อาคารอิฐ
THE SAYLA HOTEL โรงแรมเชียงใหม่ ย่านนิมมานฯ โดดเด่นด้วยอาคารอิฐตัวแทนดังขุนเขา
The Sayla Hotel “บ้านเส-ลา” โรงแรมเชียงใหม่ ย่านนิมมานเหมินท์ ที่อยู่ในความทรงจำของหลายคนเมื่อมาเยือนเชียงใหม่ วันนี้ที่นี่ได้รับการรีโนเวทผ่านงานดีไซน์ให้เปลี่ยนโฉมไปอย่างสิ้นเชิง ออกแบบโดย EKAR ซึ่งมีคอนเซ็ปต์การนำจิตวิญญาณดั้งเดิมของนิมมานเหมินท์อย่างในวันวานกลับคืนมา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: EKAR โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสูงตระหง่าน ช่วยอำพรางความเป็นส่วนตัวที่เงียบสงบไว้ภายใน และปิดบังมลภาวะทางเสียงที่วุ่นวายภายนอก โดยไม่ทิ้งเสน่ห์อันน่ารัก และความเป็นกันเองของบ้านเส-ลาไว้ โดยการออกแบบ The Sayla Hotel ครั้งนี้ สถาปนิกได้ตีความจากชื่อ และบริบทแวดล้อมอันบ่งบอกถึงความเป็นบ้านเส-ลา ย่าน และเมือง ฟาซาดอิฐตัวแทนทิวเขาและกำแพงเมืองโอบล้อม โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสูงตระหง่าน ช่วยอำพรางความเป็นส่วนตัวที่เงียบสงบไว้ภายใน และปิดบังมลภาวะทางเสียงที่วุ่นวายภายนอก โดยไม่ทิ้งเสน่ห์อันน่ารักและความเป็นกันเองของบ้านเส-ลาไว้ โดยการออกแบบครั้งนี้สถาปนิกได้ตีความจากชื่อ และบริบทแวดล้อมอันบ่งบอกถึงความเป็นบ้านเส-ลา ย่าน และเมือง จากความหมายของคำว่า เส-ลา ซึ่งแปลว่า ภูเขาหิน อีกทั้งจุดที่ตั้งของโรงแรมยังมองเห็นดอยสุเทพ การออกแบบฟาซาดของอาคาร จึงเปรียบได้ดังขุนเขาสูงตระหง่านมองเห็นชัดแม้ในระยะไกล สร้างสรรค์ขึ้นจากอิฐดินเผาหลากสีจากหลายแหล่งที่มาทั้งจากเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง อีกนัยหนึ่งยังสื่อสารถึงกำแพงเมืองเชียงใหม่ที่โอบล้อมเมืองไว้ ดังเช่นปราการของขุนเขา ดึงจิตวิญญาณของนิมมานเหมินท์ให้กลับมา จากวันวานของการเป็นที่พักแห่งแรก ๆ ของย่าน ก่อนซอยนิมมานเหมินห์จะคึกคักถึงขีดสุด เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การท่องเที่ยวเชียงใหม่เงียบเหงา […]
WYNDHAM CLUBHOUSE อาคารอิฐทรงกล่อง ประตูสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวสไตล์ทรอปิคัล
“Wyndham Clubhouse” อาคารอิฐ ที่ถูกใช้เป็นคลับเฮ้าส์ หรือส่วนต้อนรับ ซึ่งเกิดจากวัสดุสามัญ นำพาทุกคนเข้าสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวที่มีชื่อว่า Wyndham Garden Phú Quốc ในพื้นที่ชายฝั่งของฟูโกว๊ก (Phú Quốc) เมืองท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามของเวียดนามใต้ ในฐานะที่ใช้เป็นจุดติดต่อแรกสำหรับรับแขก บทบาทของ อาคารอิฐ ซึ่งใช้เป็นส่วนต้อนรับก่อนนำสู่รีสอร์ตสุดชิลที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้ราวกับเป็นป่าสีเขียวในกล่องคอนกรีตนี้ สถาปนิกจาก MIA Design Studio ได้เน้นการออกแบบอาคารให้เป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ สำหรับมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่า ในบทบาทที่เปรียบเสมือนปราการด่านแรกก่อนเข้าสู่พื้นที่รีสอร์ส่วนตัว ภายใต้รูปลักษณ์อาคารอิฐทรงลูกบาศก์เรียบง่ายสีแดงเอิร์ธโทน ซึ่งก่อสร้างจากอิฐจำนวนมหาศาลที่ดึงดูดความสนใจของผู้มาเยือนได้ในทันที โดยมาจากความปรารถนาในการนำเสนอมุมมองใหม่ ผ่านสถาปัตยกรรมอิฐที่หลอมรวมทั้งรูปแบบโมเดิร์นและความดั้งเดิมไว้ด้วยกัน สำหรับความดั้งเดิมที่ถูกนำมาใช้นี้ ผู้ออกแบบหมายถึงการเน้นใช้ “อิฐ” วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นำมาสร้างสรรค์เป็นเปลือกอาคารที่สะท้อนถึงความประณีต และความแม่นยำของช่างประจำท้องถิ่น ในการนำอิฐมาเรียงต่อกันจนเกิดแพตเทิร์นสวยงาม.