The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์

โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]

รวม 7 ไอเดียสร้างสรรค์พื้นที่ด้วย ” บล็อกแก้ว ” ให้เป็นมากกว่าผนัง

ไอเดียออกแบบพื้นที่โดย ” บล็อกแก้ว ” ที่สามารถนำไปตกแต่ง ทั้งสีสันและลวดลายสามารถนำมาผสมผสานกับองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งภายนอกและภายในได้อย่างลงตัว

ผนังบล็อกแก้ว

รวม บ้านสวย ที่เด่นด้วยผนังบล็อกแก้ว

ผนังบล็อกแก้ว เป็นอีกหนึ่งวัสดุคลาสสิกสำหรับบ้านพักอาศัยในไทย นอกจากจะเพิ่มลูกเล่นที่น่าสนใจให้ผนังแล้ว ยังช่วยเพิ่มแสงธรรมชาติให้ภายในบ้าน

รวมไอเดียวัสดุฟาซาด บังแดด บังตา เพิ่มคาแร็กเตอร์ให้บ้าน

มาดูหลากหลาย ไอเดียวัสดุฟาซาด ที่ช่วยบดบังสายตาโดยไม่ต้องปิดทึบ ช่วยระบายอากาศ กรองแสงธรรมชาติ และเสริมให้ดีไซน์ของบ้านดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

ระบบนิเวศของความสุขที่ออกแบบได้

บ้านสีขาวที่แก้ปัญหาบ้านแน่นให้กลายเป็นบ้านโล่ง อยู่สบายและมีสุขภาวะในอาคารที่ดี (Well-Being) แบบบ้านมินิมัลสีขาว ความสุขที่แท้จริงนั้นก่อเกิดขึ้นจากภายใน และที่ใจกลางบ้านสีขาวทรงกล่องที่เรียบเท่ปนน่ารักด้วยบล็อกช่องลมและซุ้มโค้งแห่งนี้ ก็มีความสุขก่อตัวขึ้นทีละน้อยภายในบ้านที่ออกแบบโดยใช้หลักการนิเวศวิทยสถาปัตย์ (Ecological Architecture) ให้บ้านอยู่สบายแบบองค์รวม มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว จนเกิดระบบนิเวศความสุขที่มี คุณเมธ พิทยชาครวัตร คุณโจ้-รจนา วิกรานตเสวี น้องนาวา คุณยาย คุณย่า ต้นกัลปพฤกษ์ ปลาหางนกยูง แมลงเต่าทอง สายลม แสงแดด สเปซภายในบ้าน และเพื่อนบ้านมาสัมพันธ์กัน ทำให้ทุกๆวันที่ผ่านไปนั้นเป็นวันที่มีความหมาย แต่เดิมบนที่ดิน 50 ตารางวานี้เป็นบ้านชั้นเดียวอายุราว 30 ปี ที่มาซื้อไว้ด้วยเป็นทำเลรถไฟฟ้าผ่าน เมื่อวางแผนจะมีลูกจึงคิดขยับขยายบ้านให้รองรับคนทั้ง 3 รุ่น ด้วยความตั้งใจที่อยากสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ครอบครัว จึงอยากให้มีห้องนอนชั้นล่าง 2 ห้องสำหรับคุณย่าและคุณยาย พื้นที่ให้ลูกได้วิ่งเล่น มี   คอร์ตยาร์ด ซึ่งบ้านในโครงการที่ไปดูมายังไม่ตอบโจทย์ จึงตัดสินใจสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิม และติดต่อให้ คุณแป้ง-ใยชมภู นาคประสิทธิ์ และ คุณหวาย-จิตรทิวัตถ์ อู่ทรัพย์ สถาปนิกแห่ง MAKE It POP […]

ก่อร่างอาคารสะท้อนวิถีชีวิตกรุงเก่าด้วยบล็อกแก้วและโครงไม้ 

วันนี้เราได้มีโอกาสได้พูดคุยถึงแนวคิดของการผสมผสานการใช้งานวัสดุอุตสาหกรรมอย่าง “บล็อกแก้ว” ร่วมกับวัสดุธรรมชาติอย่าง “ไม้” จากผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเสริม เปรมธาดา สถาปนิกแห่ง Bangkok Project Studio

บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว

บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”

REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง

โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน   ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย    ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง  นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]

WHYSO CROISSANT คาเฟ่ที่เกิดจากการเติมผนังแก้วให้โรงจอดรถเก่า

WHYSO croissant ร้านครัวซองต์ชื่อดังในโลกออนไลน์ที่ขยับมาเปิดให้ลูกค้าเข้าถึงกันได้ โดยทำการต่อเติมโรงจอดรถหน้าบ้านเป็นคาเฟ่ขนาดกะทัดรัด

กฎหมายอาคาร บล็อกแก้ว=ผนังทึบ / แนวอาคาร / การดัดแปลงตึกแถวเก่า

กฎหมายอาคาร ปรับปรุงเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 68 (พ.ศ.2563) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีสาระสำคัญที่มีผลกับการออกแบบและก่อสร้าง 6 หัวข้อ โดยสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ 1.กำหนดให้การวัด “แนวอาคาร” คือ วัดที่ขอบนอกสุดของอาคาร กฎหมายอาคาร มีการให้คำจำกัดความของ “แนวอาคาร” ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่ก่อนไม่มีการระบุ จึงเกิดการตีความแตกต่างกัน (เราใช้แนวอาคารอ้างอิงในการขออนุญาตก่อสร้างหลายจุด เช่น ระยะถอยร่นของตัวอาคารกับเขตที่ดิน) โดยระบุไว้ว่า “แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” 2.บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้ เป็นการผ่อนปรนให้กับตึกแถวและบ้านที่ทำผนังใกล้เขตที่ดิน จึงกำหนดให้บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้เมื่อมีลักษณะตามที่กำหนด โดยระบุไว้ว่า “ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วหนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้วต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ทั้งนี้ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนังแต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ” 3.การวัดความสูงอาคาร ไม่คิดรวมสิ่งที่ตั้งอยู่บนอาคาร […]

นำแสงเข้าบ้านด้วยหลังคารับแสง

การทำ หลังคารับแสง หรือสกายไลท์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนำแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน  ช่วยให้ภายในบ้านสว่างไสว ประหยัดค่าไฟฟ้า ทั้งความร้อนจากแสงแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ไล่ความชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้บ้านสะอาด ปลอดเชื้อโรคไม่อับชื้น แต่เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน การทำหลังคารับแสงจึงต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ  คือ 1.ขนาดของหลังคารับแสง ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง โดยทั่วไปกำหนดขนาดหลังคารับแสงไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง ส่วนห้องที่มีหน้าต่างหรือช่องแสงอยู่บ้าง ก็ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมากเกินไป 2.ทิศทางและปริมาณแสง ที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาที่ต้องใช้งานพื้นที่นั้นๆ ทิศเหนือ เป็นแสงที่ดีที่สุด เพราะแสงแดดไม่ร้อนแรง เนื่องจากไม่ใช่ทางโคจรของดวงอาทิตย์ เหมาะกับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ระเบียง/เฉลียง ทิศใต้ ให้แสงเต็มที่ในฤดูหนาว เนื่องจากโลกจะหันแกนด้านทิศใต้รับแสงอาทิตย์ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ควรเป็นโถงบันได ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องครัวก็ยังพอได้ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น บริเวณที่หันเข้าสู่ทิศนี้จะได้รับแสงในตอนเช้า อาจเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ให้แสงสว่างมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงบ่าย อาจเป็นโถงบันได ห้องน้ำ 3.รูปแบบของหลังคารับแสงหรือสกายไลท์ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูปและสั่งทำ โดยแบบสั่งทำมักใช้วัสดุโปร่งแสงประเภทพอลิคาร์บอเนต มีรูปทรงหลากหลาย เช่น ทรงโดม พีระมิด ครึ่งวงกลม เป็นต้น   วัสดุอะไรบ้างที่ยอมให้แสงผ่านได้ กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส เป็นวัสดุที่ผลิตจากการผสมใยแก้วชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์กลาส) […]