© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านที่อยู่ดีมีสุข นอกจากจะขึ้นอยู่กับการจัดการภายในบ้านแล้ว สภาพแวดล้อมและเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย มีปัญหากระทบกระทั่งมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างเพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้ชีวิตในบ้านขาดความสุขไปเลย มาดูกันว่าปัญหาเหล่านั้นคืออะไร และมีวิธีจะรับมือกับเรื่องเหล่านั้นอย่างไรบ้าง ปัญหาเพื่อนบ้าน ต่อเติมตามใจ เพราะบ้านใครบ้านมัน “ข้างบ้านต่อเติมจนบ้านเราอึดอัด ดูแล้วต้องผิดกฎหมายแน่ อยากทราบว่าการต่อเติมที่ถูกต้องเป็นอย่างไร” ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากแต่ละบ้านศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายในการก่อสร้างอย่างถูกต้อง นอกจากจะต่อเติมได้อย่างสบายใจแล้วก็จะไม่รบกวนเพื่อนบ้านของเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างหรือดัดแปลง เราต้องขออนุญาตในการกระทำดังกล่าวก่อน โดยต้องขออนุญาตเมื่อ 1. สร้างอาคารใหม่ทั้งหมด 2. ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วเกินกว่า 5 ตารางเมตร 3. ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต 4. รื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนการใช้งานอาคาร เช่น เปลี่ยนจากบ้านเป็นหอพัก จริงๆแล้วต่อเติมห้องต่างๆ ออกมาจากอาคารเดิม ต้องมีระยะถอยร่นจากรั้วด้วยนะ – ชั้น 1 ผนังด้านติดรั้วเป็นผนังทึบ ต้องห่างจากรั้วอย่างน้อย 0.50 เมตร – ชั้น 1 ผนังด้านติดรั้วมีหน้าต่าง ประตู หรือช่องเปิดต้องห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร – ชั้น 2 ผนังด้านติดรั้วมีหน้าต่าง […]
Q. เเม้ครัวจะมีเครื่องดูดควันแล้ว เเต่กลิ่นจากการทำอาหารยังไปรบกวนเพื่อนบ้านเเละคนในบ้านได้อยู่ดี จึงอยากทราบวิธีเเก้ไขเเละ กำจัดกลิ่นรบกวน ว่าควรทำอย่างไร? A. บ่อยครั้งแม้จะมีเครื่องดูดควันช่วยระบายควัน เเต่กลิ่นรบกวนจากการทำอาหารยังคงสร้างปัญหาเเละส่งกลิ่นรบกวนที่รุนแรงอบอวลอยู่ภายในบ้าน รวมถึงบ้านของเพื่อนบ้านได้อยู่ดี โดยเฉพาะครัวไทยที่มีการใช้เครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุนกว่าครัวฝรั่ง ในที่นี้เราจึงอยากขอแนะนำวิธี กำจัดกลิ่นรบกวน ด้วยการปรับปรุงระบบระบายควันที่สามารถเสริมเข้าไปกับช่องระบายเดิมได้เเบบไม่ยุ่งยาก นั่นคือ การระบายควันผ่านถังน้ำ และ การเดินท่อระบายควันขึ้นหลังคา เพื่อให้ควันและกลิ่นถูกระบายพ้นไปจากพื้นที่อยู่อาศัย จัดการปัญหากลิ่นควัน จากครัวต่อเติมของเพื่อนบ้าน อย่างไรดี วิธีที่ 1 : ระบายควันลงในถังใส่น้ำ วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับจัดการกับควันของร้านอาหารที่ไม่สะดวกในการเดินท่อระบายควันขึ้นไปบนหลังคา ขั้นแรกให้ทำการติดตั้งท่อระบายอากาศโดยเลือกขนาดให้สัมพันธ์กับช่องระบายอากาศเดิม จากนั้นจึงหาถังน้ำขนาดประมาณ 200 ลิตร มาตั้งไว้ที่ด้านล่างของตำแหน่งช่องระบายอากาศ เติมน้ำประมาณครึ่งถัง เเล้วค่อยต่อท่อลมระบายอากาศลงไปที่ถัง โดยทำการซีลให้ท่อลมนั้นแนบสนิทกับถัง ซึ่งอาจใช้วิธีเจาะฝาให้พอดีกับท่อลมระบายอากาศ หรือจะใช้ผ้าพลาสติกเจาะรูก็ได้ โดยต้องกำหนดตำเเหน่งปลายท่อลมระบายอากาศให้แตะผิวน้ำภายในถังเพียงเล็กน้อย เพียงเท่านี้ทั้งควันและกลิ่นที่เคยตลบอบอวลก็จะถูกน้ำในถังดักเอาไว้ เเต่เมื่อน้ำในถังเริ่มขุ่นเราควรตักออกเพื่อเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ควันและกลิ่นที่ลอยไปยังบ้านข้างเคียงลดน้อยลงจนแทบอาจจะไม่รู้สึกเลยทีเดียว วิธีที่ 2 : ต่อท่อระบายอากาศขึ้นสู่หลังคา วิธีนี้ได้ผลมากกว่าวิธีแรก แต่ก็อาจจะต้องพึ่งพาช่างมาช่วยติดตั้งให้ โดยมีตัวเลือกทั้งแบบเดินแนบไปกับผนัง หรืออาจจะเจาะทะลุเพดานขึ้นไปก็ได้ เริ่มต้นจากให้ช่างผู้ชำนาญกำหนดตำแหน่งที่จะต่อท่อลมระบายอากาศจากตำแหน่งช่องระบายอากาศเดิม จากนั้นจึงเดินท่อขึ้นไปโดยยึดท่อกับผนังบ้านและชายคา เพียงเท่านี้กลิ่นและควันที่เคยรบกวนเพื่อนบ้านก็จะถูกระบายขึ้นพ้นหลังคา ไม่รบกวนทั้งเพื่อนบ้านและบ้านของเราเอง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้ดีในระยะยาว […]
เพื่อให้การ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนาน ๆ การเอาใจเขามาใส่ใจเราน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ด้วย 10 วิธีที่เรานำมาฝาก
แม้ในสังคมเมืองที่มีปะชากรแน่นหนาและต่างก็ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ แต่มิตรภาพของเพื่อนบ้านก็สามารถงอกงามได้ เพียงแค่เราทำกิจกรรมดีๆ ให้เกิดขึ้น...