กลับบ้านไปทำเกษตร – บ้านและสวน

สมถะ-สถาน บ้านสวนล้อมแปลงผัก ดูแลง่าย ของสถาปนิก

บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ และสตูดิโอออกแบบของสถาปนิก ในรูปแบบของบ้านสวน ทีออกแบบบ้านให้ดูแลง่าย พร้อมปลูกผักทำเกษตรเอง

ทําความรู้จัก“Permaculture” วัฒนธรรมใหม่ของโลก ที่แก้ปัญหาปากท้องและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จากปัญหาวิกฤตโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ความสวยงามและการใช้งานอาจไม่เพียงพอเสียแล้วสําหรับการออกแบบสวนในปัจจุบัน สิ่งสําคัญคือสวนนั้นต้องช่วยให้เรามีชีวิตรอดในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง คําว่า“Permaculture”จึงเริ่มเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างทั่วทั้งโลก ใครที่ยังไม่เคยรู้จักหรือรู้จักเพียงผิวเผิน เรามาเริ่มทําความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย ที่มาที่ไป เพอร์มาคัลเจอร์เกิดขึ้นเมื่อราวปีค.ศ.1978 โดยบิลมอลลิสันและ มาซาโนบุ ฟุกุโอกะ ซึ่งต้องการศึกษาหาแนวทางที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อทําการเกษตรแบบยั่งยืน(Permanent Agriculture) ต่อมาจึงได้เกิดความเข้าใจว่า การจะทําการเกษตรรูปแบบนี้จําเป็นต้องทําวิถีชีวิตในทุกด้านให้ยั่งยืนด้วย แนวคิดดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปจนเป็นที่ยอมรับและศึกษาต่อไปในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก หากจะสรุปสั้นๆ เพอร์มาคัลเจอร์คือการทําเกษตรกรรมผสมผสานรูปแบบหนึ่งที่คนไทยก็คุ้นเคย ขนานไปกับวิถีชีวิตที่เป็นการรวมศาสตร์ในด้านต่างๆมาใช้ออกแบบวัฒนธรรมในทุกด้านของการดํารงชีวิตประจําวัน เพื่อผลิตอาหารและพลังงานให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล พร้อมรับมือสู่อนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนและปัญหาพลังงานที่ลดลงไปในทุกวัน จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ของวิถีชีวิตแบบเพอร์มาคัลเจอร์ไม่มีหลักตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์หรือความเหมาะสม เราได้รวบรวมไอเดียที่น่าสนใจของวัฒนธรรมสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสวนที่บ้านคุณได้ไม่ยาก ดังนี้ ลําดับการวางผังสวน การวางผังหรือแบ่งสัดส่วนภายในสวนเป็นหัวใจสําคัญของการทําสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์รูปแบบที่นิยมทํากันจะเริ่มจากการเลือกบริเวณที่ตั้งของบ้านที่อยู่อาศัยให้อยู่ตรงกลาง มีทางเข้า-ออกที่เชื่อมกับพื้นที่สาธารณะได้สะดวก ก่อนกําหนดโซนอื่นๆให้แผ่ออกเป็นรัศมีวงล้อมขยายซ้อนออกไปเรื่อยๆ โดยแต่ละลําดับของชั้นต่างๆ ด้านที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยคือการทําเกษตรที่ต้องการการดูแลหรือนํามาใช้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ขณะที่วงนอกสุดออกแบบให้มีลักษณะเป็นสวนป่าเพื่อรักษาและสร้างความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศเดิมหรือสวนป่าที่อยู่รอบๆ ทําให้สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พื้นที่ในบริเวณนี้แบบเชื่อมถึงกันได้ การวางผังในลักษณะนี้นอกจากจะง่ายต่อการจัดการดูแลสวนที่ใช้พลังงานน้อยลงแล้ว ยังสอดคล้องกับการวางระบบอื่นๆ ทั้งการระบายน้ํา ให้แสงสว่าง และสาธารณูปโภค ซึ่งในโซนต่างๆที่มีกิจกรรมที่สามารถผลิตปัจจัย4ในการดํารงชีวิตได้ ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เพื่อใช้ทําอาหาร ต้นไม้ที่มีใยหรือสีสําหรับทําเครื่องนุ่งห่ม ไม้หรือดินสําหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสมุนไพรสําหรับเป็นยารักษาโรค สร้างวงจรทรัพยากรที่เลียนแบบธรรมชาติ เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกันในพื้นที่ ป่าอาหาร […]

