คอนกรีตบล็อก – บ้านและสวน

COFFEE J & HOSTEL คาเฟ่เชียงใหม่ ของคนรักรถคลาสสิก เท่กลมกล่อมด้วยสไตล์อินดัสเทรียล

คาเฟ่สีดำบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่นี้ ตั้งอยู่ในย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของตั้งใจเปิดควบคู่ไปกับธุรกิจโฮสเทลที่อยู่ด้านบน เพื่อให้คนทั่วไปแม้ไม่ใช่ลูกค้าโฮสเทลสามารถเข้ามานั่งเล่นได้ ภายใต้ความเข้มเท่คมคายตามแบบฉบับชายหนุ่มผู้หลงใหลรถคลาสสิก คาเฟ่เชียงใหม่ ที่นี่มีไอเดียการตกแต่งมาจากงานอดิเรกและความชื่นชอบในการสะสมรถคลาสสิกของคุณจักรพล นิยมสิริ ผู้เป็นเจ้าของ โดยทีมสถาปนิกจาก ALSO design studio ได้หยิบคาแรกเตอร์ดังกล่าว มาใช้ถ่ายทอดโดยล้อไปกับดีไซน์ของโฮสเทล ด้วยการนำกลิ่นอายที่จะพาทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือยุคแห่งการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตรถยนต์ การออกแบบคาเฟ่จึงอิงหลักการออกแบบในสไตล์อินดัสเทรียล โดดเด่นด้วยความสวยงามที่มาจากการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุแต่ถูกลดทอนความเป็นดิบบางส่วนลงเพื่อให้เข้ากับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ ภายใต้โทนสีเทา-ดำ อันเป็นสีที่มาจากเนื้อแท้ของวัสดุปูน/คอนกรีต และสีดำด้านของเหล็กโลหะ การตกแต่งเน้นวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกับตัวอาคารของโฮสเทลอย่าง การนำคอนกรีตบล็อกมาทำเป็นฐานเคาน์เตอร์บาร์ ท็อปทำจากแผ่นคอนกรีตเปลือย ตลอดจนการปล่อยผิวผนังให้เป็นปูนเปลือยฉาบเรียบไม่ทาสี และโชว์ท่องานระบบที่เลียนแบบท่อรถยนต์แบบไร้ฝ้าปกปิด ส่วนเฟอร์นิเจอร์จัดวางแต่เพียงน้อยชิ้น เน้นเท่าที่จำเป็นในการใช้งานจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโฮสเทล โคมไฟและของตกแต่งรอบ ๆ ถอดรูปแบบมาจากลักษณะของรถ ความเงาของสเตนเลส และเหล็กสีดำที่ถูกสอดแทรกในองค์ประกอบต่าง ๆ โดดเด่นด้วยรูปภาพรถคลาสสิกสีขาว-ดำ บอกเล่าความชอบและรสนิยมของเจ้าของ ช่วยให้ร้านมีเสน่ห์ และแตกต่างจากคาเฟ่ในแนวอินดัสเทรียลทั่วไป แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างดิบกระด้างและหนาหนัก แต่ก็ยังมีการเลือกใช้กระจกมาเป็นช่องแสงขนาดใหญ่ให้ร้านมีมิติจากแสงเงา อีกทั้งเส้นสายของเฟรมกระจกสีดำยังช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การมองเห็น กำหนดแสงและบรรยากาศของร้าน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เผื่อการใช้งานคาเฟ่ที่อาจจะปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ได้ในอนาคต  พักสายตากับวิวสวนสีเขียวด้านนอกที่เน้นงานฮาร์สเคปเป็นหลัก โดยทำล้อไปกับรูปแบบของการออกแบบเปลือกอาคารโฮสเทลด้านนอก ด้วยการนำคอนกรีตบล็อกมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อเป็นขอบที่นั่งแบบเรียบง่าย พื้นโรยด้วยหินกรวด และไม้ใบเขียวที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่น ลดความดิบกระด้างของวัสดุและสเปซ ให้ผู้ใช้งานสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้อย่างโปร่งสบาย […]

บ้าน “อิฐบล็อก” สวยโดยไม่ต้องโดนฉาบ

บ้านสีเทาที่ดูเหมือนสร้างไม่เสร็จ (ในสายตาคนอื่น) แท้จริงแล้วมีเสน่ห์อย่างไร room มีตัวอย่างบ้านต่างประเทศสวย ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นจาก อิฐบล็อก วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดีมาฝาก โดยเฉพาะใครที่กำลังอยากสร้างบ้านสไตล์ลอฟต์โชว์ผิววัสดุดิบ ๆ การฉาบปิดผิวสุดเนี้ยบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนงานทาสีเก็บรายละเอียดจึงแทบไม่จำเป็น เพราะแค่เผยผิวแบบไร้สิ่งปรุงแต่ง แค่นั้นก็สวยได้โดยไม่ต้องโดนฉาบเลย เพราะเสน่ห์ของบ้านที่สร้างจาก อิฐบล็อก คือการโชว์ผิวให้แพตเทิร์นที่เกิดจากการเรียงต่อกันนั้น กลายเป็นลวดลายตกแต่งอาคารไปในตัว นอกจากนั้นใน อิฐบล็อก แต่ละก้อนจะมีรูตรงกลาง จึงเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนได้ดี และด้วยขนาดของก้อนที่ใหญ่ในขั้นตอนการก่อสร้างจึงสามารถแล้วเสร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมเป็นวัสดุที่คุ้นมือช่าง ที่สำคัญมีราคาถูก ” อิฐบล็อก ”  จึงถือเป็นวัสดุที่น่าสนใจ หากนำมาก่อสร้างด้วยไอเดียสร้างสรรค์ รับรองว่าบ้านอิฐบล็อกก็สามารถสวยได้ ไม่แพ้บ้านที่สร้างด้วยวัสดุอื่นเลย k59 Home and Atelier   บ้านอิฐบล็อกที่อยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของเวียดนาม ด้วยสภาพบ้านที่เป็นตึกแถว สถาปนิกจึงเลือกปรับตัวเองเข้าหาสภาพแวดล้อม โดยใช้โครงสร้างคอนกรีตและผนังคอนกรีตบล็อก รวมกับองค์ประกอบของงานไม้ เสริมบรรยากาศภาพรวมของบ้านให้ดูสบาย พร้อม ๆ กับการออกแบบที่เน้นให้แสงและลมพัดผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้ อย่างการออกแบบช่องว่างของอาคารและเพดานสูงโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ ช่วยให้มีพื้นที่ลื่นไหลเชื่อมโยงกันอย่างอิสระ พร้อมพื้นที่สีเขียวริมระเบียงช่วยกรองฝุ่นและเสียงรบกวนได้อย่างดี Mipibu House บ้านอิฐบล็อกที่ชื่อว่า Mipibu House […]

HOUSE BETWEEN BLOCKS หยิบคอนกรีตบล็อกสุดธรรมดา มาประกอบเป็นบ้านแบบโปร่งโล่ง

บ้านคอนกรีตบล็อก หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองบาบาโอโย ประเทศเอกวาดอร์ เมืองที่บ้านเรือนส่วนใหญ่อาศัยในรูปแบบของตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ มีลักษณะหน้าแคบตอนลึกยาว อันเป็นสาเหตุให้แสงธรรมชาติส่องไปถึงและไม่สามารถระบายอากาศได้ จึงกลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ที่ตั้งของ House Between Blocks บ้านคอนกรีตบล็อก อยู่ในที่ดินขนาด 7×10 เมตร ซึ่งเป็นของนักออกแบบสื่อสารเกี่ยวกับเสียงและวิชวล ที่เน้นทำงานอีเว้นต์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายเหมาะแก่การทำงานและอยู่อาศัย สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “คอนกรีตบล็อก” มาเรียงสับหว่างในส่วนของกำแพงด้านหน้า ส่วนประตูและหน้าต่างเลือกใช้วัสดุทั่วไปอย่าง ไม้ กระจก และเหล็ก ทั้งยังเลือกใช้ชายคาแบบโปร่งแสงเพื่อยอมให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ หน้าต่างมีหน้าบานกว้างช่วยเสริมการระบายอากาศ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของพื้นที่ รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัดเพื่อประหยัดพื้นที่ เกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด            บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างของการการอยู่อาศัยแบบพอดีและการออกแบบที่ยั่งยืน ด้วยการใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้น้อย และสามารถก่อสร้างได้ด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการดึงศักยภาพของสิ่งที่มีในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura ภาพ : JAG Studio เรียบเรียง : BRL