© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สวนทุ่งน้ำ (wetland) คืออะไร สำคัญยังไงกับระบบนิเวศของเมืองและธรรมชาติ โดย ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นักนิเวศวิทยา และผู้เขียนหนังสือ Homo Gaia
คุณแหยม-อำนาจ ธงศรี เจ้าของ หินเทียม มิธอาร์ต เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์เป็นเวลากว่า 10 ปี จนชำนาญ มีผลงานหลากหลายแบบตามความต้องการของลูกค้า
ภาพวาดพรรณไม้ทางวิทยาศาสตร์อาจเป็นเรื่องไกลตัวสําหรับคน ทั่วไป แต่หากมองให้ลึกไปถึงรายละเอียดของชิ้นงาน เชื่อว่า คุณจะตื่นตาตื่นใจกับงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่มีมุมมองสวยงาม แปลกออกไปเป็นแน่ เพราะศิลปะวิทยาศาสตร์ (Scientific Art Illustration) เป็นงานศิลปะที่ถ่ายทอดเรื่องราวของธรรมชาติ อันละเอียดอ่อน แสดงถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ลึกลงไปกว่าที่ ตาเห็น เช่น ชิ้นส่วนต่างๆ ของพืช ซึ่งวาดเพิ่มเพื่อบอกรายละเอียดที่สมจริงเป็นข้อมูลพื้นฐานตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่นําไปใช้งานได้จริง ในครั้งนี้เราได้พูดคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์สอนวิชา “นิทัศน์ทางวิทยาศาสตร์” ภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นวิชาเลือกสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เปิดสอนครั้งแรก ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา จุดเริ่มต้นที่ทําให้อาจารย์ศศิวิมลหันมาทํางานด้านนี้ก็เพราะตอนนั้นไปเรียนต่อด้านพืชสวนในระดับปริญญาโทที่ University of Florida ประเทศ สหรัฐอเมริกา และลงเรียนวิชา Biological Illustration ซึ่ง สอนเกี่ยวกับการวาดรูปเชิงชีววิทยา “เริ่มเรียนจากเทคนิคต่างๆ ทั้งการใช้ปากกา ดินสอ การใช้สี ตั้งแต่ การร่างภาพ การลงสี ให้เราสังเกตมุมมองเพื่อให้สามารถวาดอะไรก็ได้ที่ […]
เผยเคล็ดลับเทคนิคการ ปลูกกุหลาบ ให้ออกดอก สวยงาม ตามแบบฉบับของ คุณต๋อม-ไฉไล โกมารกุล ณ นคร เจ้าของแปลงกุหลาบที่ชูช่อสวยงาม
การ ปลูกสับปะรดสี ที่มีสีสันสดใสและรูปทรงอันหลากหลายของทั้งใบ ดอก และทรงต้นที่งามราวกับผลงานศิลปะที่ธรรมชาติสร้างขึ้น ทำให้ คุณอ๊อตโต้- ทินกร กำลังงาม เริ่มหลงเสน่ห์ของ “บรอมีเลียด” หรือ “สับปะรดสี” รวมถึงต้นไม้ในวงศ์ Bromeliaceae ชนิดอื่นๆ จนเริ่ม ปลูกสับปะรดสี สะสม เพาะพันธุ์สำหรับประกวดและจำหน่ายจนเต็มโรงเรือน ทำให้ OTTO Bromeliad กลายเป็น โรงเรือนสับปะรดสี ที่น่ามาเที่ยวชมและล้วงความลับในการปลูกมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย การสร้างโรงเรือนสับปะรดสี โรงเรือนอ๊อตโต้ บรอมีเลียดตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยคุณอ๊อตโต้เป็นผู้ออกแบบโรงเรือนด้วยตัวเอง แต่ละเรือนใช้ปลูกพรรณไม้ต่างประเภทกัน เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพรรณไม้ชนิดนั้นๆให้มากที่สุด เช่น ไม้ทนแล้งหรือไม้ทะเลทรายจะใช้หลังคากันฝนแบบโปร่งแสง เพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามาช่วยทำให้ภายในมีความชื้นน้อยที่สุด แต่ยังต้องเปิดด้านข้างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนโรงเรือนบรอมีเลียดจะแบ่งเป็น 2 เรือนใหญ่ คือ ดิกเกียหรือสับปะรดหนาม กับสับปะรดสีทั่วไป เนื่องจากดิกเกียจัดอยู่ในกลุ่มไม้ทนแล้ง ต่างจากสับปะรดสีทั่วไปที่ส่วนใหญ่ชอบความชื้น ดังนั้นโรงเรือนของดิกเกียจะเปิดให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นปูคอนกรีตเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาดและแห้งเร็ว ส่วนโรงเรือนสับปะรดสีอื่นๆจะปูพื้นดินโรยกรวดที่ช่วยสะสมความชุ่มชื้นได้ตลอดวัน หากพื้นที่ปลูกมีแสงแดดจัด ความชื้นสัมพัทธ์น้อย ก็จะทำให้เกิดอาการใบเหลืองจากแดด และอาจทำให้ใบไหม้ได้ “สิ่งสำคัญคือต้องกรองแสงด้วยหลังคาซาแรนกรองแสงอย่างน้อย 50 […]
ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 หลายโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก สวนพฤกษศาสตร์ทวีชลและโรงแรม Horizon Village Resort เชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่นั้นก็นำไปสู่การค้นพบอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่กำลังช่วยธุรกิจโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวของที่นี่นั้นคือ การเพาะขายต้นไม้ในสวน เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคุณออมสิน-นันทนิตย์ เสสะเวช รองกรรมการผู้จัดการ โรงแรม Horizon Village Resort เชียงใหม่ โรงแรมในเครือและอยู่ในพื้นที่ของสวนพฤกษศาสตร์ทวีชลได้เริ่มเล่าถึงที่มาของสวนแห่งนี้คร่าวๆว่า “คุณพ่อ(คุณทวีศักดิ์ เสสะเวช) ตอนที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านได้ใช้พื้นที่บริเวณนี้เพื่อทดลองปลูกและเลี้ยงสัตว์เพราะจะได้เข้าใจปัญหาของเกษตรกรจริงๆ ขณะเดียวกันท่านก็เริ่มสะสมพรรณไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศระหว่างที่มีโอกาสได้ไปทำงานยังประเทศต่างๆมาเรื่อยและหลังเกษียรจึงเปิดเป็นสวนพฤกษาศาสตร์ในที่สุด แล้วก็ขยายเป็นธุรกิจโรงแรมต่อมาถึงแม้จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์เอกชนที่เก็บค่าเข้าชม แต่ก็ต้องยอมรับว่ารายได้จริงๆมาจากตัวโรงแรมเป็นหลัก แต่ช่วงวิกฤตโควิด-19ที่ผ่านมาไม่มีธุรกิจตัวไหนสามารถช่วยอุ้มกันได้เลย เราเลยเกิดอีกธุรกิจหนึ่งคือธุรกิจเพาะพันธุ์และจำหน่ายขายต้นไม้ในที่สุด” ด้วยตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปีที่คุณทวีศักดิ์ เสสะเวชเริ่มต้นสะสมพรรณไม้และขยายพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆทำให้ที่นี่เต็มไปด้วยพรรณไม้หลายพันชนิด ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ตระกูลปาล์ม ต้นไม้ตระกูลปรง ต้นไม้ทนแล้งเช่น กระบองเพชรและไม้อวบน้ำต่างๆ ต้นไม้ไม้ดอก เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ชวนชม เฟื่องฟ้า โป๊ยเซียน หน้าวัว เฮลิโคเนีย ดาหลา ขิงแดง ต้นไม้ตระกูลสับปะรดสี และต้นไม้ใบชนิดต่างๆ เช่น อโกลนีมา ฟิโลเดนดรอน โกสน เฟินชนิดต่างๆ ที่ตกแต่งอยู่ตามจุดต่างๆ บางชนิดก็เป็นต้นไม้ที่ปัจจุบันหาได้ยากในท้องตลาด […]
แม้งานออกแบบสวนสไตล์ต่างๆจะสร้างสุนทรียภาพและความพึงพอใจให้ผู้คนมามากมาย แต่พอถึงจุดหนึ่งความต้องการของผู้คนก็กลับถวิลหาจุดสมดุลเดิมที่ธรรมชาติได้สร้างไว้ ซึ่งให้ทั้งความผ่อนคลายและการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกับสิ่งแวดล้อม คุณธวัชชัย กอบกัยกิจ แห่ง TK Studio เป็นภูมิสถาปนิกท่านหนึ่งที่มีแนวทางการออกแบบงานภูมิทัศน์โดยให้ความสำคัญกับการเลือกใช้พรรณไม้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เขาคือผู้ออกแบบโครงการศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ซึ่งมีชื่อเสียงและกวาดรางวัลด้านการออกแบบมามากมาย นอกจากงานออกแบบโครงการดังกล่าวแล้ว ยังมีโครงการอื่นตามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกโครงการยังคงมุ่งเน้นไปที่การสร้างป่าในกรุง ทำไมงานออกแบบของ TK Studio ถึงให้ความสำคัญกับป่า “ที่จริงเราก็ออกแบบภูมิทัศน์เหมือนกับทุกบริษัท เราสนใจเรื่องการนำพรรณไม้ที่เหมาะสมมาใช้งาน เราพยายามบอกลูกค้าว่าอย่าไปดูความสวยงามเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว เราอยากช่วยให้แต่ละโครงการเกิดการพัฒนาให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เช่น พื้นที่หน้าโครงการที่มีท่อระบายน้ำสาธารณะขนาดเล็กระบายน้ำไม่ทัน เกิดปัญหาน้ำท่วม แทนที่เมื่อฝนตกแล้วจะระบายน้ำไปทั้งหมด คุณสามารถเก็บน้ำไว้ในพื้นที่โครงการได้ไหม ถ้าทุกคนช่วยกันน้ำแบบนี้จะท่วมได้อย่างไร” คุณธวัชชัยเล่าถึงลักษณะงานออกแบบของ TK Studio ในฐานะผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร “ผมอยากเห็นงานออกแบบที่ยั่งยืน เกิดต้นไม้สวยขึ้นเรื่อยๆ ผมประทับใจที่เวียดนามมาก ทั้งที่บริบทหลายๆอย่างของเมืองคล้ายกับบ้านเรา แต่เมื่อขึ้นไปบนตึกแปดชั้นก็ยังสามารถเห็นยอดไม้ของต้นไม้ริมทางได้” จุดเริ่มต้นคือความงามของการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ “ก่อนหน้านั้นตอนที่เรียนปริญญาตรี อาจารย์เคยสอนเรื่องหนึ่งว่า เมื่อเราเข้าไปใช้พื้นที่ในงานสถาปัตยกรรม เราก็จะได้ประสบการณ์จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้ากับงานภูมิสถาปัตยกรรมมาก เพราะในงานภูมิทัศน์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ” หลังจากเรียนจบ คุณธวัชชัยได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันก็เริ่มก่อตั้งบริษัทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมควบคู่ไปด้วย “ผมคิดว่าต้นไม้เป็นอะไรที่ท้าทายมากสำหรับประเทศไทย ซึ่งตอนที่ผมเรียนก็ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก แล้วผมก็ใช้ต้นไม้เป็นแค่ส่วนประกอบของงานภูมิทัศน์เพื่อให้เกิดความสวยงาม แต่ความสวยอาจไม่ยั่งยืน วันแรกที่จัดเสร็จคือวันที่สวยที่สุด ที่จริงมันไม่ควรเป็นแบบนี้ งานภูมิทัศน์ยิ่งอยู่นานยิ่งต้องสวยขึ้น” […]
มะกอกโอลีฟ พรรณไม้นำเข้าที่หลายคนอยากได้เป็นเจ้าของ โดยมีนักจัดสวนชื่อดังอย่างคุณวิทย์-ศิริวิทย์ ริ้วบํารุงเป็นผู้นำเข้า แต่คุณรู้หรือไม่ว่า...
คุยกับมือชีพครั้งนี้เราจะพาไปคุยกับคุณภู - ภูริวัจน์ วรากิติยาวิโรจกุล เพื่อทำความเข้าใจสวนญี่ปุ่นยุคใหม่แบบนอกตำราที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
คอลัมน์คุยกับมืออาชีพจะพาไปรู้จักกับ สกุล อินทกุล นักจัดดอกไม้ชื่อดังที่ประยุกต์ดอกไม้ไทยให้ออกมาทันสมัย และอยู่ร่วมกันกับสวนไทยได้อย่างเป็นหนึ่งเดียว