ต่อเติมบ้าน
ให้การต่อเติมบ้านเป็นเรื่องง่าย ด้วยสินค้าจาก SCG SMART BOARD
ให้งานต่อเติมเป็นเรื่องง่ายด้วย แผ่น SCG SMART BOARD ที่สามารถต่อเติมได้ทั้งพื้น ผนัง ฝ้า จะกั้นห้องภายนอกหรือภายในก็สามารถทำได้
ชวนสัมผัสประสบการณ์ที่ทุกเรื่องเกี่ยวกับบ้านเป็นจริงได้ ในงาน ก้าวสู่ปีที่ 15 SCG HOME Experience
บ้านและสวน ชวนคนรักบ้านไปร่วมงาน ‘ก้าวสู่ปีที่ 15 ทุกเรื่องการทำบ้าน เริ่มที่ SCG HOME Experience’ สัมผัสทุกประสบการณ์จากผู้นำเรื่องการทำบ้านและที่อยู่อาศัยที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องวัสดุศาสตร์ รวมถึงสินค้าและบริการเรื่องบ้านที่ลูกค้ามั่นใจได้ในคุณภาพ และโซลูชันที่เหมาะสมกับทุกความต้องการของเจ้าของบ้าน ตลอด 14 ปีที่ชาวเอสซีจี โฮม เอ็กซพีเรียนซ์ มุ่งมั่นและตั้งใจให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเรื่องบ้านด้วยประสบการณ์ที่อัดแน่น จึงตั้งใจฉลองวาระก้าวสู่ปีที่ 15 ด้วยกิจกรรมแบบจัดเต็ม ทั้ง ‘เปลี่ยนบ้านให้เป็นคาเฟ่ by SIRI’ และจัด Living Expert Talk พูดคุยอย่างเปิดอกเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย ทุกวันเสาร์ตลอด 1 เดือนกับหัวข้อสุดเทรนด์ อาทิ Better Living Better Life อยู่ดี กินดี สุขภาพดี รีโนเวตบ้าน ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ งานนี้ บ้านและสวน ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรม Talk ในหัวข้อ ‘ทำสวนดูแลง่ายงบไม่บานปลาย’ โดย คุณธวัชชัย ศักดิกุล […]
ต่อเติมบ้านจัดสรร เติมเต็มความสุข
ปรับปรุงและ ต่อเติมบ้านจัดสรร ให้เป็นลุคบ้านไม้สีขาวสไตล์บาร์นเฮ้าส์แบบฝรั่งที่ดูอบอุ่นเป็นกันเอง และตรงกับความต้องการใช้พื้นที่มากขึ้น เมื่อเวลาเปลี่ยน รูปแบบพื้นที่และการใช้ภายงานในบ้านย่อมเปลี่ยน พร้อมความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น การต่อเติมบ้านจึงเป็นหนึ่งในวิธีสำหรับเจ้าของบ้านที่อยากเติมเต็มความต้องการเหล่านั้น เช่นเดียวกับ คุณโหน่งและคุณจุ๋ม สองสามีภรรยาที่ตัดสินใจปรับปรุงบ้านด้วยส่วนต่อขยายหลายจุด ซึ่งแม้จะไม่ใช่การพลิกโฉมบ้านใหม่ทั้งหมด แต่สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนไปของครอบครัว เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน และเติมเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในบ้านสำหรับทุกคน ต่อเติมบ้านจัดสรร จากคำบอกเล่า แรกเริ่มคุณโหน่งและคุณจุ๋มได้ซื้อบ้านสองหลังที่ติดกันนี้ภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรรเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการขยายครอบครัวของลูกทั้งสองคนในอนาคต โดยทุบกำแพงที่กั้นระหว่างกันออกและปรับปรุงพื้นที่ว่างตรงกลางเพื่อให้บ้านทั้งสองหลังดูกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวด้วยสวนสีเขียว ระเบียงไม้ และลานอเนกประสงค์ การเชื่อมต่อพื้นที่รอบบ้านให้เป็นบริเวณเดียวกันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงบ้านส่วนอื่นๆ ในเวลาต่อมา อย่างแรกคือการต่อเติมครัว ด้วยข้อจำกัดของบ้านจัดสรรที่ออกแบบโดยไม่มีห้องครัวหลักในตัวบ้าน ทั้งสองจึงตัดสินใจต่อเติมห้องครัวตรงหลังบ้านหลังหลักที่คุณโหน่งและคุณจุ๋มอยู่อาศัย โดยที่ลูกทั้งสองคนที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งสามารถมาใช้งานห้องครัวนี้ได้เช่นกัน พร้อมเข้า-ออกได้สะดวกผ่านทางประตูหลังบ้าน ต่อมาเมื่อครอบครัวต้องการขยายฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มขึ้น ในการต่อเติมบ้านครั้งล่าสุดนี้ ทั้งสองจึงติดต่อให้ สถาปนิก คุณหนุ่ย – จาริต เดชะคุปต์ มาช่วยออกแบบส่วนต่อเติมหลังบ้าน รวมถึงปรับโฉมรูปลักษณ์โดยรวมของบ้านให้ดูกลมกลืนกับส่วนต่อเติมใหม่ด้วย ฟังก์ชันหลักที่เพิ่มขึ้นมาคือห้องอเนกประสงค์บนชั้น 2 ของบ้านหลัก ประกอบด้วยมุมพักผ่อนแบบยกพื้นสูงและพื้นที่ทำงานแบบ work from home พร้อมวิวเปิดโล่งล้อมรอบด้วยต้นไม้ ให้บรรยากาศร่มรื่น ที่ชั้นล่างมีการกั้นห้องสำหรับห้องนอนแม่บ้าน ต่อเติมห้องเก็บของและห้องน้ำพร้อมช่องแสงสกายไลต์จากด้านบน ส่วนที่บ้านอีกหลังมีการต่อเติมห้องนอนชั้นบนให้กว้างขวางขึ้น โดยพื้นที่ส่วนที่อยู่ใต้ห้องต่อเติมถูกปรับเป็นห้องเก็บของและพื้นที่อเนกประสงค์ที่เชื่อมต่อกับลานกว้างซึ่งรองรับกิจกรรมได้หลากหลาย ต่อเติมบ้านจัดสรร สำหรับสไตล์การออกแบบ โจทย์ที่คุณโหน่งและคุณจุ๋มให้สถาปนิกคือบ้านในบรรยากาศผ่อนคลายด้วยโทนสีขาวที่ดูโปร่งโล่ง สบายตา […]
การ ต่อเติมบ้าน ให้ถูกวิธี บ้านไม่พัง
การต่อเติมบ้าน ต่างๆ ที่ควรรู้ โรงรถไม่พอจอด ครัวไม่พอใช้งาน มาดูวิธีการออกแบบส่วนต่อเติมโรงรถ เฉลียง และครัว พร้อมประเด็น
ต่อเติมบ้านใหม่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรักรถ
บ้านต่อเติมใหม่ของคนรักรถ ที่ต่อขยายออกมาจากบ้านหลังเดิม เปิดพื้นที่โล่งด้านล่างสำหรับจอดรถ พร้อมลิฟต์จอดรถระบบไฮดรอลิกที่ทำให้สามารถจอดรถได้มากถึง 10 คัน
สารพัดปัญหาก่อสร้าง-ต่อเติมบ้าน การแก้ไขและป้องกัน
การสร้าง-ซ่อม-ต่อเติมบ้านมักเกิดสารพัด ปัญหาบ้าน ซึ่งหากรู้วิธีป้องกันและแก้ไข ก็ช่วยลดความเสียหายได้อย่างมาก เราจึงรวม 20 ปัญหาที่มักเจอ พร้อมการแก้ไข ปัญหาบ้าน มาฝากกัน 1.ลดปัญหาผนังฉาบปูนแตกลายงา การแตกลายงามักเกิดจากปูนฉาบแห้งเร็วเกินไป เพราะน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปูนเซ็ตตัวจนแข็งแรง ระเหยเร็วเกินไป หรือน้ำถูกอิฐดูดไปในระหว่างฉาบ จึงเกิดการแตกลายงาได้ โดยวิธีฉาบปูนบนผนังก่ออิฐมอญที่ลดการแตกลายงา คือ ปัญหาบ้าน นำอิฐแช่น้ำก่อน 1 ชั่วโมง หรือใช้สายยางฉีดน้ำให้อิฐชุ่ม เพื่อช่วยให้อิฐอิ่มน้ำ จะได้ไม่มีการแย่งน้ำจากเนื้อปูนก่อ หลังจากก่อเสร็จแล้ว ควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่ออยู่ตัว ก่อนทำการฉาบต่อไป ซึ่งก่อนฉาบ 1 วัน ควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ก่อน และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันฉาบ ทำการบ่มผนัง โดยรดน้ำผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อเนื่อง 3-7 วัน อย่างน้อยวันละ1 ครั้ง ป้องกันผนังที่ฉาบแล้วไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้น้ำระเหยเร็วเกินไป ส่วนที่โดนความร้อนมาก มีการกรีดผนัง หรือจุดที่เสี่ยงกับการแตกร้าว ควรกรตะแกรงกรงไก่ก่อนฉาบปูน 2.ป้องกันมุมผนังช่องประตู-หน้าต่างร้าวได้อย่างไร ถ้าเป็นรอยร้าวเล็กๆ มักเกิดกับวงกบไม้ที่มีการยืดหดตัวสูง หรือไม่ได้ใส่ตะแกรงลวดกรงไก่บริเวณรอยต่อขอบปูนกับวงกบ ซึ่งไม่มีอันตรายเพราะเป็นเฉพาะผิวปูน แต่ถ้ารอยร้าวค่อนข้างใหญ่และลาม อาจเกิดจากการก่อสร้างผนังช่องเปิดไม่ได้ทำเสาเอ็น-คานทับหลัง หรือทำไม่ถูกต้อง โดยเสาเอ็น-คานทับหลังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงเหล็กที่ถูกต้องจะต้องทำไว้โดยรอบช่องเปิด […]
10 วิธีสร้างบ้านให้ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า ไม่เปลืองงบประมาณ
รวมวิธีสร้างบ้านให้ใช้พื้นที่ดินได้คุ้มค่าสูงสุด ไม่เปลืองที่ ลดงบประมาณการก่อสร้าง บ้านประหยัดงบ เมื่อเริ่มต้นสร้างบ้าน เจ้าของบ้านส่วนใหญ่คงต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้พื้นที่อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งความคุ้มค่านี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างให้ประหยัดที่สุดหรือมีราคาถูกที่สุด แต่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามที่คุ้มค่ากับพื้นที่ที่มีอยู่ รวมถึงการวางแผนใช้พื้นที่ให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่ใต้บันได พื้นที่ใต้พื้นบ้าน ที่เก็บของ ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่ต้องมาทำเพิ่มภายหลัง มาดูกันว่า บ้านประหยัดงบ มีข้อควรพิจารณาอะไรก่อนลงมือก่อสร้างบ้าง 1. วางแผนงบประมาณก่อนสร้างบ้าน การสร้างบ้านไม่ได้มีเฉพาะค่าก่อสร้างตัวบ้านเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างซ่อนอยู่ บางอย่างตัดได้ บางอย่างตัดไม่ได้ มาดูกันว่าเราต้องเตรียมกระเป๋าให้หนากันแค่ไหน เพื่อจะได้สร้างบ้านให้สมดุลกับงบประมาณ บ้านประหยัดง สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน 66% งานก่อสร้างบ้าน (งานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม ไฟฟ้า และสุขาภิบาล) 22% งานตกแต่งภายใน 4% งานตกแต่งสวน 5% ค่าออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมไฟฟ้า และสุขาภิบาล 2% ค่าออกแบบตกแต่งภายใน 0.5% ค่าออกแบบสวน 0.5% งานยื่นขออนุญาตสร้างอาคาร งานขอน้ำ ไฟฟ้า เลขที่บ้าน หมายเหตุ : สัดส่วนนี้คิดจากบ้านราคา […]
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่?
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]
กฎหมายต่อเติม/รีโนเวทบ้าน ต่อเติมแค่ไหนไม่ต้องขออนุญาต
อยากต่อเติมบ้านแต่สงสัยว่า ต่อเติมแค่ไหนจึงจะต้องของอนุญาต มาทำความเข้าใจเรื่อง กฎหมายต่อเติมบ้าน และอัปเดตกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกัน กฎหมายต่อเติมบ้าน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอย คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ว่าด้วยเรื่องการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร ซึ่งใจความสำคัญคือ เพื่อป้องกันอันตรายจากการดัดแปลงหรือเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างอาคาร และมีกฎหมายเพิ่มเติม คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2558) ซึ่งเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา ซึ่งสรุปเนื้อความให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ กฎหมายต่อเติมบ้าน ระบุว่าการต่อเติม-รีโนเวทต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร จึงไม่ต้องขออนุญาต 1. การเปลี่ยนโครงสร้างโดยใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ยกเว้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง และโครงสร้างเหล็ก บ้านโครงสร้างไม้ เปลี่ยนโครงสร้างไม้ชิ้นใหม่ตามแบบเดิมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต บ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) และโครงสร้างเหล็ก แม้การเปลี่ยนโครงสร้างนั้นจะใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ก็ต้องขออนุญาต กฎหมายต่อเติมบ้าน 2. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้าง ซึ่งเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน 10 % ส่วนที่ไม่ถือเป็นโครงสร้าง […]
CASA SANTORINI ต่อเติมบ้านบนเนินเขาเป็นบ้านพักตากอากาศวิวธรรมชาติเต็มตา
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมืองระหว่างชายฝั่งทะเลและตัวเมือง ทำให้แวดล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและมีความเป็นธรรมชาติสูง เหมาะแก่การสร้างบ้านพักตากอากาศสักหลัง ดังเช่นบ้าน CASA SANTORINI หลังนี้ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาทำให้ได้วิวธรรมชาติแบบสุดลูกหูลูกตา โดยทำการจากการรีโนเวตบ้านขนาดกะทัดรัดให้เอื้อต่อการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการปรับปรุงห้องนอนและห้องน้ำใหม่ รื้อห้องครัวเดิมออก โดยวางฟังก์ชันในแนวขวางกับแกนบ้านเดิม แต่ยังคงกลิ่นอายของบ้านเก่าที่มีอายุกว่า 10 ปีไว้ ส่วนที่ต่อเติมเลือกใช้โครงสร้างเหล็กกรุด้วยแผ่นเมทัลชีทด้านนอกและกรุไม้ด้านใน ด้วยความที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง ประกอบกับไม่มีเขตที่ดินหรือกำแพงล้อมตัวบ้านไว้ กลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการสร้างควาสมดุลระหว่างตัวสถาปัตยกรรมและแนวป่าด้านหลังที่เป็นเหมือนเบ๊กกราวนด์ของบ้านที่มีความคอนทราสต์กันอยู่ นำไปสู่การวางตัวอาคารไว้บริเวณจุดสูงสุดของเนินหญ้า แต่ให้ระดับพื้นใหม่ต่อเนื่องไปกับระดับพื้นบ้านเดิมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับเนินหญ้ามากที่สุด และดูต่อเนื่องไปกับผืนดิน ส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่วางตัวตั้งฉากกับบ้านเดิม จนได้บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ที่เชื่อมตัวเก่ากับส่วนใหญ่เข้าหากัน โดยบริเวณบ้านเก่าใช้เป็นพื้นที่ส่วนครัว ส่วนต่อเติมให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นและห้องนอนที่เชื่อมไปกับเทอเรซขนาดใหญ่ได้วิวความเขียวชอุ่มแบบเต็มตา โดยเลือกใช้โครงสร้างคอนกรีตร่วมกับเฟรมเหล็กเพื่อให้ได้ความลาดเอียงและรูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยว ดูทันสมัย ทั้งยังเหมาะกับพื้นทียกลอยจากพื้นเล็กน้อยเพื่อกันความชื้นจากพื้นดินโดยตรง ซึ่งวัสดุที่ตอบสนองต่อโครงสร้างมีได้แก่ เหล็ก กระจก และแผ่นฟีนอลิก รวมไปถึงเหมาะกับสถาพอากาศและการดูแลรักษาในอนาคตอีกด้วย ภาพสุดท้ายของบ้านหลังนี้ ภายนอกต้องการคุมด้วยสีดำเพื่อขับให้บริบทโดยรอบที่เป็นทิวทัศน์ของธรรมชาติดูเด่น คอนทราสต์ออกมาในแนวนอน ตัดกับต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นเส้นตั้ง ออกแบบ: LOI Arquitectura ภาพ: Obra Linda เรียบเรียง: BRL บ้านชั้นเดียวบนเนิน ชมวิวเพลินทั้งวัน ร่มรื่นแบบสวนเมืองร้อนในกลิ่นอายของสวนชนบทฝรั่งเศส
แก้ปัญหา การระบายน้ำ เมื่อต่อเติมบ้านใหม่
โดยทั่วไป การระบายน้ำ ฝนของบ้านจะเป็นไปตามธรรมชาติโดยซึมลงสู่พื้นดิน ส่วนน้อยจากบริเวณลานซักล้างหรือเฉลียงจะไหลลงสู่รางระบายน้ำข้างรั้ว
กฎหมายอาคาร(แบบเข้าใจง่าย) สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน
ใครว่าเรื่อง กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องยากเกินเข้าใจ และไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของบ้านที่ต้องรู้เพราะมีสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบบ้านและคำนึงถึงข้อกฎหมายต่างๆ ให้แล้ว ความคิดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง หนังสือ สร้างและต่อเติมบ้านอย่างรู้กฎหมาย เหตุที่บอกว่าการรู้ กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องจำเป็นนั้น เมื่อเราได้แบบบ้านจากสถาปนิก ขั้นตอนต่อมาคือการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเขต เมื่อผ่านการอนุญาตก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาสร้างบ้านที่จะต้องก่อสร้างตามแบบที่สถาปนิกออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะมีความผิดเพี้ยนจากที่ออกแบบไว้ ทั้งมาจากการพยายามลดต้นทุนก่อสร้างของผู้รับเหมา ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ตัวเจ้าของบ้านเองต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและควรรู้ข้อกฎหมายก่อสร้างหากมีกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างบ้านไม่ตรงแบบที่วางไว้ ซึ่งหากบ้านที่กำลังสร้างอยู่นี้กลายเป็นบ้านที่ผิดกฎหมายอาคาร จะเกิดปัญหายืดยาวตามมาอย่างแน่นอน 10 ข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านต้องรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน •ดาวน์โหลดกฎหมายควบคุมอาคารฉบับเต็มได้ที่นี้ •กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร 1 | สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้แต่ผนังบ้านรั้วต้องปิดทึบ กรณีแรกที่เหมือนจะเป็นปัญหากับเพื่อนบ้านอยู่เสมอคือการที่มีบ้านอีกหลังใดหลังนึงต่อเติมหรือสร้างบ้านจนมาชิดรั้วบ้านเรา ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่จะสร้างบ้านแบบนี้ เจ้าของบ้านต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เป็นเด็ดขาด แน่นอนว่ากรณีนี้ย่อมเกิดปัญหาวุ่นวายทีหลังเพราะเป็นธรรมดาว่าเพื่อนบ้านย่อมไม่ปรารถนาเช่นนั้น ซึ่งหากไม่อยากให้เรื่องยืดยาว ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรแต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม และอย่าลืมติดตั้งรางน้ำฝนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านที่จะเป็นเหตุให้วิวาทกันภายหลังหลังด้วย 2 | ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร ในกรณีที่ผนังบ้านมีประตูหน้าต่าง ให้รู้ไว้เลยว่าตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 […]
วางแผนซ่อมบ้านอย่างมืออาชีพ เรื่องง่ายๆ ที่คุณก็ทำเองได้
ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนโดยไม่ถูกกาลเวลาทำลาย เช่นเดียวกันกับ ‘บ้าน’ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย จนเกิดการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านแบบเราจึงอยากซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาใหม่และน่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร วันนี้เราจึงมีแนวทางมาฝาก! 1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น […]
ต่อเติมห้องนอนขนาดเล็ก บนระเบียงชั้น 2 ทำได้จริงหรือไม่?
ระเบียงมีพื้นที่เหลือไม่ได้ใช้ สามารถต่อเติมเป็นห้องได้หรือไม่และทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย
ไปทำโรงเรือนขนาดเล็ก สำหรับปลูกต้นไม้ข้างบ้าน ทำเองได้ไม่ยาก
ตามพิธีกรสุดหล่ออารมณ์ดีทั้ง 2 คน ไปสร้าง โรงเรือนขนาดเล็ก สำหรับปลูกแคคตัสไว้ป้องกันน้ำฝนไม่ให้โดนต้นแคคตัสจนเน่าตาย ในพื้นที่เล็กๆ ข้างบ้าน
อยากต่อเติม… แต่กลัวบ้านทรุด
The Editors ทำเนียบกองบรรณาธิการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน ที่พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ ให้ไอเดีย เคลียทุกคำถาม ไขปัญหาคาใจในบ้าน และสวนของคุณ ร่วมด้วยการเสนอแนะแง่มุมน่าสนใจ สถานการณ์ที่กำลังได้รับการจับตา
แบบเฉลียง แบบระเบียง ชานหน้าบ้านใช้ได้จริง
จากคราวก่อนที่เราได้นำ “เฉลียงบ้านในแบบต่างๆ” มาฝากชาวบ้านและสวนกัน วันนี้เราก็มีแบบต่อเติมเฉลียงสวยๆมาฝากชาวบ้านและสวนกันอีกแล้ว…
เพิ่ม “พื้นที่” ในบ้านให้ดู “กว้าง” ขึ้น
ฉบับนี้ “เก่าไปใหม่มา” ยังคงอยู่กันที่บ้านของ คุณนพ – นพพันธ์ ตั้งกัลยานนท์ และคุณติ๊ก – พันธิตรา เกียรตินิยมศักดิ์…