© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]
ออฟฟิศ ในรูปแบบที่ผ่อนคลายรับกับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน สะท้อนแนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่น และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่พนักงาน ออฟฟิศ ของ Socksy แห่งนี้ เป็นพื้นที่ของแผนก Marketing และ แผนก Online 8 ที่นั่ง 1 ห้องประชุม ซึ่งรวมเอาพื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ทานอาหาร รวมทั้ง Studio เอาไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียว ออกแบบจัดวางด้วยผังเปิดในบรรยากาศที่พนักงานทุกคนสามารถเปลี่ยนอิริยาบถ และสัมผัสธรรมชาติภายนอกได้ในทุกพื้นที่ของออฟฟิศ ด้วยเทรนด์การทำงานที่เปลี่ยนไป หลังยุค Work From Home การออกแบบให้ออฟฟิศมีความยืดหยุ่น ไม่ถูกจำกัดนิยามแบบเดิม ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญ การเอาใจใส่คุณภาพชีวิตของผนังงานเองก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง การออกแบบพื้นที่ใช้งานแบบผังเปิดนั้น เอื้อให้การทำงานรวมทั้งกิจวัตรของพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความเหมาะสม และโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างดี ในทุกส่วนของพื้นที่มีการสอดแทรกธรรมชาติเอาไว้ที่ภายใน และกรอบหน้าต่างแนวยาวตลอดผนังที่หันออกสู่ภายนอกนั้น ก็มีไว้ให้รับรู้ถึงสภาวะภายนอก เมฆที่เคลื่อนคล้อย และเวลาที่ผ่านไป ทั้งผ่อนคลาย และตื่นตัวสดชื่นได้ในเวลาเดียวกัน เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และ Tracklight เปิดโอกาสให้การจัดวางพื้นที่ทำงานเปลี่ยนแปลงได้อย่างง่ายดาย เหมาะกับออฟฟิศใหม่ที่อาจต้องมีการเพิ่มเติมฟังค์ชั่นที่อาจคาดไม่ถึงในอนาคตเช่น พื้นที่ Live Steam สำหรับการขายออนไลน์ […]
หลายธุรกิจยักษ์ใหญ่ในโลกเริ่มจากพื้นที่ภายในบ้าน บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานี้อย่างแอปเปิ้ลก็เริ่มจากพื้นที่ภายในบ้านเช่นกัน การเริ่มต้นธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างคล่องตัวที่สุดเพื่อให้ดำเนินกิจการไปได้ในระยะแรก บางงานสามารถเริ่มทำได้ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยับขยายมาสู่ห้องหรืออาคาร คอลัมน์นี้ room ขอพาทุกท่านไปพบกับบ้านที่ออกแบบพื้นที่ประกอบธุรกิจ ให้ทำงาน และพักผ่อนได้ในที่เดียวกัน ไปดูกันว่าพื้นที่ทำงานสามารถเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตได้อย่างไร และมีไอเดียดีอะไรซ่อนอยู่ในตัวอย่างเหล่านี้บ้าง คุณอาจได้แรงบันดาลใจสู่การเริ่มต้นพื้นที่ธุรกิจของคุณ! เปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์ เป็นโฮมออฟฟิศ Least Studio โฮมออฟฟิศ ที่เปลี่ยนบ้านทาวน์เฮ้าส์หลังเก่าเป็นสำนักงานสถาปนิก ที่ทำงานออกแบบสินค้ากระเป๋าจากยางพาราแบรนด์ Least และเป็นบ้านพักอาศัยในนาม Least Studio ออกแบบครบทุกฟังก์ชันสำหรับทำงาน และพักผ่อนในบ้านหน้าแคบ ขนาดพื้นที่ 300 ตารางเมตร เปลี่ยนโฉมภาพทาวน์เฮ้าส์ธรรมดาไปอย่างสิ้นเชิง โดยชั้น 1 เป็นส่วนจอดรถ และเก็บสต็อคของ เมื่อขึ้นมาที่ชั้นลอย จะพบกับส่วนต้อนรับแขกพร้อมกับโชว์รูมกระเป๋าแบรนด์ Least ส่วนชั้นถัดไปจะเป็นออฟฟิศสถาปัตย์สำหรับพนักงาน มีมุมนั่งเล่นแทรกอยู่สำหรับพักผ่อน ส่วนชั้น 4 และชั้น 5 เป็นที่พื้นที่พักอาศัยส่วนตัว #จุดเด่น ด้านหน้าอาคารกรุฟาซาดด้วยเหล็กเจาะรูเพื่อบังสายตาให้เกิดความเป็นส่วนตัว กันเสียง แสงแดด และกรองฝุ่นจากถนนด้านหน้าอาคาร โดยมีช่องเปิดเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้า และยังมองเห็นวิวภายนอก #DesignTips การกั้นผนังในส่วนห้องต้อนรับแขก ให้เป็นผนังที่ใช้งานเปิดเพื่อรวมพื้นที่ห้องเป็นห้องขนาดใหญ่ได้เมื่อไม่ได้ใช้งาน […]
