คอร์ตกลางบ้าน
คอร์ตกลางบ้านกับต้นไม้ใหญ่ของบ้านเรียบง่ายสไตล์เซน
บ้านดีไซน์อบอุ่นเรียบง่าย เชื่อมโยงทุกคนด้วย คอร์ตกลางบ้าน บรรยากาศเเบบสวนญี่ปุ่น พร้อมมุมมองที่เปิดโล่งเย็นสบาย สัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติตามวิถีเเห่งเซน
บ้านขนาดเล็ก ที่สวนกับบ้านเป็นพื้นที่เดียวกัน
บ้านขนาดเล็ก ของคนรักต้นไม้ กับการออกแบบพื้นที่พักอาศัยโดยผนวกสวนเเละฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ภายในบ้านบรรยากาศโปร่งสบายเเบบดับเบิ้ลสเปซ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: STUDIO LOCOMOTIVE บ้านขนาดเล็ก หลังนี้ เริ่มต้นจากความชื่นชอบต้นไม้ และรักสัตว์ ของ คุณปริม-ปาริชาติ พัดบุรี อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่อยากสร้างบ้านแบบไม่เป็นหนี้ในจังหวัดภูเก็ตบ้านเกิด แต่ด้วยข้อจำกัดทั้งงบประมาณและขนาดที่ดิน คุณโปร-คุณธนาฒย์ จันทร์อยู่ สถาปนิกแห่ง Studio Locomotive จึงออกแบบโดยมุ่งความสำคัญไปที่การตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตพื้นฐานเป็นเรื่องแรก เช่น เรื่องความปลอดภัย พื้นที่เพื่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับขั้นตอนและความซับซ้อนด้านการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับงบประมาณ ไปพร้อม ๆ กับการช่วยประหยัดพลังงานระหว่างวัน ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นเป้าหมายของการออกแบบบ้าน ให้เป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่คู่สามีภรรยาต้องการ บ้านหลังนี้มีลักษณะด้านหน้าเเคบเเละยาวลึกเข้าไปด้านใน ดูคล้ายกับรูปแบบของอาคารพาณิชย์ แต่ด้วยการตั้งอยู่ในที่ดินของตัวเอง เจ้าของจึงสามารถเปิดช่องด้านข้างอาคารได้ เพื่อให้เเสงเเละอากาศถ่ายเทได้ดี สว่างปลอดโปร่ง ไม่ร้อน โดยได้เลือกทำช่องเปิดด้านหน้า ด้านหลัง และกลางบ้าน โดยเฉพาะช่องเปิดที่กลางบ้าน ซึ่งมีเเสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากบนหลังคาที่ยกสูงขึ้น ช่วยให้ความร้อนลอยตัวออกสู่ภายนอกได้ และช่องเปิดนี้ยังใช้หลังคาเเบบใส แสงจึงส่องเข้ามาถึงพื้นที่ใช้สอยทุกส่วนในบ้านได้ ขณะที่บันไดและทางเชื่อมห้องนอนยังทำมาจากเหล็กตะแกรง แสงสามารถลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่างอย่างทั่วถึง เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ซึ่งเป็นคอร์ตสวนอยู่ในบ้าน บ้านหลังนี้ยังเลือกใช้วัสดุและเทคนิคในการก่อสร้างโดยอิงจากความเข้าใจและความสามารถพื้นฐานของช่างในพื้นที่ […]
Looklen Architects
ที่อยู่ : 48 ซอยสาธุประดิษฐ์ 57 เเยก 4 ถนนสาธุประดิษฐ์ เเขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ : 09-9006 4966 Facebook : LooklenArchitects looklen.com
บ้านโมเดิร์นหลังใหญ่เชื่อมโยงการอยู่ร่วมกันด้วยสวนกลางบ้าน
บ้านโมเดิร์น ที่มองจากภายนอกเห็นเป็นเพียงอาคารทรงกล่องปิดทึบ เเต่ภายในกลับโปร่งสบายด้วยคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางเชื่อมโยงทุกคนในครอบครัวให้มีกิจกรรมร่วมกัน โดยยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวเเละไลฟ์สไตล์อิสระของเเต่ละคนเอาไว้เเบบไม่อึดอัด
เปลี่ยนบ้านจัดสรรทึบตันให้เปิดโปร่ง ล้อมคอร์ตสวนหิน กลิ่นอายญี่ปุ่น
เพราะความผูกพันต่อสถานที่ที่เรียกว่า “บ้าน” ซึ่งอยู่อาศัยร่วมกันมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่แต่งงานกันใหม่ๆ กลายเป็นมรดกล้ำค่าทางความรู้สึก และทำให้ คุณกานต์ เฮงสวัสดิ์ คนรุ่นลูกก็ไม่ได้รู้สึกอยากย้ายที่อยู่ไปสร้างบ้านหลังใหม่ของตัวเอง
บ้านโมเดิร์นหลังใหญ่ที่มีหัวใจเป็นคอร์ตกลางเปิดโปร่งอยู่สบาย
บ้านโมเดิร์นแบบเปิดโล่ง ดีต่อสุขภาพมากกว่า ไม่อึดอัด และอยู่ได้นาน ตอนผมมาซื้อบ้านตรงนี้ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านแม่ ก็มีบ้านเก่าอยู่แต่ทรุดโทรมมาก…
บ้านคือศูนย์รวมใจ
เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]
บ้านต่างวัยแต่ใจเดียวกัน
แม้จะไม่มีข้อมูลทางสถิติมายืนยัน แต่เรามั่นใจว่าเวลาและประสบการณ์ทำให้การเลือกบ้านในฝันของแต่ละช่วงอายุนั้นต่างกันออกไปในวัยรุ่นอาจต้องการเพียงพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ขณะที่วัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างตัวและครอบครัวคงมีช่วงเวลาหนึ่งที่คิดว่าจะเลือกอยู่บ้านเดิมของพ่อแม่หรือย้ายออกไปหาบ้านใหม่ ส่วนวัยบั้นปลายก็คงต้องการแค่ความสะดวกสบาย ความสบายกายและใจ รวมถึงได้อยู่บ้านพร้อมหน้ากับครอบครัว คงเป็นความโชคดีของครอบครัว อารักษ์เวชกุล เพราะเจ้าของบ้านหลังนี้ค้นหาความต้องการของตัวเองพบตั้งแต่เริ่มต้น คุณพบ – ศีลวัตรและ คุณจอย – ลลิตา อารักษ์เวชกุล สองสถาปนิกที่มีโอกาสสร้างบ้านที่ใช่สำหรับครอบครัวเล็กๆผังของบ้านทั้ง 3 หลังจัดวางเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวบ้านออกแบบเป็นสไตล์โมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือยและไม้ธรรมชาติ ประกอบด้วยบ้านหลังแรกซึ่งเดิมทีอย่อูาศัยกัน 4 คน ได้แก่คุณพบ คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย โดยอยู่ตำแหน่งตรงกลางที่ดิน คุณพบเล่าว่า เขาได้รับโจทย์จากคุณพ่อให้ออกแบบบ้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียนจบใหม่ๆ ถือเป็นผลงานออกแบบชิ้นแรกที่ตั้งใจทำอย่างเต็มที่ กระทั่งเมื่อคุณพบแต่งงานกับคุณจอยจึงได้ออกแบบบ้านหลังที่สองเพื่อให้เป็นบ้านของน้องชายแยกออกมาต่อมาเมื่อน้องชายแต่งงานจึงแยกบ้านออกไป ส่วนหลังที่สามเป็นของคุณแม่คุณจอย ซึ่งย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้ใกล้ชิดหลาน ทั้งครอบครัวจึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้ได้อยู่ติดกัน จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือแม้จะปลูกสร้างในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนยังคงมีความเป็นส่วนตัวด้วย ทว่าก็ยังเว้นที่ไว้สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง และมีพื้นที่ระหว่างกันในบ้านแต่ละหลัง คุณพบและคุณจอยเล่าว่า “เราชอบทำเลย่านพัฒนาการ เพราะยังโล่งและไปไหนมาไหนสะดวก ไม่เคยคิดจะไปอยู่ที่อื่นโครงการที่อยู่นี้ก็เงียบๆ เล็กๆ มีกรรมการหมู่บ้านที่ดี ที่สำคัญคือเราได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี” บ้านที่ดีก็คือบ้านที่อยู่สบาย คุณพบวางผังของบ้านแต่ละหลังไม่ให้บดบังทิศทางลมซึ่งกันและกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางของบ้านเป็นคอร์ตขนาด 4 × 8 […]