- Home
- เสาเข็ม
เสาเข็ม
5 สิ่งห้ามพลาด ถ้าไม่อยากให้บ้านทั้งหลังพัง เพราะดินสไลด์
ทำบ้านมาดีขนาดไหน แต่ถ้าไม่ใส่ใจเรื่องฐานราก เพียงผ่านไปไม่กี่ฝนบ้านทั้งหลังก็อาจทรุดพังเพราะ ดินสไลด์ ได้ง่ายๆ เราจะมีวิธีป้องกันปัญหาประจำฤดูกาลน้ำหลากนี้ได้อย่างไร จากข่าวล่าสุดที่เป็นประเด็นร้อนของคนรักบ้านอยู่ไม่น้อย (ขอบคุณ โพสต้นทาง ของเจ้าของเฟซบุ๊ค มีน คิ้วสวยละมุน) แรงของ ดินสไลด์ ทลายกำแพงกันดินจนพัง ลากเอาตัวบ้านบางส่วนให้ไหลไปตามดิน ทั้งๆ ที่บ้านสร้างใหม่เพียงสามเดือน โดยข้อมูลระบุว่า บ้านไม่มีเสาเข็ม แต่จะโยนความผิดให้แค่เสาเข็มก็คงจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายเกี่ยวกับระบบฐานรากทั้งหมดที่จะต้องออกแบบให้ดีตั้งแต่ต้น จึงจะทำให้บ้านตั้งอยู่ได้ไม่พังทลายไปกับภัยธรรมชาติ แล้วฐานรากที่แข็งแรงจะต้องประกอบด้วยอะไร? บ้านและสวนแชร์ 5 ข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการทำฐานรากบ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงหน้าดินพังทลาย ว่ามีสิ่งใดที่ควรใส่ใจบ้าง เจาะสำรวจ ศึกษาชั้นดินให้มั่นใจ หากเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เมื่อมองผืนดินด้วยตาเปล่านั้นไม่มีทางรู้ได้เลยว่าภายใต้หน้าดินแข็งที่เราเหยียบอยู่นั้นมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด เพราะชั้นดินที่ลึกลงไปนั้นเต็มไปด้วยโพรงใต้ดิน ทางน้ำ ชั้นดินอ่อน หรือขยะที่ถูกฝังมานาน ซึ่งล้วนส่งผลต่อความแข็งแรงของดิน ช่างบางคนบอกว่าการเทียบเคียงจากที่ดินข้างเคียงนั้นก็สามารถประเมินลักษณะดินได้ ก็อาจจะได้ในระดับหนึ่ง แต่ใครจะรับประกันได้ล่ะว่าคุณภาพของดินในที่ของเราจะเหมือนกับที่ดินรอบๆ ดังนั้นการเจาะสำรวจชั้นดินจึงเป็นสิ่งที่ตอบคำถามคุณภาพดินของเราได้ชัดเจนที่สุด ที่จะทำให้ทราบได้ว่า พื้นดินในที่ของเราประกอบด้วยช้นดินแบบใดบ้าง ฐานรากควรหยั่งลึกลงไปในดินเท่าไร และถมดินมากน้อยเพียงใด จึงจะทำให้บ้านเราแข็งแรง ไม่พังทลายง่ายๆ กำแพงกันดิน ป้องกัน ดินสไลด์ บ้านในที่ราบอย่างบ้านในเมืองอาจไม่คุ้นเคยกับกำแพงกันดินเท่าไรนัก แต่กำแพงกันดิน (Retaining Wall) […]
รวมศัพท์ช่าง ที่ฟังแล้วอาจงงว่าหมายถึงอะไรนะ?
หลายคนอาจเคยได้ยิน ศัพท์ช่าง บางคำที่ฟังแล้วอาจทำให้เราต้องนึกสงสัย หนวดกุ้งคืออะไร? ท้องช้างคือส่วนไหน? ไปดูที่มาของศัพท์ช่างเหล่านี้กัน ศัพท์ช่าง ที่ช่างมักจะพูดกันนั้น บางครั้งก็มีคำที่ฟังแล้วอาจจะพานนึกไปถึงอย่างอื่นได้อยู่บ่อยครั้ง แต่ศัพท์ช่างเหล่านั้นก็เป็นคำพูดที่ใช้กันมาจนเคยชินเสียแล้ว เพื่อให้สามารถสื่อสารกับบรรดาช่างๆ ได้เข้าใจมากขึ้น วันนี้บ้านและสวนจึงขอยก 30 ศัพท์ช่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ มาเป็นตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านกัน ตีเต๊า หมายถึง การสร้างแนวเส้นบนอาคารระหว่างก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับการกำหนดระยะ วางตำแหน่งในการติดตั้งส่วนต่างๆบนอาคาร โดยใช้เครื่องมือตีเต๊า(บางคนก็เรียก เต๊า ปักเต๊า) ซึ่งจะทำให้เกิดสีเป็นแนวเส้นตามรอยของเชือกทำให้ช่างเห็นรอยในการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ การตีเต๊านั้นจะใช้กับงานประเภท วางท่อ ผนัง ติดตั้งประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น ศัพท์ช่าง ต๊าปเกลียว คือ การทำให้เกิดเกลียวบนผิววัสดุ ส่วนใหญ่ช่างจะใช้ทำบนพื้นผิวท่อเหล็กหรืออลูมิเนียมให้ท่อเกิดเป็นเกลียวไว้สำหรับไปต่อประกอบกับอีกท่อหนึงได้ ต๊าปเกลียวมีทั้งการทำเกลียวในและเกลียวนอก โดยมีเครื่องจักรในการทำจนไปถึงเครื่องมือแบบพกพาในการทำต๊าปเกลียว (แนะนำให้ใช้เครื่องจักรดีกว่าเพราะเกลียวจะคงที่กว่าการทำมือ) สลัดดอก คือ การเตรียมพื้นคอนกรีตก่อนฉาบด้วยการเอาปูนซีเมนต์ธรรมดาผสมกับน้ำ ทราย และน้ำยาเพิ่มแรงยึดเกาะ แล้วใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวมาจุ่มลงในน้ำปูน สลัดลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะฉาบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงค่อยมาฉาบทับไปอีกที ซึ่งเทคนิคสลัดดอกนี้จะช่วยให้ปูนฉาบเกาะกับผิวคอนกรีตได้ดีขึ้น ช่วยเรื่องการหลุดร่อนหรือการแตกร้าวของปูนฉาบไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต […]