ง่าย
บ้านสวย เพราะต้นไม้ผสมผสาน
อยากมี บ้านสวย ๆ ดูดีไปได้นานๆ ต้องออกแบบ ต้องแต่งบ้านอย่างไร เริ่มต้นจากอะไร
Chiang Mai City วิถีชน (ใน) เมือง
แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]
Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ
ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]