รู้จักความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพต่อความเป็นเมือง

พื้นที่สีเขียวกับความหลากหลายทางชีวภาพมีความสัมพันธ์กัน ถ้าเรามองง่ายๆ พื้นที่ประกอบด้วยต้นไม้ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ก็นับเป็นพื้นที่สีเขียวแล้ว และพื้นที่เหล่านั้นจะนำมาความหลากหลายทางชีวภาพ นั่นคือ เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีพันธุ์พืชหลากชนิด พันธุ์สัตว์ที่หลากหลาย รวมไปถึงจุลินทรีย์ในดิน ในพืชและอากาศ บ้านและสวนมีโอกาสพูดคุยกับ คุณประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ชี้ให้เราเห็นอย่างหนักแน่นว่า พื้นที่สีเขียวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็น “โครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่น่าอยู่”  “เมืองไม่ได้มีแค่ตึกรามบ้านช่อง ถ้ามีพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่นันทนาการ เมืองก็น่าอยู่ สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้นเพราะว่าต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มช่วยกรองอากาศ กรองมลพิษได้ ยิ่งพื้นที่นั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น คนอาจมาใส่ใจเรียนรู้ว่านี่พืชอะไร ต้นอะไร บางทีอาจมีพืชสมุนไพร แล้วทำไมจึงมีแมลง นก ผีเสื้อเหล่านี้อยู่ และยังส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้คนด้วย ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะใกล้บ้านก็ตาม คนได้ออกมาพักผ่อน มาออกกำลังกาย อีกเรื่องคืออาหาร เพราะพื้นที่ที่มีความหลากหลายมีพันธุ์พืชจำนวนมาก รวมถึงพืชสมุนไพรและผักสวนครัวที่เราเก็บมารับประทานก็ถือว่าเป็นความหลากหลายทางชีวภาพอย่างหนึ่ง คุณอาจประหยัดเงินก้อนเล็กๆ จากการปลูกพืชและกินผักสวนครัวได้ซึ่งส่งต่อให้กลายเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ” ความหลากหลายไม่จำกัดขนาด ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พื้นที่สีเขียวในแต่ละเมืองควรมีอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน ขณะที่กรุงเทพมหานคร มีเพียง 7.49 ตารางเมตรต่อคน นับว่ายังน้อยกว่าเกณฑ์ ภาครัฐจึงพยายามผลักดันผ่านนโยบายและส่งเสริมในเชิงกฎหมาย เช่น กทม.มีนโยบายกรุงเทพสีเขียวปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น และนโยบายสวน […]

ออกสำรวจความหลากหลายของระบบนิเวศในเมือง

ไม่ใช่แค่ “ป่า” ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ “เมือง” ก็ต้องการความหลากหลายเช่นเดียวกัน  ยิ่งเมืองขยายตัวมากเท่าไร นั่นหมายถึงพื้นที่ธรรมชาติลดน้อยลงส่งผลต่อระบบนิเวศของเมืองและสุขภาวะของเหล่าคนเมือง ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนจึงพยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นทั้งในรูปแบบสวนสาธารณะ พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน หรือแม้กระทั่งปลูกต้นไม้ในอาคารเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้คน ขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความร้อนของเมือง ลดมลภาวะ และสร้างคุณภาพอากาศที่ดี  ครั้งนี้บ้านและสวน ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงชวนไปสำรวจความหลากหลายทางธรรมชาติในเมืองผ่าน 3 สวนสาธารณะแปลงใหญ่ อย่าง สวนป่าเบญจกิติ สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟ และสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ใจกลางคุ้งบางกะเจ้า เพื่อเปิดมุมมองของสวนสาธารณะที่เป็นมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยว ที่ออกกำลังกาย หรือที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ อุดมทั้งพรรณพืช สรรพสัตว์ ไปจนถึงจุลินทรีย์ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล  คุณสุรีย์พร เกิดแก่นแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานพื้นที่เฉพาะและพื้นที่พัฒนาพิเศษบอกว่า แม้พื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะจะมีประโยชน์ในภาพรวมที่เหมือนกัน แต่รูปแบบและวัตถุประสงค์ของแต่ละส่วนมีลักษณะและองค์ประกอบที่ต่างกัน ทำให้พรรณพืช พันธุ์สัตว์ของแต่ละสวนก็มีความต่างกันด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะเห็นได้จากการสำรวจ 3 สวนสาธารณะนี้ “สวนรถไฟ”  แก้มลิงของเมือง จะมีกี่คนที่จำได้ว่า 20 กว่าปีก่อนที่จะมาเป็น สวนวชิรเบญจทัศ หรือที่เราคุ้นกันในชื่อ สวนรถไฟ ที่แห่งนี้เคยเป็นสนามกอล์ฟโล่งเตียนมาก่อน ที่ดินจำนวน […]