ใบหนาเป็นมัน
เล็บครุฑทอง
เล็บครุฑเทียม เล็บครุฑทอง ชื่อวิทยาศาสตร์: Euodia ridleyi Hochr. วงศ์: Rutaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1 เมตร ลำต้น: ตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบ: รูปแถบ ยาว หนาเป็นมัน ขอบใบหยักเว้าไม่สม่ำเสมอ ปลายใบแหลม ในใบมีต่อมน้ำมัน ก้านใบสีน้ำตาลแดงเรื่อ ทรงพุ่มใบคล้ายเล็บครุฑ ดอก: ออกเป็นช่อ ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไรถึงจัด ขยายพันธุ์: แยกกอ การใช้งานและอื่นๆ: ระยะปลูก 30-50 เซนติเมตร หรือ 12 ต้น/ตารางเมตร ปลูกเป็นแนวรั้ว ใบสีเหลืองทองให้ความสว่างกับสวนได้ดี
ไทรยอดทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus microcarpa L.f. ‘Golden Leave’ วงศ์: Moraceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: ได้ถึง 25 เมตร ลำต้น: ตั้งตรง เรือนยอดแผ่กว้าง มีรากอากาศห้อยระย้า พุ่มกว้าง 3-5 เมตร ใบ: เดี่ยว รูปรี ใบหนาเป็นมัน ใบอ่อนสีเหลืองทองตัดกับใบแก่สีเขียวเข้ม อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ระยะปลูก 30-50 เซนติเมตร หรือ 12 ต้น/ตารางเมตร ต้องตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้สูงเกินไป เพราะโดยธรรมชาติไทรยอดทองเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ กลายพันธุ์จากไทรย้อยใบทู่ (F.microcarpa)
มะม่วงหิมพานต์
มะม่วงลังกา มะม่วงเล็ดล่อ มะม่วงสิงหล Acajou, Cashew, Maranon ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardium occidentale L. วงศ์: Anacardiaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้น: มีกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่โดยรอบ เปลือกต้นสีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีเหลืองและเหนียว ใบ: เดี่ยว รูปไข่กลับ ออกเวียนสลับปลายใบมน โคนใบสอบ ยอดใบอ่อนสีแดงเรื่อ แผ่นใบหนาเป็นมันเห็นเส้นใบชัดเจน ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีชมพู ส่วนของฐานรองดอกเจริญเป็นผล ผล: คล้ายชมพู่ เมื่อสุกสีเหลืองหรือสีแดงเรื่อ เรียกว่าผลปลอม ชาวใต้เรียกว่า เต้า ส่วนล่างมีเมล็ดรูปไตห้อยอยู่ เป็นผลที่เกิดจากการผสมเกสรคือส่วนของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่กินกันทั่วไป อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี ทนดินเค็ม น้ำ: น้อย […]