ท้องถิ่น – บ้านและสวน

CAFÉ NAKHONNAYOK คาเฟ่เรียบง่ายที่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น

คาเฟ่นครนายก กำเนิดขึ้นจากไอเดีย “อยากกลับบ้านไปเปิดคาเฟ่” ที่เน้นร้านไซซ์เล็ก ดีไซน์เรียบง่าย แต่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects ตัวคาเฟ่ทำจาก สังกะสี กระจก และกรอบไม้ นั่นคือภาพที่โดดเด่นของ คาเฟ่นครนายก ริมทางหลวงที่ใครผ่านไปผ่านมาต้องต่างสะดุดตา กับการออกแบบที่มีการนำโครงสร้างเหล็กเดิมมาใช้ ก่อนที่จะเพิ่มเติมวัสดุให้ดูกลมกลืนกับพื้นที่อย่าง ไม้ และสังกะสีลงไปเพื่อให้เข้ากับร้านอาหารและสวนเดิมของเจ้าของ การออกแบบนั้นได้ออกแบบให้ตัวคาเฟ่นั้นเหมือนเป็นกล่อง 2 กล่อง ที่สอดเข้าไปภายในโครงสร้างเก่า พื้นที่ด้านนอกทั้งหมดถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นสังกะสี และปล่อยให้เป็นบานกระจกใสในส่วนที่ต้องการเปิดรับทัศนียภาพรอบ ๆ โดยเฉพาะความสดชื่นของเหล่าต้นไม้ที่อยู่รอบพื้นที่นั้น เจ้าของมีความตั้งใจให้เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ตามธรรมชาติ และกลายเป็นสวนของคาเฟ่ไปในที่สุด สิ่งที่เด่นชัดที่สุดของคาเฟ่แห่งนี้ ก็คือการออกแบบให้เกิดความแตกต่างแต่ลงตัวระหว่างรูปแบบ Modernism ของอาคารกับการเลือกใช้วัสดุในท้องที่เข้ามาผสมกัน จนเกิดเป็นอาคารที่มีความน่าสนใจภายใต้ความเรียบง่ายขึ้นเช่นนี้ ออกแบบ : OPH Architects  ภาพ : Napat Pattrayanond เรื่อง : Wuthikorn Sut  

ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียลกลางธรรมชาติในบาหลี

ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี

นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]

บ้านชั้นเดียว เปลือยผิวด้วยอิฐโชว์แนว

บ้านชั้นเดียว ที่เด่นด้วยผนังอิฐโชว์แนวสีน้ำตาลแดงในแพตเทิร์นใหม่ๆ ดูแปลกตาตัดกับปูนเปลือยขัดมันทาบทับในแนวเฉียงแทรกด้วยงานไม้ไผ่ในแนวตั้ง

Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ

ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง  เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]