- Home
- การทำรั้ว
การทำรั้ว
โครงสร้างรั้ว และการแก้ไขปัญหารั้วล้มเอียง
วิธีก่อสร้าง รั้ว ให้แข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนานมีปัจจัยหลักๆ คือ สภาพดินและระดับดิน ในเบื้องต้นมีปัจจัยและชนิดของโครงสร้างรั้วต่างๆ ดังนี้ 1. ระดับความสูงดินสองฝั่งเท่ากัน กรณีที่ระดับดินของเราและเพื่อนบ้านสูงเท่ากัน และทำเป็นรั้วร่วมโดยแชร์ค่าใช้จ่ายกัน โดยสร้างทับแนวเขตที่ดิน สามารถใช้เสาเข็มต้นเดียวกันในฐานรากแต่ละอันได้ เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดและ รั้ว มีความสมดุลเพราะแรงดันของดินทั้งสองฝั่งเท่ากัน 2. ระดับดินแตกต่างกันไม่เกิน 60 เซนติเมตร ถ้าระดับดินแตกต่างกันไม่เกิน 60 เซนติเมตร หรือกรณีทำโครงสร้างรั้วอยู่ในเขตที่ดินของเรา โครงสร้างเช่นนี้ไม่สมดุลเหมือนกรณีแรก จึงต้องออกแบบเป็นฐานรากแบบตีนเป็ด (ยื่นเข้ามาในที่ดินของเราเพียงฝั่งเดียว) 3. ระดับดินแตกต่างกันมากกว่า 70 เซนติเมตร ถ้าระดับดินแตกต่างกันมากกว่า 70 เซนติเมตรขึ้นไป จำเป็นต้องใช้ฐานรากพิเศษ โดยเพิ่มคานดึงรั้งที่เรียกว่า “คานสเตย์” เพื่อไม่ให้กำแพงเอนล้มไปด้านที่ระดับดินต่ำกว่า อีกทั้งต้องออกแบบกำแพงกันดินทลายออกสู่ภายนอกด้วย สาเหตุและการแก้ไขกำแพง รั้ว เอียง 1. ก่อสร้างผิดวิธี หากการก่อสร้างไม่เหมาะสมกับสภาพที่ดินนั้นๆ เช่น การสร้างรั้วรอบที่ดินซึ่งมีระดับความสูง-ต่ำต่างกับที่ดินข้างเคียงมาก ถ้าช่างนำแบบก่อสร้างสำหรับรั้วทั่วไป (รั้วสำหรับที่ดินสองฝั่งสูงเท่ากัน) มาใช้งาน ก็จะทำให้รั้วเกิดอาการเอียงหรือแบะออกอย่างแน่นอน การแก้ไข ควรทำคานดึงรั้งที่เรียกว่า […]
สวนสำหรับสุนัข: 3. การแบ่งเขตภายในสวน
การเลี้ยงสุนัขโดยทั่วไปมักปล่อยให้เดินเที่ยวเล่นไปทั่วบริเวณบ้าน แต่ก็มีบ้างที่สุนัขอาจเข้าไปขุดคุ้ยแปลงต้นไม้ แม้ว่าเราสอนสุนัข (ตั้งแต่ยังเล็ก) ให้รู้ว่ามีบริเวณไหนบ้างที่ไม่ควรเข้าไป และในบางครั้งเราก็อาจต้องการพื้นที่เฉพาะหรือกักบริเวณในเวลาที่ไม่ต้องการให้สุนัขออกมายุ่มย่าม ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ สิ่งสำคัญของการแบ่งเขตภายในสวน เริ่มจากสำรวจเส้นทางเดิน ที่ใช้เป็นประจำทั้งของคนและสุนัข เพื่อกำหนดเส้นทางหลักในการวางผัง จากนั้นจึงจัดวางตำแหน่งต่างๆ ในสวน ทั้งพื้นที่ห้ามเข้าและเข้าได้ให้สอดคล้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ในบ้านที่มีสุนัขแสนซน ชอบเหยียบย่ำแปลงต้นไม้ การทำรั้วเตี้ยๆ กั้นแปลงต้นไม้แบบชั่วคราว ในขณะที่ต้นไม้ยังเล็ก ต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้าๆ เพื่อป้องกันการเหยียบย่ำหรือขุดคุ้ย หรือทำรั้วถาวรก็ได้ แต่ควรเลือกให้เข้ากับสไตล์สวนที่จัด การปลูกต้นไม้กั้นแนวเขตแปลง เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง โดยปลูกไม้ที่มีพุ่มแน่น ไม้ที่มีหนามเล็กๆ แต่ไม่มีพิษ เช่น ชาดัดและเข็มแดง เพื่อให้สุนัขรู้จักหลาบจำ ไม่กล้าเข้าไปเหยียบย่ำหรือนอนในแปลง เมื่อต้นไม้หลักที่ปลูกไว้โตแล้วก็ค่อยย้ายแนวป้องกันนี้ออกไป การทำกระบะต้นไม้แบบยกสูง ซึ่งนอกจากทำให้สวนที่มีแต่พื้นราบๆ แลดูมีมิติแล้ว ยังช่วยไม่ให้สุนัขทำลายต้นไม้ด้วย ความสูงของกระบะควรอยู่ในระดับสายตาสุนัข หรือประมาณ 45 ซม. อาจออกแบบเป็นที่นั่งเล่น เพื่อการใช้ประโยชน์ แต่ถ้าทำกระบะสูงควรสร้างฐานคอนกรีตลึกลงไปในดิน 40 ซม. ส่วนรูปแบบก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและสไตล์สวน วัสดุที่นิยมใช้ทั่วไปเช่น หินทราย อิฐ ไม้หมอนรถไฟ ในกรณีที่ใช้แผ่นไม้ควรอบ อัดน้ำยาหรือทาสีรักษาเนื้อไม้ เพื่อป้องกันแดดฝน […]