มะลิสปา ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

มะลิวัลย์ ชัยบุตร กับการทำเกษตรเพื่อปลดหนี้ในวันที่ชีวิตติดลบ

ในชีวิตคนเราจะมีช่วงเวลาที่เลวร้าย ตกต่ำ หรือย่ำแย่ได้สักกี่ครั้ง สำหรับบางคนอาจจะเจอครั้งแล้วครั้งเล่า หรือเข็มนาฬิกาของบางคนอาจจะยังไม่พาไปถึงจุดนั้น แต่ที่แน่ๆ มันจะต้องมีบางช่วงบางจังหวะที่เราเผลอไปเหยียบกับดักของโชคร้ายจนอาจจะทำให้เกิดความพลิกผัน กลายเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตไปเลย มะลิวัลย์ ชัยบุตร ก็เช่นเดียวกัน จากผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ในกรุงเทพฯ มีหน้าที่การงานรุ่งโรจน์ บทบาททางสังคมในอาชีพโปรแกรมเมอร์ มีเงินเดือนรายได้ที่ส่งเสียเลี้ยงดูลูกๆ ได้เป็นอย่างดี แต่วันหนึ่งเมื่อเธอตื่นขึ้นมาพร้อมกับหนี้ก้อนโตกว่า 6 ล้านบาทและสามีที่เคยเป็นเสาหลักของครอบครัวทิ้งเธอไป ทุกอย่างได้พังทลายลงมา รวมทั้งตัวเธอด้วย หนี้ก้อนโตไม่อาจจะเทียบเท่ากับความเจ็บปวดแสนสาหัสที่สามีเธอฝากไว้ ร่างกายและจิตใจที่เหมือนคนไร้วิญญาณต้องพักฟื้นเยียวยาโดยจิตแพทย์อยู่นานถึง 6 เดือน ลูกชายและลูกสาววัยเรียนต้องรับหน้าที่รักษาบาดแผลทางใจของผู้เป็นแม่ ทั้งๆ ที่พวกเขาควรให้ความสำคัญกับการศึกษามากกว่ามาคอยดูแลผู้ป่วยอย่างเธอ “ตอนนั้นเราไม่เหลืออะไรเลย รู้สึกเป็นแม่ที่แย่ แต่ยังดีที่กลับบ้านถูก” ใบหน้าเปื้อนยิ้มของหญิงวัยห้าสิบปีฉายขึ้นหลังจากเล่ามาถึงช่วงเวลาที่ผ่านมรสุมชีวิตด่านแรก ก่อนเริ่มนับหนึ่งใหม่หลังจากฉุกคิดได้ว่าตนเองนั้นกำลังเป็นตัวถ่วงในชีวิตลูกๆ และเธอต้องกลับมาเป็นเสาหลักให้ครอบครัว ให้ลูกได้เรียนต่อ ชดใช้หนี้สินที่ติดตัวเธอมา 3 คนแม่ลูกจึงกลับมาสร้างชีวิตใหม่ที่บ้านบางหมาก จังหวัดชุมพร ในสวนมะพร้าวซึ่งเป็นที่ดินมรดกของครอบครัว “หลังจากกลับบ้านมา เราก็ไปไหนไม่ได้ เพราะเราทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯนานถึง 30 ปี ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรหรือสวนมะพร้าวเลย ที่แรกที่ทำให้เรามีชีวิตแบบนี้คือเกษตรเมือง ตอนนั้นได้คุณสังคม ชูสุข ซึ่งเป็นเกษตรตำบลบางหมาก เข้ามาแนะนำให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ชาวบ้านละแวกนี้ปลูกกัน อย่างปาล์ม ผักหวานบ้าน แต่ด้วยสภาพจิตใจเราที่ยังแย่อยู่ […]