© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
จะรู้ได้อย่างไรว่า โรงแรมหรือรีสอร์ตที่เราเข้าพัก ได้รับการออกแบบก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมายให้ปลอดภัยจากเหตุ ไฟไหม้ ? สำหรับหลายๆ คน การไปเที่ยวพักผ่อนตามโรงแรมหรือรีสอร์ตถือเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้พักผ่อนร่างกายและจิตใจแบบไร้กังวล แต่เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเหตุ ไฟไหม้ นั้น อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงขณะที่เรากำลังผ่อนคลายอยู่ภายในที่พักด้วย กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้สำหรับโรงแรมและรีสอร์ตมีอะไรบ้าง รวมทั้งเราจะสามารถสังเกตและระมัดระวังตัวเองได้อย่างไร บ้านพักรีสอร์ตสร้างจากวัสดุไม้ได้หรือไม่? กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ระบุว่า เสา คาน พื้น บันได และผนังของอาคารโรงแรม ต้องทำจากวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ โดยวัสดุทนไฟตามกฏหมายนั้น หมายถึงวัสดุก่อสร้างที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องเป็นวัสดุประเภทใด หรือต้องทนไฟได้กี่ชั่วโมง ดังนั้น เราจึงอาจพบว่ามีบ้านพักรีสอร์ตหลายแห่งที่ก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงจาก หรือตกแต่งด้วยวัสดุธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีแปรรูปวัสดุธรรมชาติหลายประเภทให้สามารถทนไฟได้นานขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของที่พัก อุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือน กฎกระทรวง กําหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ระบุถึงการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ไว้ดังนี้ สำหรับอาคารโรงแรมที่ลักษณะเป็นบ้านแถว บ้านแฝด หรือบ้านเดี่ยว สูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม คูหาละ 1 เครื่อง และติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ คูหาละ […]
ไม่มีใครต้องการให้อัคคีภัยเกิดขึ้น เจ้าของบ้านทุกคนจึงควรทำความเข้าใจสาเหตุของเภทภัยให้ทันท่วงที เพื่อป้องกันการสูญเสียให้ดีที่สุด บ้านและสวน คุยกับ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถึงกรณีของเหตุ ไฟไหม้บ้าน และถล่มของบ้าน 3 ชั้นในหมู่บ้านกฤษดานคร 31 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุการถล่มของอาคาร และการป้องกันอัคคีภัยร้ายแรงที่เจ้าของบ้านทุกคนสามารถทำได้ Q : กรณีเพลิงไหม้จนถึงขั้นทำให้อาคารถล่ม เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง A : หลักการของสาเหตุที่ทำให้อาคารวิบัติได้ ในเชิงวิศวกรรมมีทั้งหมดเพียง 4 ข้อเท่านั้น ซึ่งเป็นหลักการสากลเลยนะครับ ถ้าเกิดการพังทลาย วิศวกรจะมองแค่ 4 ข้อเท่านั้น ข้อแรก ออกแบบและคำนวณถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเราอยากรู้ว่าออกแบบถูกหรือไม่นั้น เราก็ต้องเอาแบบมาดู เอารายการคำนวณมาดู เพื่อจะดูได้ว่า ในแบบมีการออกแบบอย่างไร มีการต่อเติมไปจากแบบเดิมบ้างหรือไม่ และการคำนวณโครงสร้างถูกต้อง อาคารแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ข้อที่ 2 การใช้วัสดุและการก่อสร้างว่าทำตามแบบตามมาตรฐานหรือไม่ ไม่ใช่ตามแบบเสา 40 x […]
กฎหมายอาคาร ปรับปรุงเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 68 (พ.ศ.2563) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีสาระสำคัญที่มีผลกับการออกแบบและก่อสร้าง 6 หัวข้อ โดยสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ 1.กำหนดให้การวัด “แนวอาคาร” คือ วัดที่ขอบนอกสุดของอาคาร กฎหมายอาคาร มีการให้คำจำกัดความของ “แนวอาคาร” ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่ก่อนไม่มีการระบุ จึงเกิดการตีความแตกต่างกัน (เราใช้แนวอาคารอ้างอิงในการขออนุญาตก่อสร้างหลายจุด เช่น ระยะถอยร่นของตัวอาคารกับเขตที่ดิน) โดยระบุไว้ว่า “แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” 2.บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้ เป็นการผ่อนปรนให้กับตึกแถวและบ้านที่ทำผนังใกล้เขตที่ดิน จึงกำหนดให้บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้เมื่อมีลักษณะตามที่กำหนด โดยระบุไว้ว่า “ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วหนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้วต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ทั้งนี้ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนังแต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ” 3.การวัดความสูงอาคาร ไม่คิดรวมสิ่งที่ตั้งอยู่บนอาคาร […]
เกือบๆทุกบ้านนั้นมักจะมีการ ต่อเติม เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้แก่บ้านและอาคาร แต่ทราบหรือไม่ว่าการต่อเติมอาคารอย่างถูกกฎหมาย-แบบใดไม่จำเป็นต้องขออนุญาต