กัญชา
HAPPIELAND กัญชาไลฟ์สไตล์สโตร์ในบรรยากาศชวนฉงน
HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]
รู้เรื่องกัญฯ วิธี ปลูกกัญชา ฉบับเบสิก
เรื่องต้องรู้ก่อน ปลูกกัญชา พืชที่ถูกปลดล็อคออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ปลูกได้ในครัวเรือน
เมนูกัญชา จากต้นไม้ต้องห้ามสู่การศึกษา-ต่อยอด-และนำมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันกฎหมายปลดล็อกบางส่วนของต้นกัญชาและกัญชงที่ไม่ใช่ส่วนช่อดอกและเมล็ดให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดอยู่ในรายการของยาเสพติด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลที่นำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทยโดยใช้สมุนไพรบำบัดรักษาโรคก็ไม่หยุดที่จะเริ่มต้นศึกษาสรรพคุณในด้านต่างๆของกัญชา เพื่อนำมาใช้รักษาคนไข้และต่อยอดเป็นวัตถุดิบที่ช่วยชูรสในการประกอบอาหารอย่างปลอดภัย เมนูกัญชา ปัจจุบันโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกและนำกัญชามาสกัดเพื่อผลิตยาอย่างถูกต้องสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไข้และรักษาในแพทย์แผงปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ทำให้มีองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับสรรพคุณในส่วนต่างๆของกัญชามากพอสมควร ก่อนนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดเป็นเมนูอาหาร “มาชิมกัญ” ที่นำเอาส่วนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อย่างถูกกฎหมายอย่างส่วนใบของกัญชามาใช้ประกอบอาหารทั้งทำก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัดกะเพรา เล้งแซ่บ ขนมปัง ยำและเครื่องดื่ม อาหารที่ปรุงใช้ข้อมูลตั้งต้นจากภูมิปัญญาเดิมของตำหรับยาไทยมารังสรรค์เป็นอาหารที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือสาร THC ในปริมาณที่น้อย โดยเริ่มต้นให้บริการเฉพาะเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลก่อน ซึ่งการนำกัญชามาใช้ในเมนูอาหารถือว่าเป็นตัวนำร่องก่อนต่อยอดในธุรกิจสปาและการท่องเที่ยวต่อไป เพื่อให้ความรู้ด้านงานวิชาการการใช้ประโยชน์จากกัญชาเกิดความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยทำงานร่วมกับองค์กรอาหารและยา (อย.) และสถาบันกลุ่มกัญชาทางการแพทย์เกี่ยวกับการควบคุมหรือกำกับให้ข้อมูลความรู้ กินใบกัญชาแล้วอันตรายหรือไม่ ในจำนวนสารทั้งหมดในต้นกัญชากว่า 500 ชนิด จะมีสารหลักที่สำคัญและนำมาสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ รวมถึงมีงานวิจัยรับรองในปริมาณมากอย่างกว้างขวาง คือ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือสาร THC ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “สารเมา” มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol) หรือสาร CBD ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในกัญชาสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยจะมีสาร THC มากกว่าสาร CBD หากบริโภคในปริมาณสูง ระยะยาวจะทำให้เสพติด ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ไม่เกินวันละ 5-8 ใบ สำหรับผู้ที่เคยรับประทานมาก่อน […]
ปลดล็อกกัญชา-กัญชงสู่สมุนไพรครัวเรือน เพื่อใช้ในด้านการรักษา
ด้วยสรรพคุณที่มากเกินกว่าที่จะมาตีกรอบให้ “กัญชง-กัญชา” เป็นเพียงแค่ยาเสพติด ดังนั้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 2565 และ และ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 65 ลักษณะทั่วไปและความแตกต่างของต้นกัญชา-กัญชง กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และ กัญชง (hemp) พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) รวมถึงวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชาและกัญชง เช่น ยางและน้ำมัน เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ทั้งส่วนของช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น รากและเมล็ด ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 […]
กัญชา vs กัญชง ประวัติความเป็นมาและความต่างในความเหมือน
ไปรู้จัก ความเป็นมาแห่ง กัญชา พืชที่ฮอตและหลายคนอยากรู้จักที่สุดในเวลานี้ ซึ่งมีความแตกต่างกับ กัญชง พืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดของเมืองไทย