ดอกดิน

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Aeginetia indica Roxb. วงศ์: Orobanchaceae ประเภท: พืชกาฝาก* อายุหลายปี ความสูง: 10-40 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นปมเล็กๆ ใต้ดิน ขึ้นบนรากพืชอื่น ใบ: ไม่มีใบและไม่มีคลอโรฟิลล์ ดอก: ก้านดอกสีขาวอมเหลืองหรือขาวปนแดงเรื่อถึงม่วงดำ หรือเป็นลายประตามยาว ผิวก้านเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนปลายก้านแผ่ออกเป็นกาบหุ้มดอกรูปไข่ ปลายแหลมและโค้งงอลง ดอกรูปถ้วยหรือเป็นหลอดกว้าง ด้านในสีม่วงแดงหรือม่วงเข้ม ด้านนอกสีขาวอมม่วง ผล: แห้งและแตก มีเมล็ดสีเหลืองอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ร่ม-รำไร การใช้งานและอื่นๆ: ดอกดินเป็นพืชกาฝากของพืชวงศ์หญ้าและวงศ์ขิงบางชนิด พบตามพื้นที่ชุ่มชื้น บางครั้งพบในแปลงเพาะปลูก มักขึ้นเป็นกลุ่มในบริเวณเดียวกัน พบทุกภาคของไทย ดอกสดและแห้งให้น้ำสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารและขนม Note พืชกาฝาก คือพืชที่ดูดธาตุอาหารจากพืชอื่นๆ ที่มันขึ้นอยู่ มีความหมายเหมือนกับพืชเบียนหรือปรสิต

สรัสจันทร

กล้วยมือนาง/ดอกดิน/หญ้าหนวดเสือ ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia coelestis D.Don วงศ์: Burmanniaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ต้องพึ่งพาเชื้อราในการเจริญเติบโต ความสูง: สูง 10 – 40 เซนติเมตร ลำต้น: คล้ายหญ้า ใบ: ใบเดี่ยว รูปหอกหรือแถบ ยาว 0.5 – 2 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อกระจุก ช่อละ 1-8 ดอก แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 – 8 มิลลิเมตร ยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร สีม่วงอมฟ้าหรือม่วงคราม ปลายกลีบบนสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง 3 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ออกดอกเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผล: รูปไข่ ภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก […]