ดอกหญ้า
หญ้าข้าวก่ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia disticha L. วงศ์: Burmanniaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น ใบ: ใบออกเวียนสลับเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปรีถึงไข่กว้าง ขนาด 4-6×7-10 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบบิดเป็นคลื่น ดอก: ก้านช่อดอกยาว 30-60 เซนติเมตร มีใบขนาดเล็กรูปแถบแกมใบหอกหุ้มอยู่เป็นระยะ ช่อดอกอยู่ที่ปลายก้านและแตกแขนงออกเป็น 2 แถว แต่ละดอกมีใบเล็กๆ รองรับ 1 ใบ กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบเชื่อมติดกัน แล้วแผ่ออกเป็นปีกบางๆ สีม่วงถึงม่วงอมน้ำเงิน เกสรเพศผู้สีเหลือง ดอกย่อยคล้ายกับดอกสรัสจันทร (Burmannia coelestris) ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามลานหินหรือดินที่ชื้นแฉะ อากาศค่อนข้างเย็น ขึ้นปะปนกับหญ้าอื่นๆ ในช่วงฤดูฝน
หญ้าเกล็ดหอย
เกล็ดปลา/ผักแว่นดอย/หญ้าตานทราย/หญ้าตานหอย/Beggarweed/Threeflower ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmodium triflorum (L.) DC. วงศ์: Papilionaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: แตกกิ่งก้านมากและทอดนอน ยาวถึง 50 เซนติเมตร ใบ: ประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่กลับหรือหัวใจกลับถึงค่อนข้างกลม ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อ 2-4 ดอก แต่มักมีช่อละ 3 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน ด้านนอกมีขนยาว กลีบดอกสีม่วงเข้มถึงม่วงอ่อน ขนาดเล็ก 4-5 มม. ออกดอกเกือบตลอดปี ผล: ฝักแบนและโค้งขึ้น ปลายแหลมคอดเป็นช้อๆ 3-4 ข้อ ยาว 1 เซนติเมตร เมล็ดขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: […]
ดาวเรืองป่า
ดาวเรืองภู ชื่อวิทยาศาสตร์: Anisopappus Chinensis Hook. Et Arn. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 50-150 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบ: เดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายมน ขอบจักฟันเลื่อยหรือหยักมนไม่สม่ำเสมอ ใต้ใบมีขนหนาปกคลุม มีก้านใบสั้น ดอก: ดอกดาวเรือง ออกเป็นช่อ มักออกที่ปลายกิ่ง 2-4 ช่อ สีเหลืองสดใสคล้ายดอกทานตะวัน แต่ขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 2-3 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เมล็ด: รูปขอบขนานแคบ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามชายป่าผลัดใบ ริมทางเดิน ทุ่งหญ้าและป่าสน พบบนภูและดอยต่างๆ […]
ดอกดิน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aeginetia indica Roxb. วงศ์: Orobanchaceae ประเภท: พืชกาฝาก* อายุหลายปี ความสูง: 10-40 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นปมเล็กๆ ใต้ดิน ขึ้นบนรากพืชอื่น ใบ: ไม่มีใบและไม่มีคลอโรฟิลล์ ดอก: ก้านดอกสีขาวอมเหลืองหรือขาวปนแดงเรื่อถึงม่วงดำ หรือเป็นลายประตามยาว ผิวก้านเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนปลายก้านแผ่ออกเป็นกาบหุ้มดอกรูปไข่ ปลายแหลมและโค้งงอลง ดอกรูปถ้วยหรือเป็นหลอดกว้าง ด้านในสีม่วงแดงหรือม่วงเข้ม ด้านนอกสีขาวอมม่วง ผล: แห้งและแตก มีเมล็ดสีเหลืองอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ร่ม-รำไร การใช้งานและอื่นๆ: ดอกดินเป็นพืชกาฝากของพืชวงศ์หญ้าและวงศ์ขิงบางชนิด พบตามพื้นที่ชุ่มชื้น บางครั้งพบในแปลงเพาะปลูก มักขึ้นเป็นกลุ่มในบริเวณเดียวกัน พบทุกภาคของไทย ดอกสดและแห้งให้น้ำสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารและขนม Note พืชกาฝาก คือพืชที่ดูดธาตุอาหารจากพืชอื่นๆ ที่มันขึ้นอยู่ มีความหมายเหมือนกับพืชเบียนหรือปรสิต
ชะมด
กระทงหมาบ้า/เก็งเต็งป่า/พายป่า/มะดาดดอย/ส้มกบ/ส้มฉิงเคลง/ส้มปูป่า/เส็งเคร็ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus surattensis L. วงศ์: Malvaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: ทุกส่วนมีขนและหนามเล็กๆ ใบ: รูปไข่กว้างถึงเกือบกลม เว้าเป็นพู 3-5 แฉก แคบ ขอบจักฟันเลื่อยไม่สม่ำเสมอ ดอก: เดี่ยวออกตามซอกใบ มีก้านดอกสั้นๆ ริ้วประดับสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีแดงเข้ม 5 กลีบ ดอกบานเป็นรูปถ้วยกลมค่อนข้างแบน ออกดอกฤดูหนาว ผล: แก่แห้งและแตก เมล็ดจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทางหรือถนนที่รกร้าง พบมากทางภาคเหนือลงมาภาคกลางและภาคใต้
จิ้มกุ้ง
ผักจิ้มกุ้ง หญ้าบั้ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca parishii Craib วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: รากอวบหนาคล้ายเหง้า แตกกิ่งที่โคนต้นไม่มาก มีน้ำยางขาวข้นคล้ายน้ำนม ใบ: รูปแถบถึงใบหอก ยาว 10-18 ซม. ขอบใบหยักลึกหรือเว้าเป็นพู โคนสอบแคบและยาว ยื่นเป็นติ่งหู ดอก: ช่อดอกใหญ่ มีดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับซ้อนกัน 2-3 ชั้น สีเขียวปนแดง กลีบดอกสีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกฤดูหนาว-ฤดูร้อน เมล็ด: มีกระจุกขนสีขาวที่ปลาย ช่วยให้ปลิวไปกับลม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทางหรือชายป่าผลัดใบ พบมากทางภาคเหนือ
ขี้อ้น
ขอบจักรวาล/ครอบจักรวาล/คืนหน/แสงอาทิตย์/หัสคุณดอกแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr. วงศ์: Malvaceae ประเภท: ไม้พุ่ม/วัชพืช ความสูง: 30-100 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรงหรือทอดเอนไปตามพื้นดิน มีขนรูปดาวทั่วไปทั้งลำต้นและใบ ต้นที่อยู่กลางแจ้งมักมีสีแดงเรื่อ ใบ: รูปไข่ถึงรูปหัวใจ หรือรูปโล่ ยาว 3-8 เซนติเมตร ขอบจักฟันเลื่อย ดอก: เป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีริ้วประดับรูประฆังปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกรูปไข่ถึงเกือบกลม สีชมพูอ่อน ชมพูปนม่วงแดงเรื่อ หรือชมพูแดง ออกดอกตลอดปี ผล: กลมแป้น ผิวเกลี้ยง แบ่งเป็น 5 พู เมื่อแก่แห้งและแตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทาง ชายป่าผลัดใบ พบมากทางภาคเหนือและอิสาน […]
กุง
หญ้าขนไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Xyris pauciflora Willd. วงศ์: Xyridaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 10-30 เซนติเมตร ลำต้น: แตกใบเป็นกอ ใบ: คล้ายใบหญ้า รูปแถบแคบขนาด 0.5-3×5-25 เซนติเมตร แผ่นใบแบนเรียบ มักมีปุ่มเล็กด้านบน สีเขียวสด ดอก: เป็นช่ออยู่ที่ปลายก้านสีเขียว ยาวตรง เป็นเหลี่ยมหรือเป็นเส้นเล็กๆ ตามยาว ใบประดับสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อนซ้อนกันเป็นช่อกลมรี ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ดอกเล็กๆ สีเหลืองออกจากซอกกาบใบ มี 3 กลีบ ปลายกลีบจักแหลม เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกเดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทราย น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่ชื้นแฉะในทุ่งหญ้าโล่ง และลานหินทราย ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงความสูง 1300 เมตร […]
หญ้า ไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่คิด
แต่ก่อนนี้ เวลาที่นั่งรถไปนอกๆ เมือง เราจะพบทุ่งรกร้างตามริมทาง ที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมมากมาย มาวันนี้เมืองขยายตัวออกไปมาก พื้นที่รกร้างกลายเป็นตึกรามบ้านเรือน ต้นหญ้า ดอกหญ้า หรือวัชพืชที่เคยชูช่อก็เริ่มหายไป หากคุณเคยเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามร่องสวน หรือสนามหญ้าเล็กๆ ที่โรงเรียน คุณต้องเคยเก็บหญ้าหงอนไก่มาตีกัน หรือมีเมล็ดหญ้าเจ้าชู้ติดตามเสื้อผ้า และอาจเคยเดินผ่านดงต้นสาบเสือ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อเอ่ยคำว่า “หญ้า” เราก็มักให้คำจำกัดความว่าเป็นต้นไม้ไร้ค่า ที่ขึ้นรกเรื้อในพื้นที่ว่างเปล่า หรือแปลงเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งจริงๆ ควรเรียก “วัชพืช” มากกว่า เพราะในทางพฤกษศาสตร์ให้คำจำกัดความของ “หญ้า” ว่าหมายถึง พืชวงศ์หญ้าหรือวงศ์ Poaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับข้าวและไผ่ หลายคนรู้จักหญ้าหลายชนิดนิยมใช้ในการจัดสวน เช่น หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หรือแม้แต่หญ้าแพรก ที่เราใส่ไว้ในพานไหว้ครู ส่วนหญ้าอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าเจ้าชู้ เรามักจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ดังนั้น “วัชพืช” หรือหญ้าในความหมายของคนทั่วไป จึงประกอบด้วยพืชหลายวงศ์ด้วยกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คนทั่วไปมองว่า หญ้าหรือวัชพืช เป็นพืชไร้ค่า จนมีคำเปรียบเปรยว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า” ที่คนทั่วไปคิดเช่นนั้นก็เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องหญ้าหรือวัชพืชดีพอ ความจริงแล้ว หญ้าหลายชนิดที่เราคิดว่าไร้ค่านั้น เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ เช่น […]
หญ้า ไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่คิด
แต่ก่อนนี้ เวลาที่นั่งรถไปนอกๆ เมือง เราจะพบทุ่งรกร้างตามริมทาง ที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมมากมาย มาวันนี้เมืองขยายตัวออกไปมาก พื้นที่รกร้างกลายเป็นตึกรามบ้านเรือน ต้นหญ้า ดอกหญ้า หรือวัชพืชที่เคยชูช่อก็เริ่มหายไป หากคุณเคยเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามร่องสวน หรือสนามหญ้าเล็กๆ ที่โรงเรียน คุณต้องเคยเก็บหญ้าหงอนไก่มาตีกัน หรือมีเมล็ดหญ้าเจ้าชู้ติดตามเสื้อผ้า และอาจเคยเดินผ่านดงต้นสาบเสือ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อเอ่ยคำว่า “หญ้า” เราก็มักให้คำจำกัดความว่าเป็นต้นไม้ไร้ค่า ที่ขึ้นรกเรื้อในพื้นที่ว่างเปล่า หรือแปลงเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งจริงๆ ควรเรียก “วัชพืช” มากกว่า เพราะในทางพฤกษศาสตร์ให้คำจำกัดความของ “หญ้า” ว่าหมายถึง พืชวงศ์หญ้าหรือวงศ์ Poaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับข้าวและไผ่ หลายคนรู้จักหญ้าหลายชนิดนิยมใช้ในการจัดสวน เช่น หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หรือแม้แต่หญ้าแพรก ที่เราใส่ไว้ในพานไหว้ครู ส่วนหญ้าอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าเจ้าชู้ เรามักจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ดังนั้น “วัชพืช” หรือหญ้าในความหมายของคนทั่วไป จึงประกอบด้วยพืชหลายวงศ์ด้วยกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คนทั่วไปมองว่า หญ้าหรือวัชพืช เป็นพืชไร้ค่า จนมีคำเปรียบเปรยว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า” ที่คนทั่วไปคิดเช่นนั้นก็เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องหญ้าหรือวัชพืชดีพอ ความจริงแล้ว หญ้าหลายชนิดที่เราคิดว่าไร้ค่านั้น เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ เช่น […]
กระต่ายจาม
การบูนป่า/ข้าวคำ/ข้าวก่ำ/พริกกระต่าย/โซเซ ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenosma indiana (Lour.) Merr. วงศ์: Scrophulariaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 15-70 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรง แตกกิ่งก้านน้อย ทุกส่วนมีขนยาวสีขาวปกคลุม ใบ: รูปไข่ถึงไข่แกมขอบขนาน ยาว 1-7 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอมเมื่อขยี้ ดอก: เป็นช่อแน่นค่อนข้างกลม ออกที่ปลายกิ่งหรือยอด มีใบประดับและกลีบเลี้ยงสีเขียว มีขน กลีบดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 5 มม.ปลายแยกเป็น 2 ปาก สีม่วงสด ออกดอกปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูร้อน ผล: แห้งแตก ขนาดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่ลุ่ม ชื้นแฉะและเปิดโล่ง เช่น ทุ่งหญ้า […]
ปอเทือง
ถั่วเมรี/หิ่งเม่น/หิ่งหาย/ฮ่งหาย/Smooth Rattled Pod/Crotalaria ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalaria pallida Ait. วงศ์: Papilionaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่ม ใบ: ใบประกอบแบบมีใบย่อย 3 ใบ รูปรียาว 3-8 เซนติเมตร ปลายมนทู่ ดอก: เป็นช่อยาวที่ปลายยอด สีเหลือง มี 5 กลีบ กลีบบนมีแต้มสีน้ำตาลแดงพาดตามยาว สองกลีบล่างเชื่อมติดกัน ปลายแหลมโค้งขึ้น อับเรณูสีส้ม ขนาดดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร ออกดอกฤดูฝน ผล: ฝักทรงกระบอก ปลายโค้งงอนขึ้น ยาว 4-5 เซนติเมตร ผิวมีขน ผลแก่แตก ภายในมีเมล็ดรูปไต สีน้ำตาล จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: […]
หว้าชะอำ
จ๊าฮ่อม ชื่อวิทยาศาสตร์: Peristrophe Lanceolaria (Roxb.) Nees วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: สูงได้ถึง 1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มตั้งตรง ใบ: รูปไข่ถึงรูปรีแกมใบหอก ขนาด 2-3×5-8 เซนติเมตร มีขนสั้นๆ หรือเกลี้ยง ใต้ใบเห็นเส้นใบนูนเด่นชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อย 4-7 ดอก ทยอยบานจากโคนไปปลายช่อ ดอกสีม่วง โคนกลีบเป็นหลอดเล็ก ปลายแยกเป็น 2 ปาก ด้านบนมีขนาดใหญ่กว่าด้านล่าง ที่โคนมีแต้มสีขาวและประจุดสีม่วงแดง แต่ละดอกมีใบประดับสีเขียวหุ้มที่โคนดอก ผล: แห้ง เมื่อแก่ เมล็ดมีตะขอ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่ราบ […]
หนามกระสุน
กาบินหนี/โคกกระสุน/หนามดิน/Ground Bur-nut ชื่อวิทยาศาสตร์: Tribulus terrestris L. วงศ์: Zygophyllaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 30 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ย แผ่คลุมดิน ใบ: ใบประกอบขนาดเล็ก ใบย่อย 4-8 คู่ รูปรีถึงขอบขนาน ปลายมีติ่งสั้น ไม่มีก้านใบ ดอก: ดอกขนาด 1-2 เซนติเมตร สีเหลือง 5 กลีบ บางและหลุดร่วงง่าย ดอกบานตอนเช้าและหุบเมื่อแดดแรง ออกดอกตลอดปี ผล: กลม มี 5 พู แต่ละพูมีหนามยาวและแข็ง 2 อัน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่รกร้างและริมทางที่เป็นดินทราย […]
หญ้าหัวรากน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyanotis cristata (L.) D.Don วงศ์: Commelinaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 7-40 เซนติเมตร ลำต้น: อวบน้ำ สีน้ำตาลแดง มีขน ใบ: ใบรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมใบหอก ขนาด 2.5×4-7 เซนติเมตร สีเขียวอ่อนอาจมีสีแดงเรื่อ ดอก: กาบรองดอกเรียงซ้อนกันเป็นแถว สีเขียวปนแดงเรื่อ มีขนมาก ดอกสีม่วง 3 กลีบ เกสรเพศผู้สีเหลืองสด ก้านชูเกสรมีขนนุ่มละเอียด ผล: แก่ แห้งแตกได้ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่ชุ่มชื้น เช่น ริมแม่น้ำ ริมคลองหรือลำธาร
หญ้าขัด
ขัดมอน/หญ้ายุงปัดแม่ม่าย/Arrowleaf Sida/Common Sida ชื่อวิทยาศาสตร์: Sida rhombifolia L. วงศ์: Malvaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 50-150 เซนติเมตร ลำต้น: กลม สีเขียว แตกกิ่งก้าน และมีขน ใบ: รูปรีถึงรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ยาว 2-6 เซนติเมตร ขอบจักฟันเลื่อย มีขนทั่วไป ดอก: เดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก สีเหลือง กลีบบอบบาง ผล: รูปรีถึงรูปไข่ ปลายแหลม มีสันเป็นปีกแหลมตามยาว ผลแก่แห้งและแตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทาง ทุ่งหญ้าที่เปิดโล่ง เป็นสมุนไพร ราก ต้มน้ำดื่มช่วยเจริญอาหารหรือฝนกับน้ำซาข้าวอมรักษาอาการเจ็บคอ ปวดฟัน […]
หญ้ากาบหอยตัวเมีย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lindernia crustaceae (L.) F. Muell. วงศ์: Scrophulariaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 5-20 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งชูขึ้น เป็นเหลี่ยม ใบ: เดี่ยว ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานถึงรูปไข่กว้าง ขนาด 4-15 x 6-19 มิลลิเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอก: รูปแตร สีม่วงหรือม่วงอ่อน มี 5 กลีบ ผล: แห้งรูปกระสวยหรือกลม หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงที่ยังติดอยู่ เมล็ดเล็ก จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามสนามหญ้าและริมทางที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ริมแม่น้ำ นาข้าวและที่ลุ่มทั่วไป เป็นสมุนไพร […]
หงอนไก่ไทย
ดอกด้าย/พอคอที/หงอนไก่ตง/หงอนไก่ฟ้า/Wild Cockcomb ชื่อวิทยาศาสตร์: Celosia argentea L. วงศ์: Amarathaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 60-150 เซนติเมตร ลำต้น: ไม่มีขน สีเขียวถึงม่วงแดง มีร่องตามยาว แตกกิ่งก้านตั้งตรงขึ้น ใบ: รูปใบหอกแคบยาว ขนาด 1-5 x 5-12 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกเป็นแท่งกลม ตั้งตรงขึ้น ยาว 5-15 เซนติเมตร ดอกย่อยอยู่ติดกับแกนช่อดอกหนาแน่น ส่วนปลายกลีบสีชมพูม่วงหรือม่วงแดง ออกดอกฤดูหนาว-ฤดูร้อน ผล: โคนสีขาว เมล็ดกลมแบน สีดำมัน ขั้วด้านหนึ่งบุ๋มลง อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทาง ชายน้ำ […]