

MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]

“จากภูเขาสู่ทะเล กับการตีความใหม่ของบริบทธรรมชาติในเพชรบุรี” VALA HUA HIN – NU CHAPTER HOTELS

ประสบการณ์ใหม่ในเวิ้งอ่าวหัวหิน-ชะอำที่บูทีคโฮเทล VALA Hua Hin – Nu Chapter Hotels ซึ่งตีความบริบท Geography Identical ของจังหวัดเพชรบุรีออกมาเป็นงานออกแบบ และพื้นที่ที่แตกต่างกันภายในโรงแรมได้อย่างน่าสนใจ Journey of Transition เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณล็อบบี้ของโรงแรม พื้นที่ส่วนนี้ออกแบบให้เป็นป่าอยู่ภายในครอบแก้วขนาดยักษ์คล้ายเทอร์ราเรียม นำพาสู่บริเวณสระว่ายน้ำที่ใช้คอนเซ็ปต์ของ Lagoon หรือเวิ้งน้ำ ซึ่งมีภูเขาคืออาคารที่พักรายล้อม เมื่อผ่านเข้าสู่บริเวณ Beach Front จะสามารถเดินออกไปสู่พื้นที่ส่วนตัวในโซนวิลลาได้ ในส่วนนี้ได้ออกแบบให้เป็นเหมือนกับโอเอซิสที่มีพื้นที่ริมทะเลแบบส่วนตัว พร้อมสระว่ายแบบพูลวิลลา การเปลี่ยนผ่านพื้นที่เหล่านี้เป็นเหมือนการได้เดินทางไปในบริบทของเมืองเพชรบุรีที่รุ่มรวยไปด้วยธรรมชาติทั้งภูเขาและทะเลที่สวยงาม ความพิเศษของ VALA Hua Hin – Nu Chapter Hotels คือความตั้งใจที่จะพัฒนาความยั่งยืนทั้งในแง่ของวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ในส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้น ทางโรงแรมมีการเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่าย การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ และนำวัตถุดิบที่ได้มาใช้ในเมนูต่าง ๆ ของโรงแรม รวมทั้งยังมีความตั้งใจดึงเอาวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ผักผลไม้ตามฤดูกาล หรืออาหารพื้นถิ่นมาประยุกต์ในแบบ Modern Twist ซึ่งนั่นยังรวมไปถึงเครื่องดื่มซิกเนเจอร์สูตรพิเศษที่ทางโรงแรมได้ออกแบบร่วมกับ Vesper บาร์ชื่อดังที่ติดอันดับที่ […]

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

8 คาเฟ่ รีโนเวต ทำไม่มากแต่สุดเท่!

8 คาเฟ่ ที่โดดเด่นในการรีโนเวตแบบทำน้อยแต่ได้เยอะ จากการเลือกคงสภาพอาคาร รวมทั้งการตกแต่งแบบพอดีๆ ไม่มากแต่เท่ บอกเลย ใครอยากทำคาเฟ่ต้องดู ได้ไอเดียแน่นอน! รายชื่อร้าน THE SHOPHOUSE 1527 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัยผ่านร่องรอยในความดิบ SARNIES BANGKOK  คงสภาพตึกอู่ซ่อมเรือและโรงกลึงเก่าให้กลายเป็นจุดพบปะใหม่ที่เจริญกรุง GU SLOW BAR COFFEE  สโลว์บาร์คาเฟ่สำหรับคนชอบจิบกาแฟในวิถีเนิบช้า TREAT CAFÉ & HANGOUT  แฮ้งเอ๊าต์คาเฟ่ย่านประชาชื่น จุดนัดพบสายชิลในบรรยากาศสุดอาร์ต GATEWAY COFFEE ROASTERS  คาเฟ่สไตล์ดิบเท่ บนตึกเก่าอายุกว่า 60 ปีที่ถนนท่าแพ NO.8  คาเฟ่ในบรรยากาศโรงเตี๊ยมที่บ้านหมายเลข 8 CHATA SPECIALTY COFFEE  คาเฟ่เรือนกระจก ที่ซ่อนตัวอยู่หลังโรงแรมย่านเยาวราช HOLM HUMBLE CAFE  คาเฟ่ดิบละมุนที่กลมกล่อม ถ่อมตัว

สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไรในวันนี้ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ คุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]