แม้ตัวอาคารจะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ก็มีความเข้าใจในภูมิอากาศเขตร้อนได้อย่างดี ด้านหน้า หรือทางเข้าหลัก จึงออกแบบให้มี Canopy ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ช่วยบังแดดและฝนก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร พื้นที่ภายในอาคารช่วงเวลากลางวันให้ความรู้สึกปลอดโปร่งและเย็นสบาย เพราะมีชั้นอิฐช่วยป้องกันความร้อน ขณะเดียวกันก็เป็นช่องแสง นำพาแสงสว่างได้อย่างทั่วถึง เกิดการระบายอากาศและลมตามธรรมชาติได้ดีเยี่ยม ส่วนในเวลากลางคืนอาคารอิฐหลังนี้จะให้ภาพลักษณ์ที่เป็นเหมือนกล่องไฟขนาดใหญ่ สาดแสงเงาของไฟสีส้มให้ลอดผ่านออกมาตามช่องอิฐ ซึ่งเกิดจากการเรียงก้อนอิฐแบบเว้นช่องตามแพตเทิร์นที่ออกแบบไว้ ภายในมีการสร้างพื้นที่พักผ่อนแยกเป็นสัดส่วน ชั้นล่างใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยแบ่งเป็นโซนล็อบบี้ […]
AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม
อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]
ORGANICARE SHOWROOM โชว์รูมขายน้ำปลาที่ชูคุณค่าผลิตภัณฑ์และวัสดุดั้งเดิมของเวียดนาม
โชว์รูมขายน้ำปลาที่ไม่ธรรมดาแห่งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ Tropical Space ที่มีสไตล์การออกแบบที่ชัดเจนอย่างการเน้นใช้ “อิฐ” มาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างอาคารหลาย ๆ แห่ง เพราะอิฐถือเป็นวัสดุดั้งเดิมที่มักนำมาสร้างที่พักอาศัยของเวียดนาม จนนำมาสู่การออกแบบ Organicare Showroom ซึ่งมีวัตถุประสงค์เปิดเป็นโชว์รูมขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ผลิตจากธรรมชาติ อิฐจึงกลายเป็นตัวแทนเพื่อบอกเล่าความหมายเชิงนัยเช่นเดียวกันนี้ไปพร้อมกัน จากอาคารเก่าที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2518 ในย่านถนนเลอวานซี สตรีท (Le Van Sy Street) กลางกรุงโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่นี่เคยได้รับการเปลี่ยนมือและต่อเติมแก้ไขใหม่อยู่หลายครั้ง กระทั่งล่าสุดกับการรีโนเวตใหม่เป็นโชว์รูมแห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นอาคารที่โดดเด่นกว่าใครในย่าน ด้วยฟาซาดที่ทำจากก้อนอิฐเรียงซ้อนกันขึ้นไปอยู่บนโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะพาทุกคนเข้าสู่พื้นที่ภายในซึ่งใช้วัสดุชนิดเดียวกันในการจัดวางสินค้า O rganicare Showroo ภายใต้โจทย์ที่ต้องการยกย่องคุณค่าผลิตภัณฑ์อย่าง น้ำปลา ซึ่งมีที่มาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของเวียดนาม นอกจากนั้นทีมสถาปนิกยังต้องการยกย่องคุณค่าของอิฐมอญวัสดุแบบดั้งเดิมไปพร้อมกันด้วย นั่นจึงนำมาสู่การออกแบบร้านค้าที่ผสมผสานระหว่างอิฐกับโครงสร้างเหล็กที่ดูแข็งเเรง สำหรับทำเป็นชั้นโชว์สินค้า ขณะที่ด้านหน้าก็กลายเป็นส่วนตกแต่งอาคาร หรือฟาซาดไปในตัว m โดยระบบเฟรมที่เห็นนี้ สามารถถอดออก หรือปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับขนาดของผลิตภัณฑ์ที่นำมาวางจำหน่ายนั้น ๆ และในช่องว่างบางส่วนยังใช้วางกระถางต้นไม้ ช่วยประดับตกแต่งร้านให้มีบรรยากาศสดชื่น เบรกความดิบกระด้างของโครงสร้างทั้งหมดได้เป็นอย่างดี ออกแบบสถาปัตยกรรม […]
อาคารจากอิฐ วัสดุโบราณในการใช้งานปัจจุบัน
3 อาคารกึ่งสาธารณะที่บรรจงเรียงร้อยความเป็นอิฐด้วยดีไซน์ร่วมสมัยและน่าสนใจ 3 แห่งด้วยกัน ซึ่งใช้ อิฐแดง อิฐมอญ เป็นวัสดุหลักในการออกแบบ