ว่านนิลพัตร

ไดคอนดรา/ว่านไก่ชน/Lawn Leaf/Gelenga Grass ชื่อวิทยาศาสตร์: Dichondra  micrantha Urb. วงศ์: CONVOLVULACEAE ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือกขนาดเล็ก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดินเป็นพุ่มสูง 15-30 เซนติเมตร รากออกตามข้อ ใบ: ใบรูปหัวใจ ออกใกล้กันเป็นกระจุก ขนาด 2-4 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก: ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูร้อนและฤดูหนาว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไรถึงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อหรือปักชำลำต้น การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดินแทนหญ้า และเชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี สามารถป้องกันศัสตราวุธมีคมทั้งปวง ถ้านำหัวมาฝนใช้ทาตัว จะสามารถนอนบนกองไฟได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน หากกินหัวว่านนี้เข้าไปด้วยจะสามารถแบกหาม ชักลากไม้ได้ตลอดโดยไม่เหน็ดเหนื่อย เมื่อนึกจะทำการใดๆ ก็สำเร็จดีสิ้นทุกอย่าง ถ้าทาที่แข้งไก่ชนอีกฝ่ายจะแพ้ไปเอง จึงนิยมใช้กันมาก และเรียกกันว่า […]

เอื้องลิ้นดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Luisia thailandica Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: กลมยาวและแข็ง ตั้งตรง สูง 20-50 เซนติเมตร ใบ: กลมยาวคล้ายต้น เรียงเป็นระยะๆ รอบต้น   ดอก: ออกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหนาเป็นมันและงุ้มลงมาคลุมกลีบปาก สีเหลืองอมเขียว กลีบปากเป็นแผ่นหนา สีม่วงอมน้ำตาลเข้ม แยกเป็นสองช่วง ช่วงโคนผิวเรียบและมีหูปาก ช่วงปลายแผ่เป็นแผ่นกลมหรือรูปไข่ ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ดอกบานหลายวัน ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติบางครั้งก็พบขึ้นบนหิน

เอื้องช้างสารภี

เอื้องสารภี/เอื้องเจ็ดปอย ชื่อวิทยาศาสตร์: Acampe rigida (Buch.-Ham. ex J.J.Sm.) Hunt วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: ขนาดใหญ่ สูง 30-50 เซนติเมตรหรือมากว่า มีใบจำนวนมาก ใบ: รูปชอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและแข็ง    ดอก: ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ 5-10 ดอก กลีบงุ้มเข้าหากัน สีเหลืองอมเขียว มีขีดสีม่วงแดงตามขวาง โคนกลีบปากม้วนเป็นถุงสั้นๆ ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง สีขาว มีเนื้อเยื่อนูนเป็นตุ่มเล็กๆ หนาแน่น ดอกบานนาน มีกลิ่นหอม  ออกดอกเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร […]

เอื้องเทียนลำเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Coelogyne lentiginosa  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นหัวทรงกระบอกแกมรี มีเหลี่ยมมน เรียงตัวบนเหง้าห่างกันเล็กน้อย ผิวค่อนข้างมัน สีเขียวอ่อน ใบ: รูปรี แผ่นใบสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง โคนเรียวสอบเป้นก้าน  ดอก: ช่อดอกเกิดจากยอดใหม่ทางด้านข้างของโคนหัวเก่า กลีบสีครีมหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงใหญ่กว่ากลีบดอก กลีบดอกเป็นแถบแคบ โคนกลีบดอกทั้งสองข้างกระดกตั้งขึ้น ขอบสีน้ำตาลเข้ม ปลายปากแผ่กว้าง ขอบย้วยเป็นคลื่น ตรงกลางสีเหลืองอมน้ำตาล ขอบสีน้ำตาลกว้าง มีสันตรงกลางกลีบปาก  ออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวน หรือมุมบ้าน

แสลงพันกระดูก

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia similis Craib. วงศ์: Fabaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ลำต้น: เลื้อยได้ไกล 8-10 เมตร มีมือพัน ใบ: รูปไข่หรือค่อนข้างกลม โคนและปลายเว้าลึกเป็นช่องแคบคล้ายใบแฝดติดกัน ดอก: ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบลู่ไปด้านหลัง ดอกสีเหลืองอมเขียว โคนกลีบสีชมพู กลีบดอกรูปช้อน 5 กลีบ ยาว 2-3 เซนติเมตร มีก้านเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีแดง เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 3 อันและเป็นหมัน 7 อัน ออกดอกเดือนกันยายน-ธันวาคม ผล: เป็นฝักแบน เมล็ดรูปรี มี 8-10 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: […]

โฮย่าซินนาโมมิฟอเลีย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoya cinnamomifolia Hook. วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อย/โฮย่าขนาดกลาง ใบ: ใบรูปไข่ กว้าง 3 – 6 เซนติเมตร ยาว 8 – 15 เซนติเมตรปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนา สีแดง เห็นเส้นใบ 3 เส้นชัดเจน ดอก: แต่ละช่อมี 20 – 30 ดอก ดอกรูปดาว เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองอมเขียว มงกุฎสีแดงเป็นมันมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกในฤดูฝน อัตราการเจริญเติบโต : เร็ว วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ […]

ขิง

 ขิงแกลง/ขิงแดง/ขิงเผือก/Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber officinale Roscoe วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: 1 เมตร ลำต้น: เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเป็นพุ่ม ใบ: เดี่ยวรูปแถบ ออกเวียนสลับระนาบเดียว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม มีขนอ่อนปกคลุมทุกส่วน ดอก: ช่อดอกแทงจากดินชูตั้งขึ้น ผลิบานในฤดูฝน กาบรองช่อดอกสีเขียวอมแดงเรื่อ ดอกย่อยสีเหลืองอมเขียว ช่อดอกอยู่ได้นานเป็นเดือน ผล: เป็นผลแห้ง มีกาบช่อดอกรองรับ เมื่อแก่แตกออก ภายในแบ่งเป็นสามพู มีเมล็ดยาวรีสีน้ำตาล ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี ควรเริ่มปลูกในฤดูฝน จะช่วยให้ขิงแตกหน่อได้เร็ว น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ: ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับอาหารรสจัดต่าง ๆ และใช้เป็นสารกันบูดกันหืนได้ดี มีมากในฤดูฝน ♦ เหง้าอ่อนใช้ปรุงอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อปลา ♦ เหง้าขิงและใบขิงมีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร […]