กินกับน้ำพริก
มะกอก
กอกเขา/มะกอกดง/Hog Plum ชื่อวิทยาศาสตร์: Spondias pinnata (L.f.) Kurz วงศ์: Anacardiaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: 10 – 40 เมตร ทรงพุ่ม: กลมและโปร่ง ลำต้น: เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 4 – 5 คู่ รูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ยอดอ่อนสีแดงเรื่อ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อโปร่ง ห้อยโค้งลง ดอกเล็กสีขาวอมเหลือง ผล: รูปไข่ ขนาด 3 – 4 เซนติเมตร สีเขียว เนื้อในเมื่อสุกสีเหลือง เปลือกเหนียว เมล็ดแข็ง รอบเมล็ดมีเสี้ยนแข็งมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: […]
พนมสวรรค์
ฉัตรฟ้า/ฉัตรสวรรค์/นมสวรรค์/สาวสวรรค์/Pagoda Flower ชื่อวิทยาศาสตร์: Clerodendrum paniculatum L. วงศ์: Lamiaceae (Labiatae) ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: สูงได้ถึง 2 เมตร ลำต้น: เป็นเหลี่ยม ใบ: เดี่ยว รูปหัวใจขนาดใหญ่หรือหยักเป็นพู 3 – 5 พู ออกตรงข้าม ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอด ชูตั้งขึ้นคล้ายฉัตร สีแดงอมส้ม ก้านชูเกสรเพศผู้ยื่นยาว ผล: เมื่อสุกสีแดงคล้ำหรือดำ มีเนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดแข็ง ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกกอหรือปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเลี้ยงง่าย หมั่นตัดแต่งพุ่มอยู่เสมอจะได้ทรงพุ่มสวย♦ ยอดอ่อนมีรสหวานมีวิตามินบี 2 สูง ใช้เป็นผักรองห่อหมก ซอยใส่แกงกะทิ หรือต้มกินกับน้ำพริก ♦ […]
พญายอ
ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องทอง เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์: Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้รอเลื้อย อายุหลายปี ใบ: เดี่ยว รูปใบหอก ออกตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายยอดในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีส้มอมแดง ผล: รูปไข่ เมื่อแก่แตกออกมี 4 เมล็ด ดิน: ดินร่วนปนทราย น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วหรือปลูกเป็นกอรอบโคนไม้ต้นก็สวยงาม แต่ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอจะไม่รกเกะกะ ♦ ยอดอ่อนนำมาต้มจิ้มน้ำพริก กินกับอาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่ในแกงแค ♦ ยอดอ่อนรสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ ขัดยอก ♦ ใบสดนำมาขยี้ทาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ♦ ใบสดคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาแก้เริม งูสวัด […]
ผักปลัง
โปเด้งฉ้าย/ผักปั๋ง/Ceylon Spinach/East Indian Spinach/Malabar Nightshade ชื่อวิทยาศาสตร์: Basella rubra L. วงศ์: Basellaceae ประเภท: ไม้เลื้อย มีหัวใต้ดิน ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดงสดหรือสีเขียว ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่อหักมีเมือกลื่น ใบ: เดี่ยว รูปไข่ ออกเรียงสลับรอบกิ่ง ปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวเป็นมัน ออกเวียนสลับ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเรียงเป็นแถวคล้ายตุ่มกลมติดอยู่บนก้าน เมื่อติดผลจะขยายขนาดและเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำ ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ริมรั้ว แต่ควรทำค้างให้เลื้อยพัน ♦ ยอดและช่อดอกอ่อนลวกจิ้มน้ำพริกหรือใส่ในแกงที่มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงใส่แหนม จะช่วยให้เมือกลดลง แต่จะทำให้อาหารมีสีแดงไปด้วย ♦ ยอด ใบอ่อนและดอกอ่อนรสเย็นจืด กินเป็นยาระบาย ♦ น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณแก้ผื่นคันคล้ายลมพิษ […]
ผักติ้ว
ติ้วขาว/ติ้วส้ม/แต้วหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Cratoxylum formosum (Jack) Dyer วงศ์: Clusiaceae (Guttiferae) ประเภท: ไม้ต้นผลัดใบ ทรงพุ่ม: กลม ความสูง: สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้น: เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด ใบ: เดี่ยว รูปรีแกมรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน ออกตรงข้าม ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ยอดใบอ่อนมีสีแดงเรื่อ แผ่นใบเป็นมัน ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ซอกใบ ผลิดอกหลังจากผลัดใบหมดทั้งต้นในช่วงฤดูหนาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวถึงชมพูอ่อน ปลายกลีบมีขนนุ่ม เกสรเพศผู้จำนวนมากและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้ประดับ ไม่ทนน้ำท่วมขัง นิยมแยกต้นที่เกิดจากรากมาปลูกใหม่ เพราะโตเร็วกว่าเพาะเมล็ด ♦ ยอดและดอกอ่อนมีมากในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว […]