เฮลิโอโทรป

Heliotrope/Cherry Pie ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliotropium arborescens L. วงศ์: Boraginaceae ประเภท: ไม้ดอกอายุหลายปี ลำต้น: ต้นเป็นพุ่มสูง 30-80 เซนติเมตร ใบ: ใบรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นใบเป็นร่อง ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ช่อใหญ่ประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ สีขาว ม่วง หรือม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอมช่วยดึงดูดผีเสื้อให้มาในสวน ดอกออกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน ชอบอากาศเย็น น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง หรือเพาะเมล็ด หลังเพาะ 60 วันจึงเริ่มออกดอก การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับแปลงและไม้กระถาง เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในเปรู

ประทัดดอย

Agapetes ชื่อวิทยาศาสตร์: Agapetes spp. วงศ์: Ericaceae ประเภท: ไม้ดอกอายุหลายปี ไม้อิงอาศัย ลำต้น: ต้นเป็นพุ่มกึ่งเลื้อย กิ่งก้านทอดเลื้อย โคนต้นเป็นโขด ใบ: ใบรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม บางชนิดมีขนปกคลุม ไม่มีก้านใบ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด มี 5-10 ดอก ดอกรูประฆัง โคนกลีบดอกเป็นหลอดยาว 3-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ 5 แฉกสั้น ๆ ดอกห้อยลง ออกดอกฤดูร้อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร ชอบอากาศเย็น น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถางหรือไม้ประดับสวน ในเมืองไทยพบ 15 ชนิดบนเทือกเขาสูงที่มีอากาศเย็น เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัยถึงทางตอนใต้ของจีน […]

มะลุลีใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum  multiflorum  ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น

มะลุลีใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum  multiflorum  ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น