- Home
- บล็อกช่องลม
บล็อกช่องลม
รวมไอเดียวัสดุฟาซาด บังแดด บังตา เพิ่มคาแร็กเตอร์ให้บ้าน
มาดูหลากหลาย ไอเดียวัสดุฟาซาด ที่ช่วยบดบังสายตาโดยไม่ต้องปิดทึบ ช่วยระบายอากาศ กรองแสงธรรมชาติ และเสริมให้ดีไซน์ของบ้านดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
ระบบนิเวศของความสุขที่ออกแบบได้
บ้านสีขาวที่แก้ปัญหาบ้านแน่นให้กลายเป็นบ้านโล่ง อยู่สบายและมีสุขภาวะในอาคารที่ดี (Well-Being) แบบบ้านมินิมัลสีขาว ความสุขที่แท้จริงนั้นก่อเกิดขึ้นจากภายใน และที่ใจกลางบ้านสีขาวทรงกล่องที่เรียบเท่ปนน่ารักด้วยบล็อกช่องลมและซุ้มโค้งแห่งนี้ ก็มีความสุขก่อตัวขึ้นทีละน้อยภายในบ้านที่ออกแบบโดยใช้หลักการนิเวศวิทยสถาปัตย์ (Ecological Architecture) ให้บ้านอยู่สบายแบบองค์รวม มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว จนเกิดระบบนิเวศความสุขที่มี คุณเมธ พิทยชาครวัตร คุณโจ้-รจนา วิกรานตเสวี น้องนาวา คุณยาย คุณย่า ต้นกัลปพฤกษ์ ปลาหางนกยูง แมลงเต่าทอง สายลม แสงแดด สเปซภายในบ้าน และเพื่อนบ้านมาสัมพันธ์กัน ทำให้ทุกๆวันที่ผ่านไปนั้นเป็นวันที่มีความหมาย แต่เดิมบนที่ดิน 50 ตารางวานี้เป็นบ้านชั้นเดียวอายุราว 30 ปี ที่มาซื้อไว้ด้วยเป็นทำเลรถไฟฟ้าผ่าน เมื่อวางแผนจะมีลูกจึงคิดขยับขยายบ้านให้รองรับคนทั้ง 3 รุ่น ด้วยความตั้งใจที่อยากสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ครอบครัว จึงอยากให้มีห้องนอนชั้นล่าง 2 ห้องสำหรับคุณย่าและคุณยาย พื้นที่ให้ลูกได้วิ่งเล่น มี คอร์ตยาร์ด ซึ่งบ้านในโครงการที่ไปดูมายังไม่ตอบโจทย์ จึงตัดสินใจสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิม และติดต่อให้ คุณแป้ง-ใยชมภู นาคประสิทธิ์ และ คุณหวาย-จิตรทิวัตถ์ อู่ทรัพย์ สถาปนิกแห่ง MAKE It POP […]
ASTON GILBERT คาเฟ่นครศรีฯ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติกลางสวนป่ายางพารา
Aston Gilbert คาเฟ่นครศรีฯ กลางสวนยางพารา ในอำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณแชมป์-ภวัต สุวรรณมาศ เจ้าของร้านที่อยากดึงเอกลักษณ์สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในสวนยางพารากว่า 30 ไร่ ของครอบครัว ให้มาเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แปลกใหม่ พร้อม ๆ กับการได้เฝ้ามองสีสันของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: VARC HD+ID สถาปนิกผู้ออกแบบ Aston Gilbert จาก VARC HD+ID เล่าว่า เนื่องจากบริบทรอบ ๆ ของที่ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา รอบ ๆ เป็นสวนผลไม้ และชุมชนเล็ก ๆ มีถนนลัดเลาะไปตามภูเขา จึงออกแบบอาคารของคาเฟ่ให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ดูแปลกแยกจากบริบทจนเกินไป นำมาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นแบบถ่อมตน โชว์สัจวัสดุและความงามของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ตั้ง ซึ่งไม่ซ้ำกันสักวันอย่างในฤดูฝนสวนยางจะเขียวชอุ่มสดชื่น ต่างจากฤดูร้อนที่จะมองเห็นต้นยางทิ้งใบสีน้ำตาล ลำต้นโอนเอนไปตามแรงลม และแสงแดดที่ลอดผ่านกิ่งก้านลงมายังพื้นดินเบื้องล่าง ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนไปที่ฟาซาดกระจกเงานับ 90,000 ชิ้น ซึ่งช่วยเปลี่ยนมู้ดของอาคารไปตามแต่ละช่วงเวลา และกระจกเงาที่ใช้กรุฟาซาดนี้ ยังนับเป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิก เสมือนการทดลองเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ออกแบบ และช่างประจำท้องถิ่น […]
ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา
บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]
บ้านมินิมัลสีขาว แทรกด้วยคอร์ตต้นไม้สีเขียว
บ้านมินิมัลสีขาว ที่วางแมสอาคารซ้อนกันระหว่างข้างบนกับข้างล่าง มีช่องเปิดที่โปร่งตา แล้วแทรกคอร์ตสำหรับปลูกต้นไม้เป็นสวนในบ้านไว้ถึง 3 คอร์ต
ทาวน์เฮ้าส์รีโนเวตสีขาว ให้กลับมา”รัก”อีกครั้ง
การรีโนเวตบ้านหลังนี้ไม่ได้คืนชีพให้ตัวบ้านเท่านั้น แต่คืนความรู้สึกดีๆของชีวิตคู่ และความรู้สึกรักบานให้กลับมาอีกครั้ง ผ่านการออกแบบ “สเปซ” ของบ้านมือสองให้อยู่สบาย ขณะเดียวกันก็เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ทุกวันได้กลายเป็น “เวลาของเรา” ก่อนหน้านี้ คุณซวง – นีรรัตน์ เหลืองสิวากุล และคุณแชมป์ – ชนาวุฒิ ปัญญาวัฒนากุล เคยอยู่บ้านที่เป็นเรือนหอ แม้จะหลังใหญ่กว่าปัจจุบัน แต่กลับยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินไป จึงมองหาบ้านใหม่ที่มีขนาดเล็กลง โดยมี คุณแก้ว – คำรน สุทธิ สถาปนิกแห่ง Eco Architect เป็นผู้ออกแบบและ รีโนเวท ทาวน์เฮ้าส์สีขาว ด้วยคิดว่าเป็นเคสที่น่าสนใจที่จะเปลี่ยนบ้านที่มืด อับ ร้อนให้อยู่สบาย และสเปซแบบไหนจึงจะเหมาะกับนักจิตวิทยา ทาวน์เฮ้าส์มือสองที่ตัดสินใจซื้อใน 1 วัน “บ้านเดิมที่เคยอยู่ค่อนข้างร้อน ในบ้านถูกกั้นเป็นห้องๆมากเกินไป ทำให้เราอยู่แล้วรู้สึกโดดเดี่ยว ตัดขาดจากกันเหมือนต่างคนต่างอยู่ เรียกได้ว่าทำให้ร้อนทั้งกายและใจ จนแยกกันอยู่ระยะหนึ่ง” คุณซวงและคุณแชมป์ เจ้าของบ้านเล่าถึงเรือนหอเดิมและนำประสบการณ์นั้นมาแปรเป็นโจทย์สำหรับการออกแบบบ้านใหม่ โดยมองหาบ้านในทำเลที่คุ้นเคย “เราหาข้อมูลบ้านมาหลายที่ ไปดูทาวน์เฮ้าส์ใหม่ในโครงการหมู่บ้าน เป็นบ้านเปล่าราคาประมาณ 5 ล้านบาท และอยู่ในซอยลึกกว่านี้ แล้วก็ค้นหาในอินเทอร์เน็ตจนมาเจอหลังนี้ […]
บ้านปูนทรงกล่อง โปร่งด้วยอิฐช่องลม และซ่อนผาจำลองไว้ภายใน
บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเรียบที่นิ่งจนเกือบจะดุดัน แต่มีเสน่ห์ด้วยช่องเปิดกว้างๆ พร้อมกับแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่มีความหลากหลายตั้งแต่แนวรั้วหน้าบ้านร้อยเรียงต่อเนื่องไปทั่วผนังอาคาร นั่นเพราะว่า บ้านหลังนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อเน้นฟังก์ชันการใช้งานภายในตามความต้องการของคุณหนู–มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทรและคุณโป้ง-วิบูลย์ศิริ วิบูลย์มา ผู้เป็นเจ้าของ ที่อยากได้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยถึง 3 ครอบครัว บนที่ดินเดิมซึ่งมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดราว 200 ตารางวา ฟังก์ชันภายในจึงเป็นตัวกำหนดผังพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตรใน บ้านปูนทรงกล่อง ขนาด 4 ชั้น ซึ่งเน้นมุมที่มองจากภายในออกมามากกว่าสร้างรูปทรงของบ้านให้โดดเด่นแล้วค่อยใส่ฟังก์ชันเข้าไป “เราเคยลองไปหาทำเลอื่นดูเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะรื้อบ้านหลังเดิมที่เก่ามากแล้วออก เพื่อสร้างหลังใหม่ให้ใหญ่พอสำหรับการใช้งาน โดยรวมครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ของเราสองคนมาอยู่ด้วยกัน และยังมีห้องเผื่อสำหรับน้าและน้องสาวไว้ด้วย“คุณโป้งเล่าถึงโจทย์เริ่มต้น และเสริมด้วยว่าเขาเองก็ทำงานด้านรับเหมาตกแต่งภายในอยู่แล้ว อีกทั้งชอบในผลงานการออกแบบบ้านที่มีเส้นสายเรียบนิ่งของทีมสถาปนิก Anonym จึงน่าจะร่วมกันสร้างบ้านหลังนี้ได้ดี สถาปัตยกรรมที่เปิดให้สายลมพัดผ่าน สิ่งแรกที่คุณบอย–พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ สถาปนิกผู้ออกแบบสัมผัสได้เมื่อมาดูพื้นที่คือสายลมเย็นที่ปะทะผ่าน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และเป็นแนวช่องลมที่ดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้านที่เน้นการเปิดช่องลมควบคู่ไปกับคว้านสเปซภายในให้เกิดเป็นคอร์ตหน้าบ้านและตรงกลาง โดยคอร์ตหน้าบ้านออกแบบให้เป็นหน้าผาจำลองเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลงใหลการปีนผาของคุณโป้ง และคอร์ตตรงกลางเป็นแกนเชื่อมต่อมุมมองของทุกพื้นที่ในบ้าน รวมถึงเป็นช่องรับแสงธรรมชาติซึ่งส่องผ่านจากช่องหลังคากระจกใสด้านบนลงมา “เราออกแบบภายในให้เหมือนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่แยกพื้นที่ของครอบครัวไว้ในแต่ละชั้น โดยมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แล้วเปิดสเปซให้ลมหมุนเวียนได้ตั้งแต่คอร์ตปีนผาด้านหน้าเข้ามาถึงโถงนั่งเล่นด้านในซึ่งเป็นอีกคอร์ตหนึ่งที่มองเห็นทางเดินของแต่ละชั้นวางสลับเยื้องกัน และเติมแลนด์สเคปแทรกไปกับตัวบ้านด้วยการออกแบบกระบะปลูกต้นไม้เพื่อให้ทุกชั้นมีพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เวลาใช้พื้นที่ทางเดินก็จะไม่รู้สึกเวิ้งว้างเพราะยังมองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นได้ ส่วนหลังคากลางคอร์ตนี้เป็นกระจกใสติดฟิล์มกันร้อนและยกผนังก่อนถึงหลังคาไว้เกือบเมตรเพื่อเจาะเป็นช่องให้ลมถ่ายเทได้ ตามไดอะแกรมแล้วจึงมีช่องทางให้ลมเข้าออกในแต่ละชั้นได้ไปจนถึงชั้นบนสุดของบ้าน ในขณะที่การวางผังห้องจะยังมีความเป็นส่วนตัวอยู่“ ผนังคอนกรีตกับการเปิดของอิฐช่องลม ต่อเนื่องจากแนวคิดการเปิดช่องให้สายลมพัดผ่าน สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐช่องลมโอบล้อมเป็นผนังส่วนใหญ่ของบ้าน ยกเว้นส่วนทิศตะวันตกที่เน้นการปิดทึบและกำหนดให้เป็นพื้นที่ของห้องน้ำไว้เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแสงแดดเข้าถึงในทุกๆ ชั้น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจด้วยการผสมผสานแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่หลากหลาย และไล่เรียงช่องเปิดมากขึ้นตามระดับการเข้าถึงในแต่ละชั้นจากชั้นล่างที่มีช่องเปิดน้อยเพื่อคงความเป็นส่วนตัวจากภายนอก […]
MP HOUSE บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ฟาซาดสวยด้วยบล็อกช่องลม
บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ส่วนผสมระหว่างออฟฟิศกับบ้านของคู่รักนักออกแบบ ปลอดโปร่งด้วยเพดานสูง และฟาซาดบล็อกช่องลม MP HOUSE หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองตาเงรัง (Tangerang) ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันในบ้านที่นี่จึงได้รับการออกแบบให้มี 2 หน้าที่หลัก โดยแบ่งเป็นสำนักงานที่อยู่ชั้นหนึ่งและกึ่งชั้นใต้ดิน ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขาและพ่อแม่อยู่ชั้นบน ในส่วนของพื้นที่อยู่อาศัยมวลอาคารถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยพื้นที่กึ่งส่วนตัว ซึ่งรวมถึงมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร โดยออกแบบให้อยู่ด้านหน้าของบ้าน ขณะที่พื้นที่ส่วนตัวอย่าง ห้องนอน จะอยู่ที่ด้านหลังของอาคาร ทั้งสองส่วนถูกคั่นด้วยสวนหิน ซึ่งมีการระบายอากาศที่เพียงพอ และได้รับแสงธรรมชาติจากฟาซาดบล็อกช่องลม ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีหน้าที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและโฮมออฟฟิศ แยกส่วนพักผ่อนให้อยู่ชั้นบน ดังนั้นผู้สูงอายุในบ้านที่มีปัญหาการเดินขึ้นบันไดจึงอาจเกิดความยุ่งยากได้ เจ้าของจึงออกแบบให้มีทางลาดเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นแทนบันได สิ่งท้าทายและน่าสนใจที่สุดของบ้านหลังนี้ คือบริเวณมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สมาชิกในบ้านมักมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้เอื้อต่อการใช้งานจึงต้องออกแบบให้มีขนาดกว้างขวาง และมีเพดานยกสูงดูสว่างปลอดโปร่ง ช่วยระบายอากาศได้ดี การออกแบบบ้านให้มีหลังคาทรงจั่ว และใช้บล็อกรับลมสร้างลวดลายฟาซาดให้กับบ้าน ได้เอื้อให้พื้นที่พักผ่อนส่วนหน้าบ้านนี้ มีบรรยากาศที่ปลอดโปร่งจากฝ้าเพดานขนาดสูง และแสงแดดสามารถส่องเข้ามาถึงภายในได้อย่างเพียงพอผ่านบล็อกช่องลม ผลพลอยได้ที่ตามมาคือเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาที่ลอดผ่านบล็อกช่องลม ช่วยตกแต่งให้ห้องดูสวยงามระหว่างวัน ขณะที่การตกแต่งใช้ธีมสีขาว เทา และดำ ล้อไปกับวัสดุส่วนใหญ่ที่ไร้การปรุงแต่ง ดูเป็นธรรมชาติ ก่อนสร้างมิติของบรรยากาศด้วยการออกแบบไลท์ติ้งตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการขับเน้นและนำสายตา เป็นอีกดีเทลที่ช่วยให้บ้านบรรยากาศเรียบนิ่งดูมีชีวิตชีวาขึ้น ออกแบบ […]
บ้านเล็กแต่อยู่เย็นสบาย กันร้อนด้วยบล็อกช่องลม
บ้านขนาดเล็กพื้นที่ 180 ตารางเมตร แต่อยู่สบายด้วยหลักการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบาย (Comfort zone) ที่เน้นการป้องกันความร้อน การระบายอากาศตามธรรมชาติ แถมยังมีเทคนิคการออกแบบบ้านพื้นที่เล็กไม่ให้อึดอัด ซึ่งความสบายไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ใหญ่โต แต่กลับซ่อนอยู่หลังผนังบล็อกช่องลมสีเทาเข้มแบบกึ่งทึบกึ่งโปร่งของบ้านหลังนี้ ออกแบบ : Eco Architect Co.,Ltd. โดยคุณคำรน สุทธิ โทรศัพท์ 08-1270-3450 เจ้าของ : คุณอธิคม พรสัมฤทธิ์ – คุณปณิชา ปาลวัฒน์ บ้านขนาดเล็ก 3 ชั้นที่ออกแบบผนังบล็อกช่องลมรูปสามเหลี่ยมล้อมกรอบรอบตัวบ้าน เสมือนเป็นหินผาแข็งแกร่งปกป้องภายในบ้านที่ดีไซน์ให้บางเบาตามชื่อบ้าน “Star & Stone” บทสรุปในใจเมื่อได้คุยกับ คุณโอ๊ต-อธิคม พรสัมฤทธิ์ และคุณดาว-ปณิชา ปาลวัฒน์ เจ้าของบ้าน คือ ไม่มีอะไรมาจำกัดความสุขได้ เมื่อเรามีแสงสว่างในตัวเองและเห็นคุณค่ากันและกันจากภายใน จึงไม่แปลกที่แสงแห่งความสุขจะส่องไปทั่วบ้าน 3 ชั้นขนาดย่อมที่มีพื้นที่เพียง 180 ตารางเมตร บนที่ดิน 75 ตารางวา ซึ่งเป็นเรือนหอของทั้งสองคนที่บอกกับเราว่า “แม้บ้านจะขนาดไม่ใหญ่ แต่เป็นสเปซที่ออกแบบสำหรับเรา ทุกพื้นที่จึงทำให้เรามีความสุข” แนวคิดแบบครอบครัวขยาย […]
บ้านบล็อกช่องลม ก่อกำแพงปิดล้อมแต่ไม่ปิดกั้นแสงและลม
บ้านบล็อกช่องลม ที่เปลี่ยนภาพซ้ำของบ้านเรือนชั้นเดียวเหล่านั้น ด้วยการรีโนเวตบ้านขนาด 5 ห้องนอน ให้มีสีขาวเรียบ ทว่าโดดเด่นสะดุดตากว่าใคร
บ้านใต้ถุนสูงสีขาว เเละระบายอากาศดีด้วยบล็อกช่องลม ของคนรักสุนัข
บ้านโมเดิร์นหลังเล็กของคู่สามีภรรยาเเละน้องหมาทั้ง 7 ตัว หยิบเอาไอเดียบ้านไทยใต้ถุนสูง มาใช้ร่วมกับผนัง บล็อกช่องลม เพื่อช่วยคลายความร้อน ภายใต้บรรยากาศที่ดูสะอาดเเละปลอดโปร่ง สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายกับเเก๊งขนฟู
5 ที่พักสวยด้วย “บล็อกช่องลม”
บล็อกช่องลม เป็นอีกหนึ่งวัสดุยอดนิยมที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานออกแบบตกเเต่ง ซึ่งปัจจุบันได้รับการออกแบบลวดลายเเละรูปแบบอย่างหลากหลาย ตอบโจทย์ต่อการเลือกใช้ ไม่ว่าจะทำมาจากคอนกรีต ดินเผา หรือเซรามิก ฟังก์ชันหลักของ “บล็อกช่องลม” คือเรื่องการระบายอากาศซึ่งถูกดัดแปลงมาจากช่องลมของบ้านเรือนไทยสมัยก่อน ทั้งยังยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในได้ หรือจะนำไปใช้ในแง่ของการสร้างความเป็นส่วนตัว การสร้างสเปซแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ก็นับว่าเป็นวัสดุที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก room จึงได้รวบรวม 5 ที่พัก ซึ่งเด่นด้วยการใช้วัสดุชนิดนี้มาฝาก เพื่อให้คุณนำไปประยุกต์ใช้เป็นไอเดียในการตกแต่งกันครับ 01 | A DAY INN RANONG เปลี่ยนตึกเก่าสไตล์ชิโนโปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีเป็นที่พักกลางเมืองระนอง รีโนเวตอาคารพาณิชย์เดิมให้เป็นที่พักสไตล์โฮมมี่ โดยยังคงกลิ่นอายความเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีไว้ ด้วยสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของจังหวัดระนอง จึงใช้ช่องลมเพื่อช่วยระบายอากาศ ทั้งยังกลายมาเป็นกิมมิกของโรงแรมที่น่าสนใจ เนื่องจากตัวอาคารเป็นตึกแถวเก่าซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องความทึบแสง ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการเจาะช่องเปิดโล่งบริเวณกลางอาคาร แล้วติดแผ่นโปร่งแสงกลายเป็นสกายไลท์ตลอดแนวทางเดินใต้หลังคา เพื่อรับแสงและลมธรรมชาติให้พื้นที่ภายในสว่าง โปร่งโล่ง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ประกอบกับระนองเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกทำให้มีความชื้นในอากาศสูง ในขั้นตอนการรีโนเวตฝ้าเพดานจึงถูกยกให้สูงขึ้นเป็นพิเศษ แล้วติดช่องลมสำหรับช่วยระบายอากาศในส่วนของช่องแสงทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นการตกแต่งผนังอาคารไปในตัว อ่านต่อฉบับเต็มคลิก ออกแบบ : คุณเกรียงไกร บัวจันทร์ 02 | POTTERY HOMESTAY หยิบความหลงใหลในถ้วยชาจีนมาเป็นพระเอกให้กับโฮมสเตย์สีเขียว สะดุดตาด้วยช่องลมทรงแปลกตาตั้งแต่ส่วนของฟาซาด […]