ออฟฟิศแนวคิด อาคารเขียว ที่นี่คือสตูดิโอออกแบบ Vo Trong Nghia Architects (VTN Architects) ตั้งอยู่บนอาคารสูง 6 ชั้น ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
คุณอินทนนท์ จันทร์ทิพย์ ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสถาปนิกแห่ง INchan Atelier ได้ซื้อบ้านเก่าย่านหัวหมาก
ออกแบบออฟฟิศ จากวัสดุที่ผลิตเองทั้งหมด โปรเจ็กต์การออกแบบครั้งนี้ เป็นพื้นที่ของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่มีมายาวนาน หลังจากนั้นบริษัทได้มีความคิดอยากเพิ่มบริษัทในเครือชื่อ Bara & Siam Metal เพื่อมุ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาโลหะโดยเฉพาะ จึงเป็นที่มาของการ ออกแบบออฟฟิศ ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ว่างภายในของสำนักงานเดิมให้กลายเป็นส่วนสำนักงานของบริษัทใหม่ และเป็นส่วนต้อนรับของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด ในเวลาเดียวกัน การปรับปรุงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ออกแบบให้เป็นโถงโล่งเพดานสูงทะลุเชื่อมต่อกัน 2 ชั้น มีโจทย์สำคัญก็คือต้องออกแบบการกั้นพื้นที่ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของบริษัท ได้แก่ ห้องทำงานสำหรับพนักงาน 12 – 20 คน ห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน ห้องผู้จัดการ และพื้นที่หน้าห้องประชุมบนชั้น 2 แนวคิดการออกแบบหลักอยู่ที่การออกแบบและวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ อาทิ ห้องทำงานเพดานสูงสำหรับพนักงานซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดไว้ด้านใน วางตำแหน่งห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน และห้องผู้จัดการที่มีเพดานต่ำกว่าไว้ในปีกขวาและซ้ายตามลำดับ โถงโล่งตรงกลางเป็นส่วนต้อนรับที่โอ่โถง โดยมีผนังของห้องทำงานพนักงานเป็นฉากหลัง พร้อมผนังสูงของห้องพนักงานที่ทำจากพอลิคาร์บอเนตยังเป็นส่วนปิดกั้นที่สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโถงหน้าห้องประชุมชั้นบนด้วย นอกจากนี้ ความสำคัญของที่นี่ยังอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ เน้นการแสดงพื้นผิวที่แท้จริงของวัสดุ นอกจากแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลือกมาใช้คู่กับงานโลหะแล้วแทบทั้งหมดเป็นวัสดุที่บริษัทผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเมทัลชีท อะลูมิเนียม รวมถึงเหล็กฉีก เสมือนเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสถานที่ และนำเสนอศักยภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้แบ่งกั้นพื้นที่ตามการใช้งาน […]
PLAYROOM OFFICE โคเวิร์กกิ้งสเปซกึ่งสำนักงานให้เช่าแห่งนี้ ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิดการใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ขนาดเล็ก
สำนักงานใหญ่ของแพลตฟอร์มออนไลน์ช็อปปิ้ง Zilingo Thailand ที่ออกแบบให้เป็นศูนย์กลางการติดต่อธุรกิจไปจนถึงการ ให้เช่าพื้นที่ถ่ายสตูดิโอ
MDC (Thailand) บริษัทขายอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ขนาดใหญ่ของไทย ที่ขยับขยายบริษัทและการสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรม
WORKSHOP 53 คือการนำทาวน์เฮ้าส์รูปแบบดั้งเดิมของยุค 80 ในซอยสุขุมวิท 53 มีพื้นที่ภายในที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีโถงบันไดใจกลางบ้าน พร้อมหลังคาสกายไลต์ด้านบนมาทำเป็นสตูดิโอ
CHIA TAI ผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรที่มาพร้อมออฟฟิศที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน พร้อมแทรกพื้นที่สีเขียวไว้ในทุกอณู
TROP : terrains + open spaceออฟฟิศภูมิสถาปนิกไทยที่ออกแบบภายใต้โจทย์ว่าอยากได้อาคารให้มีความเนี้ยบ สะอาด แต่ไม่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยจนเกินไป