โครงสร้างเหล็ก
บ้านโมดูลาร์ในอ้อมกอดธรรมชาติ
บ้านโมดูลาร์ ที่สร้างจากโครงสร้างเหล็กคุณภาพจากโรงงานแล้วมาประกอบต่อบนพื้นที่ โดยผสมผสานไปกับอาคารปูนส่วนหนึ่ง ออกแบบให้โปร่งสบายสไตล์รีสอร์ต แวดล้อมด้วยธรรมชาติร่มรื่น
ราคาวัสดุเหล็ก 2565
เหล็ก เป็นวัสดุจำเป็นในการก่อสร้างที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ใครที่กำลังจะสร้างบ้าน มาเช็กราคาเหล็กล่าสุดกัน (อัปเดต เมษายน 2565) ราคาวัสดุเหล็ก เหล็กเสริมคอนกรีต เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ SR.24 (มอก.) ยาว 10 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. ราคาตันละ 28,466.67 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มม. ราคาตันละ 27,600.00 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ราคาตันละ 27,566.67 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. ราคาตันละ 27,433.33 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 19 มม. ราคาตันละ 27,500.00 บาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. ราคาตันละ 27,500.00 บาท เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย SD.40 (มอก.) ยาว […]
เปลี่ยนคอร์ตรับลมบ้านปูน เป็นบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน
พื้นที่ 100 ตารางวาผืนนี้ มีโจทย์เป็นบ้านสองหลังของพี่และน้อง โดยแบ่งที่ดินออกเป็นสองส่วนแต่ยังมีพื้นที่เชื่อมต่อเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน ซึ่งทั้งสองเติบโต เป็นเป็นคอร์ตรับแสงซ่อนตัวไว้อยู่ภายในบ้านทรงโมเดิร์นภายนอก
รวมทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานฮาร์ดสเคป หรือ งานก่อสร้างในสวน
นอกจากการปลูกต้นไม้ในสวนแล้ว งานฮาร์ดสเคป หรือการก่อสร้างองค์ประกอบภายในสวนที่ต้องใช้โครงสร้างถาวรหรือกึ่งถาวรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนควรรู้ เพื่อนำไปใช้ในการลงมือก่อสร้างด้วยตัวเอง หรือนำไปคุยกับช่างก่อสร้าง เพื่อให้ก่อสร้างส่วนต่าง ๆ ในสวนได้อย่างถูกต้อง งานฮาร์ดสเคป หรืองานก่อสร้างในสวน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนทางเดิน ศาลา บ่อปลา หรือระบบให้แสงสว่าง บ้านและสวน มีเรื่องที่ต้องรู้มาแนะนำดังนี้ การปรับระดับพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญ การปรับระดับพื้นที่ควรเป็นสิ่งแรกที่ทำหลังจากการออกแบบสวนและเริ่มจัดสว นเพื่อให้ได้ระดับความสูงต่ำ เนินดิน ตลิ่งริมน้ำ หรือทางระบายน้ำ ไม่ควรออกแบบให้ทางลาดสูงชันมาก โดยเฉพาะพื้นที่แคบ ๆ เพราะ เสี่ยงต่อดินพังทลายจากการกัดเซาะของน้ำฝน และไม่สะดวกต่อการตัดแต่งดูแล สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ต่ำมีน้ำท่วมถึง อาจไม่จำเป็นต้องเลือกแนวทางการถมดินให้มีระดับสูงกว่าระดับน้ำท่วมเสมอไป อาจใช้การปรับระดับโดยการขุดดินในบริเวณหนึ่งให้สามารถรับน้ำเพิ่มและรองรับน้ำที่ระบายไป แล้วนำดินที่ขุดได้ไปถมในบริเวณที่จำเป็นสำหรับใช้งาน โดยไม่ต้องเสียค่าดินในการถมและช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ หลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่ดีต่อพื้นที่ใกล้เคียงและรบกวนสิ่งแวดล้อมเดิมให้มากที่สุด การกำหนดระยะงานฮาร์ดสเคป ต้องเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของมนุษย์ เช่น ทางเดินในสวนควรมีขนาดพื้นให้คนปกติและรถเข็นสามารถผ่านได้ โดยทั่วไปควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร ถ้าเล็กกว่านี้คนจะเดินทางผ่านกันลำบาก และยังเบียดทำลายต้นไม้ข้างทางเดินได้ และควรมีระยะทางไม่ยาวเกินไป รวมถึงต้องมองเห็นได้ชัดเจน มุมที่นั่งบนขอบกระบะปลูกต้นไม้ควรออกแบบให้มีระยะความสูง 45-50 เซนติเมตร ลึก 40-60 เซนติเมตร หากต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนที่เดินผ่านหรือให้คนที่อยู่ใกล้กันหันหน้าเข้าหากัน แต่หากต้องการความเป็นส่วนตัว เพียงเว้นที่นั่งไว้ในระยะคนนั่งหนึ่งคนและหันหน้ามองไปทางเดียวกันก็ทำให้รู้สึกแบ่งแยกออกจากกัน […]
Science Village กลุ่มอาคารโครงสร้างเหล็กกล้ากำลังสูงที่ลอยเหนือผิวดิน
เจ้าของ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง ออกแบบสถาปัตยกรรม : Greenline Architects Studio ออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง : เจษฎาพร ศรีภักดี ภาพ : Greenline Architects Studio “การออกแบบโครงสร้างเสาคู่และระบบการค้ำและดึงเพื่อยกทั้งอาคารให้ลอยเหนือพื้นดินต้องใช้ระบบโครงสร้างเหล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งไม่เพียงลดการใช้ทรัพยากร เวลา แรงงาน และประหยัดต้นทุนแล้ว ยังตอบโจทย์การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนให้กลายเป็นจริง” การอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบยั่งยืนแค่ฟังก็ว่ายากแล้ว แต่การทำให้ได้นั้นยากยิ่งกว่า และยิ่งยากขึ้นหากไม่ได้เริ่มต้นด้วยการออกแบบที่ดี กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ออกแบบด้วยแนวคิดการสร้างอาคารให้กระทบผืนดินน้อยที่สุด โดยใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณรีดร้อนกำลังสูง High Strength Steel (SM520) ในการค้ำและดึงทั้งอาคารให้เหมือนลอยเหนือผิวดิน เพื่อให้ระบบนิเวศน์ดำรงอยู่ไปพร้อมๆ กับการใช้สอยอาคาร เมื่อต้องสร้างอาคาร 70,000 ตารางเมตรลงกลางป่า โครงการนี้เป็นการย้ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ออกไปนอกเมืองแถวแม่ริม พื้นที่ตั้งเป็นป่าที่มีต้นไม้เต็มพื้นที่ เมื่อจะมีการสร้างอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วยหลายภาควิชา โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวมกันประมาณห้างสรรพสินค้าขนาดกลาง ผู้ออกแบบจึงเสนอแนวคิด “Touch the earth lightly : การสัมผัสผืนดินอย่างแผ่วเบา” ด้วยการลดขนาดฐานอาคารให้สัมผัสพื้นดินน้อยที่สุด […]
คอนกรีตเสริมเหล็ก-โครงสร้างเหล็ก ต่างกันอย่างไร? | ช่างประจำบ้าน
ช่วงช่างตอบไขปัญหาโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก กับโครงสร้างเหล็ก แตกต่างกันอย่างไร
5 cafes in steel : รวมคาเฟ่ ดีไซน์เท่ด้วย “เหล็ก”
ถ้าต้องการเปิดร้านให้เร็วที่สุด การออกแบบด้วยโครงสร้างเหล็ก จึงเป็นตัวเลือกในใจอันดับแรกๆ ชมคาเฟ่ที่ใช้เหล็กเป็นหัวใจหลักในการออกแบบได้ที่นี่
รอยต่อของ 3 ยุคในบ้านโมเดิร์นกลิ่นอายไทย
แม้ว่าหน้าตาภายนอกบ้านจะดูทันสมัย แต่การตกแต่งยังมีความหวานและอบอุ่นอย่างที่เรียกได้ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่”
ก่อนการเดินทางครั้งต่อไป
“เพราะชีวิตคือการเดินทาง” ประโยคนี้คงบ่งบอกตัวตนของ คุณโรเบิร์ต – เจษฎา โอวาทเวโรจน์ ได้ดี เขาคือเจ้าของบ้านสไตล์โมเดิร์นหลังนี้ และกรรมการผู้จัดการบริษัท Global Tour Chiangmai ผู้อนุญาตให้เราได้มาเยี่ยมชมบ้านสวยๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินเชียงใหม่เท่าไรนัก “ลูกสาวสองคนไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จะกลับมาก็ช่วงปิดเทอม คนอยู่บ้านหลังนี้ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นผม อะไรๆ ในบ้านจึงดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่เห็น” คุณโรเบิร์ตเกริ่นถึงบ้านหลังนี้ พร้อมพาเราเข้าไปนั่งพูดคุยที่เคาน์เตอร์บาร์กลางโถงรับแขก ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่อถึงเวลากลับมาคุณโรเบิร์ตจึงต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก่อนออกเดินทางในครั้งต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการออกแบบและตกแต่งบ้านหลังนี้จึงเน้นความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่มีความสะดวกสบายอย่างลงตัว “ผมคิดคล้ายๆ เวลาผมไปพักโรงแรม ถ้าข้าวของกระจัดกระจายเกินไป ตอนจะออกเดินทางก็เก็บไม่ไหว กลับมาก็รกอีก คงพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่แรกไปเลยจะดีกว่า” คุณโรเบิร์ตเล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้ม ก่อนเอ่ยต่อไปว่า “พอกลับมาผมจะนั่งดูหนังที่โซฟารับแขก ทำอาหารกินเอง และออกกำลังกาย ผมว่าทั้งการพักผ่อนและเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเดินทางเสมอเป็นสิ่งจำเป็นนะครับ” จริงอย่างที่คุณโรเบิร์ตกล่าว หากใครเคยเดินทางติดกันบ่อยๆ คงไม่แคล้วต้องล้มหมอนนอนเสื่อกันบ้างละ การออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ความใส่ใจกับสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยมีทั้งฟิตเนสส่วนตัว สระว่ายน้ำ และสนามพัตต์กอล์ฟอยู่ภายในบริเวณบ้าน ตัวบ้านนั้นออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) โดยเป็นผนังทึบทางด้านถนนทั้งสองด้าน กันความวุ่นวายจากถนนออกไปเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว การออกแบบโครงสร้างทำควบคู่ไปกับการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมเกิดเป็นลักษณะประโยชน์นิยม (Functionalism) ที่งานสถาปัตยกรรมจะก่อร่างขึ้นมาเองจากความสมเหตุสมผลทางการใช้งานและความเหมาะสมของวัสดุและงานก่อสร้าง การใช้เหล็ก […]
โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล
นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]
ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด
บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]
SYS x Room Project :สานฝัน ปันโอกาส สร้างห้องสมุดโครงสร้างเหล็ก H-Beam ให้ศูนย์การเรียน ตชด. บ้านห้วยตง จ.นครศรีธรรมราช
โครงการ สร้างห้องสมุดโครงสร้างเหล็ก เป็นความร่วมมือกันของ 4 หน่วยงาน โดยนิตยสาร Room ที่เข้ามารับผิดชอบในส่วนของงานออกแบบ
เลือกโครงสร้างเหล็กให้เหมาะกับบ้าน
ช่วงนี้หลายคนคงกำลังสนใจการออกแบบบ้านด้วยโครงสร้างเหล็ก เรามีเทคนิค เลือกโครงสร้างเหล็ก ให้เหมาะกับบ้านมากฝาก
อาคารเรียนโครงสร้างเหล็ก รองรับแผ่นดินไหว
ออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ดีไซน์แม่แบบสำหรับโรงเรียน หรืออาคารทั่วไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในระยะยาว